มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าในสถานที่เฉพาะ : บริเวณสถานพยาบาล

5666

รหัสมาตรฐาน EE 2006-52  มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าในสถานที่เฉพาะ : บริเวณสถานพยาบาล

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าในสถานที่เฉพาะ : บริเวณสถานพยาบาล ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 2 ฉบับนี้ นับเป็นฉบับที่สองซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับแรก โดย มีคำอธิบายมาตรฐานเพิ่มเติมเพื่อผู้ใช้งานได้นำไปประยุกต์ใช้งานได้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของมาตรฐานนี้สถานพยาบาลเป็นสถานประกอบการที่มีผู้ใช้บริการ การติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับบริเวณสถานพยาบาลจึงเป็นมาตรการหนึ่งในป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการใช้ไฟฟ้า ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อบุคลากร และผู้ใช้บริการ วสท. จึงจัดทำมาตรฐานนี้เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับวิศวกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบ การติดตั้ง การเลือกใช้อุปกรณ์ การตรวจสอบและการบริหารโครงการ รวมถึงการปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพให้บริการของสถานพยาบาล หรือสถานที่อื่นที่คล้ายคลึงกัน เพื่อนำไปสู่ความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการและทรัพย์สินด้วย

มาตรฐานนี้ใช้สำหรับการติดตั้งทางไฟฟ้าในบริเวณสถานพยาบาลเพื่อให้ก่อเกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการติดตั้งไฟฟ้าในโรงพยาบาล คลินิกเอกชน สถานที่ฝึกหัดของแพทย์และทันตแพทย์ ศูนย์ดูแลสุขภาพ และห้องพยาบาลในสถานที่ทำงาน

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าในสถานที่เฉพาะ : บริเวณสถานพยาบาล เป็นมาตรฐาน ซึ่ง ทาง วสท. ได้จัดทำขึ้นเป็นสองฉบับ

ฉบับแรกเป็นการร่วมในการจัดทำมาตรฐานระหว่าง วสท. กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งผู้ใช้งานมาตรฐานเล่มนี้สามารถสืบค้นได้จากประกาศราชกิจจานุเบกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ฉบับที่สองเป็นฉบับที่ วสท. ได้จัดทำเพิ่มเติมจากฉบับแรก โดยมีคำอธิบายมาตรฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ใช้งานได้นำไปประยุกต์ใช้งานได้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของมาตรฐานนี้

มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างดำเนินการ

คณะอนุกรรมการมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าในสถานที่เฉพาะ :
บริเวณสถานพยาบาล

1. นายไชยวุธ ชีวะสุทโธ ที่ปรึกษา
2. นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย ที่ปรึกษา
3. นายสมศักดิ์ นิติศฤงคาริน ที่ปรึกษา
4. รศ.สุลี บรรจงจิตร ที่ปรึกษา
5. นายเกียรติ อัชรพงศ์ ที่ปรึกษา
6. นายวงศวัฒน์ พิลาสลักษณาการ ที่ปรึกษา
7. ผศ.ดร.ปฐมทัศน์ จิระเดชะ ที่ปรึกษา
8. นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล ที่ปรึกษา
9. นายวิวัฒน์ กุลวงศ์วิทย์ ประธาน
10. นายสุกิจ เกียรติบุญศรี อนุกรรมการ
11. นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อนุกรรมการ
12. นายพงศ์สันติ์ ตุลวงศ์ อนุกรรมการ
13. นายสนธยา อัศวชาญชัยสกุล อนุกรรมการ
14. นายสารนิต อังศุสิงห์ อนุกรรมการ
15. นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว อนุกรรมการ
16. นายศิวเวทย์ อัครพันธุ์ อนุกรรมการ
17. นายสุธี ปิ่นไพสิฐ อนุกรรมการ
18. นายสมศักดิ์ วัฒนศรีมงคล อนุกรรมการ
19. นางสาวนพดา ธีรอัจฉริยกุล อนุกรรมการ
20. นางสาวเทพกัญญา ขัติแสง อนุกรรมการ
21. นายสุพจน์ ศิริคูณ อนุกรรมการ
22. นายกุศล กุศลส่ง อนุกรรมการ
23. นายชายชาญ โพธิสาร อนุกรรมการ
24. นางสาวสโรชา มัฌชิโม เจ้าหน้าที่ประสานงานวิชาการ
  • ระยะเวลาดำเนินการ

  • มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างดำเนินการ

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าในสถานที่เฉพาะ : บริเวณสถานพยาบาล
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2556
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 – 10 กรกฎาคม 2570
“Recognized by Council of Engineers from year AD 2022 to year AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-การประเมินคุณลักษณะทั่วไป
-การเลือกและการติตดั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้า
-การทวนสอบ

-ภาคผนวก (ใช้บังคับ) การแบ่งประเภทระบบไฟฟ้านิรภัยสำหรับบริเวณสถานพยาบาล
(ใช้เป็นข้อมูล) ตัวอย่างของการแบ่งกลุ่มและแบ่งประเภทของระบบไฟฟ้านิรภัย
การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

มาตรฐานนี้ใช้สำหรับการติดตั้งทางไฟฟ้าในบริเวณสถานพยาบาลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการติดตั้งทางไฟฟ้าในโรงพยาบาล  คลินิกเอกชน  สถานฝึกหัดของแพทย์และทันตแพทย์  ศูนย์ดูแลสุขภาพ  และห้องพยาบาลในสถานที่ทำงาน
หมายเหตุ 1     เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานของสถานที่ อาจมีความจำเป็นต้องแก้ไขการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วให้สอดคล้องกับมาตรฐานนี้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในสถานที่ที่มีการบำบัดภายในหัวใจ (intracardiac procedure)
หมายเหตุ 2     มาตรฐานนี้สามารถใช้ได้กับคลินิกสัตวแพทย์  ข้อกำหนดนี้ไม่ใช้กับบริภัณฑ์ไฟฟ้าทางการแพทย์
หมายเหตุ 3     บริภัณฑ์ไฟฟ้าทางการแพทย์  ให้อ้างอิงกับมาตรฐาน IEC 60601

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกรผู้ออกแบบระบบไฟฟ้า  บริษัทที่ปรึกษา
-โรงพยาบาล  คลินิกเอกชน  สถานฝึกหัดของแพทย์และทันตแพทย์  ศูนย์ดูแลสุขภาพ  และห้องพยาบาลในสถานที่ทำงาน กระทรวงสาธารณสุข
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาไฟฟ้า สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิชาไฟฟ้า
-ส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานด้านสถานพยาบาล
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-บริษัทผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้เตรียมปิดเล่มมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
บทความถัดไปมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา