รายละเอียดเพิ่มเติม
มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งานเล่มนี้ ได้ปรับปรุงข้อความตลอดจนเนื้อหาต่างๆ ให้กระชับและถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น โดยยึดถือ ACI 318-63 เป็นหลัก เนื้อหาสาระที่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยได้แก่ ข้อกำหนดในหมวด 3 เกณฑ์กำหนดในการก่อสร้างที่เป็นไปตาม ACI 318-89 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง นอกจากนี้ได้ปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับความหนาต่ำสุดขององค์อาคารให้ต่ำลงในกรณีที่ไม่ได้คำนวณระยะ
ในการปรับปรุงครั้งนี้ ได้พิจารณาชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตให้เหมาะสมกับการคำนวณออกแบบ ได้แก่ การยกเลิกมิให้ใช้เหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD50 และการกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ของเหล็กเสริม ในกรณีที่ใช้เหล็กเส้นชั้นคุณภาพ SD40 ซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 50 ของกำลังคราก ซึ่งจะทำให้ค่าหน่วยแรงที่ยอมให้สูงขึ้นจากเดิม และในส่วนของการออกแบบแผ่นพื้น ได้กำหนดนิยามให้แถบต่าง ๆ ในการออกแบบให้ถูกต้องทันสมัยมากขึ้น
มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 ก.พ 2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2566
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2566 – 2 เมษายน 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”
ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-บทกำหนดสำหรับวัสดุก่อสร้าง
-เกณฑ์กำหนดในการก่อสร้าง
-การจัดส่วนขององค์อาคารและการยึดปลายเหล็กเสริม
-การวิเคราะห์โครงสร้าง
-การคำนวณออกแบบองค์อาคาร
-ระบบโครงสร้างหรือชิ้นส่วนโครงสร้าง
โดยมาตรฐานนี้ได้กำหนดค่าต่ำสุดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ และการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมทั้งองค์ประกอบของโครงสร้างเฉพาะส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
สำหรับโครงสร้างชนิดพิเศษ เช่น องค์อาคารโค้ง ถังเก็บวัสดุ อ่างเก็บน้ำ ถังสูงเก็บวัสดุจำพวกเมล็ดและผง โครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิดและปล่องไฟ ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่จะใช้ได้
ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
– วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
– ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร หรือหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน
– นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน
– สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการออกแบบ ด้านการก่อสร้าง
– ผู้ตรวจสอบอาคาร
– ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์