มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย: บริเวณอันตราย พ.ศ. 2564

9607

รหัสมาตรฐาน EE 022015-22

         มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. 2556 ได้เผยแพร่และใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการติดตั้ง วสท. จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับนี้ โดยได้ปรับปรุงจากฉบับเดิมเป็นครั้งที่ 3 โดยปรับเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามหลักการวิศวกรรม เป็นมาตรฐานฯ ฉบับปี พ.ศ. 2564 โดยในบทที่ 7 บริเวณอันตรายได้ปรับปรุงเนื้อหาโดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมและได้เพิ่มข้อกำหนดบริเวณอันตรายในพื้นที่เฉพาะ เพื่อให้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับปี 2564 ใช้งานได้สะดวกจึงได้แยกบทที่ 7 ออกมาเป็นเล่มต่างหาก โดยใช้ชื่อว่า มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย: บริเวณอันตราย พ.ศ.2564

       คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้น ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย  สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ผลิต และผู้เชี่ยวชาญอิสระ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

  มาตรฐานฉบับนี้บังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ไฟเท่านั้น มิได้บังคับครอบคลุมการออกแบบหรือติดตั้งของการไฟฟ้าฯ  มาตรฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบ การติดตั้งระบบไฟฟ้า หรือการตรวจสอบระบบไฟฟ้า เป็นอย่างดีเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วสท. ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือความเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่ได้รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้

        วสท. ขอขอบพระคุณที่ท่านปรึกษา คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานฯ และผู้สนับสนุนทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ ที่ท่านได้เสียสละเวลาและนำประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญต่าง ๆ มาช่วยจนสามารถปรับปรุงมาตรฐานฉบับนี้แล้วเสร็จ หากผู้ใช้มาตรฐานนี้มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะประการใด โปรดแจ้งให้ทาง วสท. ทราบด้วย เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงมาตรฐานให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

   ฉบับนี้เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2565

พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2565

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. 2556 ได้เผยแพร่และใช้งานมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการติดตั้ง วสท. จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับนี้ โดยได้ปรับปรุงจากฉบับเดิมเป็นครั้งที่ 3 โดยปรับเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามหลักการวิศวกรรม เป็นมาตรฐานฯ ฉบับปี พ.ศ. 2564 โดยในบทที่ 7 บริเวณอันตรายได้ปรับปรุงเนื้อหาโดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมและได้เพิ่มข้อกำหนดบริเวณอันตรายในพื้นที่เฉพาะ เพื่อให้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับปี 2564 ใช้งานได้สะดวกจึงได้แยกบทที่ 7 ออกมาเป็นเล่มต่างหาก โดยใช้ชื่อว่า มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย: บริเวณอันตราย พ.ศ.2564

มีจำหน่ายแบบออนไลน์และเล่ม

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

รายนามคณะอนุกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย:
บทที่ 7 บริเวณอันตราย (ฉบับเต็ม)
ปี พ.ศ. 2563-2565
 ที่ปรึกษา
1. นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์
2. ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู
3. ผศ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์
4. นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย
5. นายลือชัย ทองนิล
6. นายสุกิจ เกียรติบุญศรี
7. นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์
8. นายสุธี ปิ่นไพสิฐ
9. ผศ.ดร.อุทัย ไชยวงค์วิลาน
คณะอนุกรรมการปรับปรุงมาตรฐานฯ บทที่ 7
1. นายวิเชียร บุษยบัณฑูร
2. นายกฤษณ สุจริตพงศ์
3. นายก้องเกียรติ บุญเสริม
4. นายคมสัน อินกัน
5. นายชัยพร อินทรกุญชร
6. นายชัยรัตน์ ฉันทแสนย์
7. นายธัมรัต พรหมเพ็ญรังษี
8. นายนนทฤทธิ์ ศักรานุกิจ
9. นายนิวัฒน์ สีใสเพ็ชร
10. นายบุญถิ่น เอมย่านยาว
11. นายปานโชค เอื้อธนาภา
12. นายภูวดล สุนทรธนสถิตย์
13. นายวิชาญ สมบัติภิญโญ
14. นายวิศิษย์ศักดิ์ กฤษณพันธ์
15. นายสุกิจ เกียรติบุญศรี
16. นายณรัฐ ราชกรม
บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน พ.ศ. 2565
บทความถัดไปมาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565