มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2

15457

รหัสมาตรฐาน CE 011007-19 มาตรฐาานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน

มาตรฐานฉบับนี้เริ่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2515 และจัดพิมพ์อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในการจัดพิมพ์แต่ละครั้งได้มีการแก้ไขคำผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ควบคู่กันไปด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตอัดแรง การออกแบบโดยวิธีกำลังประลัย และข้อกำหนดในการคำนวณออกแบบ องค์อาคารรับแรงบิด แต่เนื่องด้วยวิวัฒนาการของการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กได้เจริญก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคำนวณออกแบบโดยวิธีกำลัง (Strength Design) และการคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตอัดแรง คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา จึงได้ยกร่างมาตรฐานคอนกรีต เสริมเหล็กใหม่โดยแบ่งออกเป็น 3 เล่ม เล่มแรกว่าด้วยการคำนวณออกแบบโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (Working Stress Design) เล่มที่ 2 ว่าด้วยการคำนวณออกแบบโดยวิธีกำลัง และเล่มสุดท้าย ว่าด้วยการคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตอัดแรง

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งานเล่มนี้ ได้ปรับปรุงข้อความตลอดจนเนื้อหาต่างๆ ให้กระชับและถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น โดยยึดถือ ACI 318-63 เป็นหลัก เนื้อหาสาระที่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยได้แก่ ข้อกำหนดในหมวด 3 เกณฑ์กำหนดในการก่อสร้างที่เป็นไปตาม ACI 318-89 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง นอกจากนี้ได้ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับความหนาต่ำสุดขององค์อาคารให้ต่ำลงในกรณีที่ไม่ได้คำนวณระยะ

ในการปรับปรุงครั้งนี้ ได้พิจารณาชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตให้เหมาะสมกับการคำนวณออกแบบ ได้แก่ การยกเลิกมิให้ใช้เหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD50 และการกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ของเหล็กเสริม ในกรณีที่ใช้เหล็กเส้นชั้นคุณภาพ SD40 ซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 50 ของกำลังคราก ซึ่งจะทำให้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้สูงขึ้นจากเดิม และในส่วนของการออกแบบแผ่นพื้น ได้กำหนดนิยามให้แถบต่าง ๆ ในการออกแบบให้ถูกต้องทันสมัยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มาตรฐานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อได้รับความสนใจจากสมาชิกในการที่จะสะท้อนความคิดเห็นเพื่อใช้ในการปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป อันจักเป็นประโยชน์และพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

มาตรฐานในฉบับก่อนหน้าได้พิจารณาปรับปรุงครั้งที่ 1 เมื่อมิถุนายน 2515 (คลิ๊กเพื่อดูฉบับก่อนหน้า) และฉบับปัจจุบันนี้ได้ปรับปรุงข้อความตลอดจนเนื้อหาต่างๆ ให้กระชับและถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น โดยยึดถือ ACI 318-63 เป็นหลัก เนื้อหาสาระที่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยได้แก่ ข้อกำหนดในหมวด 3 เกณฑ์กำหนดในการก่อสร้างที่เป็นไปตาม ACI 318-89 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง นอกจากนี้ได้ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับความหนาต่ำสุดขององค์อาคารให้ต่ำลงในกรณีที่ไม่ได้คำนวณระยะ

ในการปรับปรุงครั้งนี้ ได้พิจารณาชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตให้เหมาะสมกับการคำนวณออกแบบ ได้แก่ การยกเลิกมิให้ใช้เหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD50 และการกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ของเหล็กเสริม ในกรณีที่ใช้เหล็กเส้นชั้นคุณภาพ SD40 ซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 50 ของกำลังคราก ซึ่งจะทำให้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้สูงขึ้นจากเดิม และในส่วนของการออกแบบแผ่นพื้น ได้กำหนดนิยามให้แถบต่าง ๆ ในการออกแบบให้ถูกต้องทันสมัยมากขึ้น

ประเด็นสำคัญในการแก้ไขมีดังนี้ :

1. การใช้หัวข้อและการเรียงลำดับของหัวข้อ เป็นไปตาม “คู่มือการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม” ของ วสท. ฉบับประกาศเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2558
2. ปรับนิยามในบทที่ 2 ให้ตรงกับนิยามในกฎกระทรวงของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
3. รวมสัญลักษณ์จากบทต่าง ๆ ไปรวมอยู่ในบทที่ 2 เหมือนกับ “วิธีกำลัง”
4. ศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ให้ใช้ศัพท์บัญญัติที่กำลังดำเนินการอยู่ของ “ราชบัณฑิตยสภา”
5. ให้อ้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ควบคู่ไปกับ ASTM
6. ปรับกำลังอัดของคอนกรีตรูปทรงกระบอกจาก 100,150,200,250,300 และ 350 กก./ซม2. เป็น 150,180,210,240,280 และ 320 กก./ซม2.
7. จำกัดการใช้เหล็กเสริมชั้นคุณภาพ SR24 SD30 และ SD40 ยกเลิก SD50 ในหัวข้อการต่อทาบเหล็กเสริม
8. ย้ายหัวข้อย่อย “การต่อหลักเสริม” ในหัวข้อใหญ่ “รายละเอียดเหล็กเสริม” ไปต่อจากหัวข้อ “แรงยึดหน่วงและการยึด”
9. เพิ่มข้อย่อย “ความยาวระยะฝัง” โดยการพัฒนาสูตรจากหน่วยแรงยึดหน่วงเดิม และนำไปรวมอยู่ในบท “แรงยึดหน่วง ความยาวระยะฝังและการต่อเหล็กเสริม” เหมือน “วิธีกำลัง”
10. ข้อ 7.5 เพิ่มข้อความจาก “เหล็กเสริมตามขวาง” เป็น “เหล็กเสริมตามขวางสำหรับองค์อาคารรับแรงอัด”และเพิ่มข้อ 7.6 “เหล็กเสริมตามขวางสำหรับองค์อาคารรับแรงดัด” เหมือน “วิธีกำลัง”
11. กำหนดนิยามของแถบเสาและแถบกลางในการคำนวณออกแบบแผ่นพื้นสองทาง

 

 

–กำหนดปรับปรุงภายใน 5 ปี–

คณะอนุกรรมการมาตรฐานการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน
ปี 2557-2559

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1. ศ.อรุณ ชัยเสรี ประธานคณะกรรมการ
2. รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล กรรมการ
3. ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ กรรมการ
4. ดร.สมศักดิ์ เลิศบรรณพงษ์ กรรมการ
5. ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล กรรมการ
6. ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล กรรมการ
7. ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล กรรมการ
8. นายอนุชิต เจริญศุภกุล กรรมการ
9. รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการและเลขานุการ

 

คณะกรรมการร่างมาตรฐาน

1. รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานกรรมการ
2. นายอนุชิต เจริญศุภกุล กรรมการ
3. นายสินิทธิ์ บุญสิทธิ์ กรรมการ
4. ศ.ดร.อมร พิมานมาศ กรรมการ
5. รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม กรรมการ
6. รศ.ดร.สุวิมล สัจจวาณิชย์ กรรมการ
7. รศ.ดร.สมิตร ส่งพิริยกิจ กรรมการ
8. ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ กรรมการ
9. ผศ.ดร.ชูชัย สุจิวรกุล กรรมการ
10. รศ.ดร.วิทิต ปานสุข กรรมการ
11. ศ.ดร.ปิติ สุคนธสุขกุล กรรมการและเลขานุการ

 

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 ก.พ 2562

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2566

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2566 – 2 เมษายน 2571
“Recognized by Council of Engineers from year AD 2023 to year AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-บทกำหนดสำหรับวัสดุก่อสร้าง
-เกณฑ์กำหนดในการก่อสร้าง
-การจัดส่วนขององค์อาคารและการยึดปลายเหล็กเสริม
-การวิเคราะห์โครงสร้าง
-การคำนวณออกแบบองค์อาคาร
-ระบบโครงสร้างหรือชิ้นส่วนโครงสร้าง
   โดยมาตรฐานนี้ได้กำหนดค่าต่ำสุดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ และการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมทั้งองค์ประกอบของโครงสร้างเฉพาะส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
    สำหรับโครงสร้างชนิดพิเศษ เช่น องค์อาคารโค้ง ถังเก็บวัสดุ อ่างเก็บน้ำ ถังสูงเก็บวัสดุจำพวกเมล็ดและผง โครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิดและปล่องไฟ ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่จะใช้ได้

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
– วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
– ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร หรือหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน
– นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน

– สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการออกแบบ ด้านการก่อสร้าง
– ผู้ตรวจสอบอาคาร
– ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4
บทความถัดไปมาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้