รหัสมาตรฐาน EE 021004-18 มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและป้ายทางออกฉุกเฉิน แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4
วสท. มีเป้าหมายจัดทำมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระทางด้านการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่สร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นมาตรฐานระดับประเทศ
มาตรฐานฉบับนี้เป็นมาตรฐานที่ได้ปรับปรุงจากฉบับเดิมเป็นครั้งที่ 4 โดยได้ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) รวมทั้งมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้องและเหมาะกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเหมาะสม ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงประจำปี 2558 จากสภาวิศวกร ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมให้สมาคมวิชาชีพจัดทำมาตรฐานการประกอบวิชาชีพทั้งการร่างขึ้นใหม่หรือปรับปรุงมาตรฐานให้มีความทันสมัยขึ้น
วสท. ขอขอบพระคุณคณะอนุกรรมการมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ ที่ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ จนสามารถปรับปรุงมาตรฐานแล้วเสร็จ หากผู้ใช้มาตรฐานนี้มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะประการใด โปรดแจ้งให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ทราบเพื่อจะได้จัดทำมาตรฐานให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ฉบับก่อนหน้า ปรับปรุงและตีพิมพ์กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับที่ปรับปรุงครั้งที่ 4 และพิมพ์เมื่อปี 2561 โดยมีการแก้ไขหลักๆ หลายจุด ดังนี้
แนวทางการปรับปรุง
- พิจารณาเนื้อหาเดิมว่ามีส่วนใดมากไปหรือไม่ เพื่อให้เป็นมาตรฐานมากกว่าคู่มือ
- พิจารณาเนื้อหาเดิมว่ามีส่วนใดน้อยเกินไป เพื่อเพิ่มเติมหรือขยายความให้ชัดเจนมากขึ้น
- พิจารณาว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ควรนำมาประยุกต์ใช้หรือไม่ เช่น LED, Photoluminescent
มาตรฐานมีเนื้อหาแยกเป็น
– ภาคที่ 1 : นิยาม
– ภาคที่ 2 : ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
– ภาคที่ 3 : โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
– ภาคผนวก : ตัวอย่างใบรับรองการตรวจสอบและทดสอบ, ตัวอย่างการออกแบบและติดตั้ง, ระบบนำทางติดตั้งต่ำแบบไม่ใช้ไฟฟ้า
สรุปการปรับปรุงได้ดังนี้
– ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย
– สอดคล้องกับกฎหมาย, มาตรฐานสากล, สภาพแวดล้อมในประเทศไทย
– เป็นหนึ่งในโครงการที่ขอรับการสนับสนุนและรับรองจากสภาวิศวกร
ภาคที่ 1 นิยาม
- เรียงลำดับข้อใหม่ตามอักษรไทย
- เพิ่มข้อ 1.23 ระบบนำทางติดตั้งต่ำใช้ไฟฟ้า (electrical low mounted way guidance system) ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 1.8 เมตรในทางหนีภัย
- เพิ่มข้อ 24 ระบบนำทางติดตั้งต่ำไม่ใช้ไฟฟ้า) (non-electrical low mounted way guidance system) ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 1.8 เมตรในทางหนีภัย
- เพิ่มข้อ 25 ระบบเปล่งแสง (photoluminescent system) ที่กระตุ้นด้วยอัลตราไวโอเลตหรือรังสีที่มองเห็นได้ ซึ่งพลังงานจะปล่อยออกมาเป็นแสง
- เพิ่มนิยามเกี่ยวกับระบบนำทางติดตั้งต่ำ :
– ข้อ 1.1 การกระตุ้น
– ข้อ 1.6 เครื่องหมายทางหนีภัยแบบเปล่งแสง
– ข้อ 1.31 ช่วงเวลาที่สิ้นสุดการเปล่งแสง - เปลี่ยนข้อ 1.22 พื้นที่งานอันตราย เป็น พื้นที่งานความเสี่ยงสูง
ภาคที่ 2 ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
- ข้อ 2 การเตรียมการและการจดบันทึก :
– เพิ่มอุปกรณ์ปฐมพยาบาล - ข้อ 3 การให้แสงสว่างฉุกเฉิน
– เพิ่มการให้แสงสว่างอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
– แก้รูปให้มีระบบนำทางติดตั้งต่ำ และพื้นที่งานความเสี่ยงสูง - ข้อ 4 ความส่องสว่างเพื่อการหนีภัย
– เพิ่มรูปการส่องสว่างทางหนีภัยที่กว้างไม่เกิน 2 ม. และเกิน 2 ม. - ข้อ 5 การออกแบบการให้แสงสว่างฉุกเฉิน
– ระบุความชัดเจนของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉิน คือ ต้องมาจากแบตเตอรี่……. ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ทั้งนี้วงจรที่จ่ายไฟฟ้าให้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องรับไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติเท่านั้น - ข้อ 6.1 ตำแหน่งติดตั้ง
– เพิ่มรูปและพื้นที่ต้องการไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน - ข้อ 6.2.1 แก้ระยะห่างระหว่างโคมไฟฟ้า A – E ชนิดติดกับฝ้าเพดาน
- ข้อ 6.2.2 เพิ่มระยะห่างระหว่างโคมไฟฟ้า F & G ชนิดติดกับฝ้าเพดาน
- ข้อ 7.1 เพิ่มโดยระบุชนิดของแบตเตอรี่
- ข้อ 7.2 เพิ่มโดยระบุความจุของแบตเตอรี่
- ข้อ 8.2.3 วงจรโคมไฟฟ้าชนิดต่อพ่วงให้แรงดันตกไม่เกิน 5% (เดิม 10%)
- ข้อ 8.2.7 แก้วงจรจากเดิมไม่เกิน 50 แอมแปร์และไม่เกิน 12 ดวงโคมต่อวงจร เป็นไม่เกิน 32 แอมแปร์ (ไม่ระบุจำนวนโคม)
- ข้อ 10.1 ใบรับรองการทำงานแล้วเสร็จ : เพิ่มข้อความ “สำหรับอาคารที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบด้านวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร”
- ข้อ 10.1-ก) การตรวจงานติดตั้งใหม่ : แก้ “ผู้ควบคุมงานทำการติดตั้งได้ตามมาตรฐาน” เป็น “ผู้ควบคุมการติดตั้งทำงานเป็นไปตามมาตรฐาน”
- ข้อ 10.1-ข) การตรวจงานเปลี่ยนแปลง : แก้ “ผู้ควบคุมงานทำการติดตั้งได้ตามมาตรฐาน” เป็น “ผู้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงทำงานเป็นไปตามมาตรฐาน”
ภาคที่ 3 โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินฯ
- ข้อ 5.4.2-2) วงจรป้ายทางออกฯชนิดต่อพ่วงให้แรงดันตกไม่เกิน 5% (เดิม10%)
- ข้อ 7.1 ใบรับรองการทำงานแล้วเสร็จ : เพิ่มข้อความ “สำหรับอาคารที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบด้านวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร”
- ข้อ 7.1-ก) การตรวจงานติดตั้งใหม่ : แก้ “ผู้ควบคุมงานทำการติดตั้งได้ตามมาตรฐาน” เป็น “ผู้ควบคุมการติดตั้งทำงานเป็นไปตามมาตรฐาน”
- ข้อ 7.1-ข) การตรวจงานเปลี่ยนแปลง : แก้ “ผู้ควบคุมงานทำการติดตั้งได้ตามมาตรฐาน” เป็น “ผู้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงทำงานเป็นไปตามมาตรฐาน”
ภาคผนวก ข รายละเอียดและข้อแนะนำเรื่องระบบแบตเตอรี่
- ข้อ ข.1–1) พื้นที่เก็บแบตเตอรี่ส่วนกลางทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง (เดิม 90 นาที)
- ข้อ ข.2–1) การระบายอากาศของแบตเตอรี่ส่วนกลาง : เพิ่ม “หรือปรับอากาศให้เหมาะกับแบตเตอรี่ชนิดปิดผนึก”
- ข้อ ข.4–1) อินเวอร์เตอร์ : เพิ่ม “ป้องกันจากช็อกไฟฟ้า (electrical shock)”
ภาคผนวก ค ข้อแนะนำการติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ
- ตัด ภาคผนวก ค. เดิม : รูปแบบป้าย/สีปลอดภัย/สีประกอบคู่แล้วย้ายภาคผนวก จ เดิมมาแทนในภาคผนวกนี้ เพื่อจัดลำดับใหม่
- ข้อ ค.1 พื้นที่โล่งในอาคารที่ไม่มีทางหนีภัยชัดเจน : แก้ระยะห่างระหว่างโคมใหม่
ภาคผนวก ง ใบรับรอง ทำงานแล้วเสร็จ และตรวจสอบ-ทดสอบ
- ข้อ ง.1 ใบรับรองทำงานแล้วเสร็จ-งานติดตั้งใหม่ : แก้ “วิศวกรผู้ควบคุมงานทำการติดตั้งได้ตามมาตรฐาน” เป็น “วิศวกรผู้ควบคุมการติดตั้ง”
- ข้อ ง.2 ใบรับรองทำงานแล้วเสร็จ-งานเปลี่ยนแปลง : แก้ “วิศวกรผู้ทำการเปลี่ยนแปลงฯ” เป็น “วิศวกรผู้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงฯ”
- ข้อ ง.4 รายการตรวจสอบและทดสอบ-งานติดตั้งใหม่, งานเปลี่ยนแปลง และระหว่างใช้งาน : เพิ่มจาก ง.1 เดิม
– เพิ่มช่องเลือก ไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และป้ายทางออกฉุกเฉิน
– แก้ไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน เป็น จ่ายไฟได้ ผ่าน/ไม่ผ่าน
ภาคผนวก จ ระยะเวลาจ่ายไฟฟ้าภาวะฉุกเฉินสำหรับไฟฟ้าแสงสว่างฯ และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฯ พื้นที่ต่างๆ
- ย้ายภาคผนวก ฉ เดิมมาแทนในภาคผนวกนี้ เพื่อจัดลำดับใหม่ และแก้ไขชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา
ภาคผนวก ฉ การออกแบบและติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
- จัดลำดับ&ปรับปรุงจากภาคผนวก ช, ซ, ฌ, ญ เดิม : ข้อกำหนด, การออกแบบ, การป้องกัน, การทำงาน-บำรุงรักษา, ตัวอย่างการออกแบบ, ตัวอย่างตำแหน่ง, ตัวอย่างอุปกรณ์
- เปลี่ยนรูปตัวอย่างในการออกแบบใหม่
ภาคผนวก ช ระบบนำทางติดตั้งต่ำแบบเปล่งแสง-ภาวะฉุกเฉิน
- เป็นภาคผนวกใหม่ ประกอบด้วย
– ช.1 แนะนำ
– ช.2 การวางแผนและส่วนประกอบ
– ช.3 การออกแบบและติดตั้ง
มาตรฐานฉบับต่อไปมีกำหนดปรับปรุงในปี พ.ศ. 2566
รายชื่อคณะอนุกรรมการมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2561
ที่ปรึกษา
1. ผศ.ดร.อุทัย | ไชยวงศ์วิลาน | |
2. นายอุทิศ | จันทร์เจนจบ | |
3. นายลือชัย | ทองนิล | |
4. นายพิชญะ | จันทรานุวัฒน์ |
คณะอนุกรรมการ
1. ผศ.ถาวร | อมตกิตติ์ | ประธานอนุกรรมการ |
2. รศ.ไชยะ | แช่มช้อย | รองประธานอนุกรรมการ |
3. รศ.ดร.อรรถพล | เง่าพิทักษ์กุล | อนุกรรมการ |
4. ผศ.ดร.สำเริง | ฮินท่าไม้ | อนุกรรมการ |
5. ดร.ศรีฉัตรา | ไชยวงศ์วิลาน | อนุกรรมการ |
6. นายเตชทัต | บูรณะอัศวกุล | อนุกรรมการ |
7. นายธนิศ | เผื่อนสา | อนุกรรมการ |
8. นายธีรชัย | จุมพลเสถียร | อนุกรรมการ |
9. นายประสพ | เพชรสกุลรัตน์ | อนุกรรมการ |
10. นายพงษ์พันธ์ | ไชยะคำ | อนุกรรมการ |
11. นายสถาพร | รุ่งรัตนาอุบล | อนุกรรมการ |
12. นายสุธี | ปิ่นไพสิฐ | อนุกรรมการ |
13. นายสุวัฒน์ | บุญศักดิ์สกุล | อนุกรรมการ |
14. นางสุวิชญาน์ | เมธมโนรมย์ | อนุกรรมการ |
15. นายกิตติ | สุขุตมตันติ | อนุกรรมการและเลขานุการ |
16. นางสาวณัฐรียา | อุ่นรัตนะ | ผู้ช่วยเลขานุการ |