คู่มือการก่อสร้างอาคาร ด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนัก

11743

รหัสหนังสือ วสท. น 20131-66 คู่มือการก่อสร้างอาคาร ด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนัก

คู่มือการก่อสร้างอาคารด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนัก

เทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ในการก่อสร้าง และเพิ่มขีดความสามารถในการก่อสร้างให้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบรูปทรงและลวดลายของชิ้นส่วนโครงสร้างอีกด้วย สามารถตอบโจทย์ความต้องการในด้านการออกแบบได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีกระบวนการทำงานที่แตกต่างจากการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีเดิมในปัจจุบัน รวมไปถึงการศึกษาวิจัยพฤติกรรมของโครงสร้างพิมพ์ 3 มิติยังมีอยู่ในวงจำกัด ทำให้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารที่มีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติ ส่งผลให้การนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในงานก่อสร้างยังมีอย่างจำกัด  คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นข้อดีของเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติ ที่จะสามารถช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และเพื่อให้มีความเข้าใจเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติอย่างแพร่หลาย  จึงได้จัดทำคู่มือการก่อสร้างอาคารที่ก่อสร้างด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนักขึ้นเป็นฉบับแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการก่อสร้างอาคารด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติให้แพร่หลาย และยกระดับการก่อสร้างให้มีความรวดเร็วในการก่อสร้างมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะนำไปสู่การจัดทำคู่มือสำหรับโครงสร้างอาคาร 3DCP ในลักษณะอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

คณะผู้จัดทำขอขอบคุณหน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำคู่มือฉบับนี้ ขอขอบคุณนักวิจัยทั้งในภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการก่อสร้าง และบำรุงรักษา (CONTEC) ภาควิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีโยธา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยการพิมพ์ 3 มิติ ขอขอบคุณโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ และโครงการทุนศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวัสดุศาสตร์ การก่อสร้าง และเทคโนโลยีการบำรุงรักษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในการสนับสนุนให้สามารถจัดทำคู่มือฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดี และรวดเร็ว

คณะผู้จัดทำหวังว่าคู่มือก่อสร้างอาคารด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนักฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารด้วยระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติในทุกระดับ รวมถึง นักเรียน นักศึกษา ผู้ออกแบบ และผู้ที่สนใจศึกษาการก่อสร้างอาคารด้วยระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือฉบับนี้จะช่วยยกระดับการทำงาน ทำความเข้าใจ และช่วยพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในด้านการก่อสร้างของประเทศไทยให้ก้าวไปในอีกระดับหนึ่ง

คู่มือการก่อสร้างอาคารด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนัก

 พิมพ์ครั้งที่ 1

เดือน กันยายน พ.ศ. 2566

หนังสือ/มาตรฐาน วสท. จะมีวาระการทบทวน/ปรับปรุง 5 ปี หรือเมื่อกฎหมาย หรือเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง

คณะทำงานจัดทำ

คู่มือการก่อสร้างอาคารด้วยผนังระบบเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ชนิดไม่รับน้ำหนัก พ.ศ.2566


คณะทำงาน

1.  ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล ประธาน
2.  รศ.ดร.กันต์ไชย ธนาพรรวีกิตติ์ คณะทำงาน
3.  คุณเฉลิมวุฒิ สงวนญาติ คณะทำงาน
4.  ดร.ภัสสรินท์ จงวิสุทธิสันต์ คณะทำงาน
5.  คุณปฎิพัทธ์ จิรมรุตพงศ์ คณะทำงาน
6.  คุณกิตติศักดิ์ ผ่องไพศาลเสรี คณะทำงาน
7.  คุณภัทรกมล ไชยภูมิ คณะทำงาน
บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานการทดสอบสมรรถนะการทำงานของเครื่องสูบน้ำแบบการไหลผสม (พญานาค) พ.ศ.2565
บทความถัดไปคู่มือการตรวจรับงานก่อสร้างห้องชุด