มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร พ.ศ. 2565

9100

CP 102003-22  มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร พ.ศ.2565

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีความไม่แน่นอนเป็นสรณะ มีเพียงสิ่งเดียวที่แน่นอน คือ “การเปลี่ยนแปลง” ด้านเทคโนโลยีก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา และเป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่า โลกมนุษย์พบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาโดยตลอด ทั้งการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จนถึงการเปลี่ยนแปลงใหญ่ดุจคลื่นซึนามิ ที่มากระทบ จนมีผลทำให้ต้องเปลี่ยนโครงสร้างการทำธุรกิจ โครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำต้องปรับตัวในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ด้วยอัตราความเร็วในการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ กรณีของ Kodak เป็นกรณีศึกษาที่มีการกล่าวถึงกันอย่างมาก ในประเด็นของการปรับตัวที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี อันมีผลให้ถูกทำลาย (Disrupted) ในที่สุด

เทคโนโลยีแห่งการทำลายเพื่อสร้างขึ้นใหม่หรือเทคโนโลยีเปลี่ยนฉับพลัน (Disruptive Technology) ดังเช่น IoT, 5G, Cloud Technology นั้น เป็นเทคโนโลยียุคใหม่ที่จะมาทำลายธุรกิจดั้งเดิมให้สูญหายไปได้ หากธุรกิจนั้นไม่มีการปรับตัว ปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจได้คำนึงถึงเรื่องนี้ และได้มีการปรับตัวกันเป็นอันมาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อันมีภาระหน้าที่สำคัญส่วนหนึ่ง คือ การจัดทำมาตรฐานก็ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เช่นกัน จึงได้จัดทำ “มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร” ฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการใช้ในการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลงาน (Result) ที่ดีพอ ทั้งผลกระทบด้านการเงิน และความล่าช้าที่เกิดขึ้นในขั้นตอนงานของโครงการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่นั้น ทำให้ องค์กร ผู้ใช้งานโครงการดังกล่าวสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรได้   ซึ่งโดยรวมแล้ว การบริหารจัดการโครงการที่ไม่ดีพอจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศได้

ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน (Drafting Committee) และคณะกรรมการประจำมาตรฐาน (Standing Committee) ที่ได้สละเวลาอันมีค่าของท่านร่วมกันจัดทำมาตรฐานฉบับนี้จนสำเร็จ ด้วยความมุ่งมั่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถแข่งขันได้กับนานาอารยะประเทศ และด้วยจิตอันเป็นกุศลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงถาวรต่อไป

 

 ฉบับนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2565

มีจำหน่ายแบบออนไลน์และเล่ม

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐาน

คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร

พ.ศ.2564-2565

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. ดร.พิศาล จอโภชาอุดม ที่ปรึกษา
2. นายศิริโชติ สิงห์ษา ประธาน
3. นางเมธินี เทพมณี กรรมการ
4. ดร.อุทิศ ขาวเธียร กรรมการ
5. นายอาวุธ วรรณวงศ์ กรรมการ
6. ม.ร.ว.นงคราญ ชมพูนุท กรรมการ
7. ร.อ.พีรพงษ์ วสิษฐ์ธำรงค์ กรรมการ
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน
ที่ปรึกษา
1. นายกุมโชค ใบแย้ม
2. นายปิยะ พิริยะโภคานนท์
3. นายไพบูลย์ ปัญญายุทธการ
4. นายทวีสุข สายยะศิลปี
5. ดร.ธนสาร หงส์ไพศาลวิวัฒน์
6. นายสุวัฒน์ หลายเจริญทรัพย์
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน
1. ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ประธาน
2. นายปราการ กาญจนวตี กรรมการ
3. นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล  กรรมการ
4. ร.อ.พีรพงษ์ วสิษฐ์ธำรงค์  กรรมการ
5. Mr.Allan Rasmussen  กรรมการ
6. ผศ.ดร.พีรวัฒน์ วัฒนพงศ์  กรรมการ
7. ม.ร.ว.นงคราญ ชมพูนุท  กรรมการ
8. นายเกรียงไกร ภูวณิชย์  กรรมการ
9. นายวีระยุทธ ศิรามังคลานนท์  กรรมการ
10. นายดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี  กรรมการ
11. นายไชยเจริญ อติแพทย์  กรรมการ
12. นายวิง แซ่เหวียน  กรรมการ
13. ดร.คเณศ คัจฉสุวรรณมณี  กรรมการ
บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยในงานเจาะระเบิดอุโมงค์ในหินแข็ง
บทความถัดไปมาตรฐานการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเครื่องสูบน้ำแบบการไหลผสม (พญานาค) พ.ศ.2565