มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565

5102

รหัสมาตรฐาน GN 012025-22  มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565

    มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565

ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2565 แทนฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2560

         มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565 แบ่งเป็น 9 หมวด (มีหมวดสำรอง 2 หมวด) ในแต่ละหมวดแยกระดับลงไปจนถึงระดับ 3  ซึ่งเป็นระดับที่สามารถสร้างต้นทุนต่อหน่วยพื้นที่ได้  ส่วนระดับที่ 4 หรือระดับที่ละเอียดลงไป จะนำไปกำหนดรหัสกำกับรายการบัญชีต้นทุนด้านงานอาคาร  ซึ่ง วสท. ได้จัดทำตัวอย่างการสร้างบัญชีปริมาณวัสดุและราคา  โดยใช้รหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคารตามมาตรฐานฉบับนี้เพื่อเป็นข้อแนะนำไว้ในภาคผนวก ข.

มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565  มีการปรับปรุงแก้ไขที่สำคัญคือ

มาตรฐานได้นำเนื้อหาของ International Construction Measurement Standards (ICMS) มาร่วมพิจารณาในการปรับปรุงมาตรฐานครั้งนี้ด้วย โดย

บทที่ 4 หมวดที่ 1 งานโครงสร้าง มีการปรับปรุงทั้งชื่อเรียกในระดับ 2 และเปลี่ยนแปลงรายการในระดับ 3 โดยแบ่งรายการเพื่อจำแนกต้นทุนออกเป็นตามลักษณะโครงสร้าง เสา คาน พื้น เพิ่มรูปประกอบการจำแนกโครงสร้างของอาคารที่ไม่มีชั้นใต้ดินและที่มีชั้นใต้ดิน รวมถึงการกำหนดส่วนของโครงสร้างใต้ดินและบนดินตามแบบ ICMS เพื่อให้การเก็บข้อมูลต้นทุนได้แม่นยำขึ้น  ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการสร้างต้นทุนต่อหน่วยของค่าก่อสร้างในขั้นตอน Schematic Design และ Design Develop ของงานอาคารลักษณะเดียวกัน และเป็นการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงานทั้งส่วนเจ้าของโครงการ และผู้รับเหมาก่อสร้าง ในการสร้างบัญชีวัสดุต้นทุนและการควบคุมต้นทุนโครงการ รวมถึงนำรหัสต้นทุนก่อสร้างไปใช้ร่วมกับการทำงานแบบจำลองสารสนเทศ (Building Information Modeling-BIM) ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อไป

บทที่ 4 หมวดที่ 3 งานตกแต่งภายใน มีการจัดหมวดหมู่ใหม่

บทที่ 4 หมวดที่ 4 งานภูมิสถาปัตยกรรมในอาคาร เป็นหมวดที่เพิ่มใหม่เพื่อรองรับด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้อาคารต้องมีพื้นที่ว่างที่เป็นสวน หรือปลูกต้นไม้ ซึ่งมีทั้งภายในอาคาร เปลือกอาคาร และบนดาดฟ้า

บทที่ 4 หมวดที่ 5 งานระบบประกอบอาคาร ในระดับที่ 2 มีการเพิ่มงานระบบดับเพลิงและระบบท่ออื่นๆ ส่วนระบบสื่อสารเพิ่มงานระบบควบคุมอาคารเข้ามาด้วย

บทที่ 4 หมวดที่ 7 งานบริเวณก่อสร้าง เพิ่มงานภูมิทัศน์นอกอาคารเข้ามาด้วย (มีการเปลี่ยนแปลงระดับในงานภูมิทัศน์นอกอาคาร) เพิ่มงานองค์ประกอบลอยตัวในงานภูมิทัศน์ แยกงานภูมิทัศน์บริเวณภายนอกอาคารของเดิม เป็น งานภูมิทัศน์ดาดแข็งและงานระบบประกอบ งานภูมิทัศน์นุ่มและงานระบบประกอบ

บทที่ 4 หมวดสำรอง (Reserved) หมวดที่ 8-9 (ลดจำนวนหมวดสำรองจาก 3 เหลือ 2 หมวด)

เนื้อหาบทที่ 5 เพิ่มเนื้อหาตามรหัสต้นทุนที่ปรับปรุงเพิ่มเติมในบทที่ 4

ภาคผนวก มีการปรับปรุงภาคผนวก ข โดยยกตัวอย่างการสร้างบัญชีปริมาณวัสดุและราคา (Bill of Quantities -BOQ) ตามหมวดหมู่ที่ปรับปรุงใหม่  พร้อมข้อแนะนำการประยุกต์ใช้งาน โดยตัวอย่างบัญชีปริมาณวัสดุและราคา (BOQ) นี้แสดงถึงระดับที่ 4 และมีรายละเอียดระดับที่ 4 ประกอบเพื่อเป็นตัวอย่าง

วสท. มีโครงการนำมาตรฐานนี้ไปพัฒนาต่อเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการใช้รหัสต้นทุนก่อสร้างให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ และสร้างต้นทุนต่อหน่วยของค่าก่อสร้างในขั้นตอน Schematic Design และ Design Develop ของงานอาคารลักษณะเดียวกัน รวมทั้งสร้างความเข้าใจให้ตรงกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงานด้านต้นทุน อันจะนำไปสู่การควบคุมต้นทุนก่อสร้างของเจ้าของโครงการ และผู้รับเหมาก่อสร้างต่อไป

มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2565

(ฉบับปัจจุบัน) มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565 เป็นมาตรฐานฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2565

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ.2557
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2560
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565

มาตรฐานมีแผนปรับปรุงทุก 5 ปี

คณะกรรมการมาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร 
พ.ศ.2560-2565
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. นายไกร ตั้งสง่า ประธาน
2. นายสุชิน สุขพันธ์ กรรมการ
3. ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ กรรมการ
4. นายชัยชาญ อึ๊งศรีวงศ์ กรรมการ
5. พลเรือตรีสันติ พรหมสุนทร กรรมการ
6. รศ.ดร.ธนิต ธงทอง กรรมการ
7. ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม กรรมการ
คณะกรรมการร่างมาตรฐาน
ที่ปรึกษา
1. นายอุทิศ จันทร์เจนจบ
2. นายสมชัย สันตินิภานนท์
3. นายกู้เกียรติ เชิดชูเหล่า
4. ผศ.ดร.วิสูตร จิระดำเกิง
5. ศ.ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์
กรรมการ
1. รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล ประธาน
2. รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ กรรมการ
3. ผศ.ดร.วุฒิพงศ์ เมืองน้อย กรรมการ
4. รศ.ดร.วัชระ เพียรสุภาพ กรรมการ
5. นายสุชิน สุขพันธ์ กรรมการ
6. พลเรือตรีสันติ พรหมสุนทร กรรมการ
7. นายเสรี ลิ่มนววงศ์ กรรมการ
8. ผศ.สมเกียรติ ขวัญพฤกษ์ กรรมการ
9. นายศักดิ์ณรงค์ เดชระพีพงษ์ กรรมการ
10. นายมานะวิทย์ ชัยสมบัติ กรรมการ
11. นางภิรวดี ชูประวัติ กรรมการ
12. พ.ต.อ.สักรินทร์ เขียวเซ็น กรรมการ
13. นางกรกช คุณาลังการ กรรมการ
14. นายสมปราชญ์ ลิขิตลือชา กรรมการ
15. นายจักรกริช ธิติโสภี กรรมการ
16. ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม กรรมการและเลขานุการ
17. นส.สโรชา มัฌชิโม ผู้ช่วยเลขานุการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565  ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2565
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2566 – 2 เม.ย 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน

– มาตรฐานกำหนดรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคารจนถึง 3 ระดับงานย่อย โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างรหัสต้นทุนเก็บต้นทุนก่อสร้างต่อหน่วย

– มาตรฐานนี้เป็นการจัดทำรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร ที่ใช้ในงานก่อสร้างเพื่อการอ้างอิงและการสร้างเอกสารด้านราคา

– ตัวอย่างการสร้างบัญชีปริมาณวัสดุและราคา

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้

– วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานประมาณราคาโครงการก่อสร้างอาคาร

– สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่นสมาคมวิชาชีพด้านวิศวกรรม สมาคมสถาปนิก สมาคมมัณฑนากร สมาคมผู้รับเหมา สมาคมที่ปรึกษา สมาคมภูมิสถาปนิก สมาคมปรับอากาศ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่าง สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ฯลฯ
– ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการจัดทำราคากลางงานก่อสร้าง หรืออนุมัติโครงการก่อสร้างอาคาร หรือเจ้าของโครงการก่อสร้าง

– ผู้ผลิต ผู้ขายโปรแกรมการประมาณราคา

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย: บริเวณอันตราย พ.ศ. 2564
บทความถัดไปมาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ. 2565