รายละเอียดเพิ่มเติม
เนื่องด้วยคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เสนอให้ทำการทบทวนมาตรฐานระบบลิฟต์ฉบับเดิมที่ร่างตามมาตรฐาน EN 81-1:1998 มาจัดทำให้ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน EN 81-20 : 2014 ที่จะประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2017 ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงวิธีการใหม่ทั้งฉบับ ดังนั้นเพื่อให้มาตรฐานระบบลิฟต์ทันสมัยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล คณะกรรมการสาขาเครื่องกลจึงมีมติให้นำมาตรฐานระบบลิฟต์ฉบับเดิมมาทำการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงแก้ไขรหัสหนังสือ พร้อมทั้งได้แบ่งมาตรฐานเป็น 3 เล่ม ดังต่อไปนี้
เล่ม 1 มาตรฐานระบบลิฟต์โดยสาร และลิฟต์โดยสารที่ใช้ขนของ วสท. 032012-19 มีเนื้อหาจำนวน 8 บท เป็นการเรียบเรียงใหม่ทั้งฉบับโดยใช้เนื้อหาตามมาตรฐาน EN 81-20:2014 Safety rules for the construction and installation of Lifts- Lifts for the transport of persons and goods part 20: Passenger and goods passenger Lifts เป็นแนวทาง
เล่ม 2 มาตรฐานลิฟต์พนักงานดับเพลิง มีเนื้อหาจำนวน 8 บท เป็นการเรียบเรียงใหม่ทั้งฉบับโดยใช้เนื้อหาตามมาตรฐาน EN 81-72: 2015 Safety rules for the construction and installation of lifts- Lifts for the transport of persons and goods part 72: Firefighters lifts เป็นแนวทาง
เล่ม 3 มาตรฐานการทำงานของลิฟต์ในสถานการณ์เพลิงไหม้ มีเนื้อหาจำนวน 8 บท เป็นการเรียบเรียงใหม่ทั้งฉบับโดยใช้เนื้อหาตามมาตรฐาน EN 81-73: 2015 Safety rules for the construction and installation of lifts- Lifts for the transport of persons and goods part 73: Behavior of lifts in the Event of Fire เป็นแนวทาง
เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีอยู่หลายสาขาและหลายระดับได้ใช้ศึกษา และทำความเข้าใจมาตรฐานการติดตั้ง และความปลอดภัย ในเล่มยังได้มีการเพิ่มเติมรูป ตัวอย่าง คำนิยามและคำศัพท์ รวมถึงกฎหมายที่บังคับใช้แล้ว
มาตรฐานระบบลิฟต์รหัสมาตรฐาน วสท. 032012-19 (EIT Standard 032012-19) ได้รวมมาตรฐานทั้ง 3 เล่มดังกล่าวข้างต้นเป็นเล่มเดียวและจะใช้แทนมาตรฐานระบบลิฟต์เล่มเดิมของ วสท. รหัส EIT Standard 3012-49 ซึ่งปัจจุบันนี้ วสท. ไม่พิมพ์จำหน่ายแล้ว
มาตรฐานระบบลิฟต์
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2566 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”
ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-เครื่องจักรอันตราย สถานการณ์อันตราย และเหตุการณ์อันตรายของเครื่องจักร รวมถึงระบบควบคุมที่เกี่ยวข้อง
-การออกแบบ สร้างเครื่องจักร และอุปกรณ์การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบลิฟต์
-ความเสี่ยงอันตรายที่สำคัญ เหตุการณ์อันตรายของลิฟต์พนักงานดับเพลิง
-ข้อกำหนด และกฎด้านความปลอดภัย ที่อธิบายการทำงานของลิฟต์เมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ในอาคาร โดยมีสัญญาณเรียกลิฟต์ส่งไปยังระบบควบคุมลิฟต์
-มาตรฐานฉบับนี้ใช้ได้กับลิฟต์โดยสาร และลิฟต์โดยสารที่ใช้ขนของที่ติดตั้งใหม่ ที่ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนทุกชนิด อย่างไรก็ตาม อาจนำไปปรับใช้เพื่อปรับปรุงด้านความปลอดภัยของลิฟต์โดยสาร และลิฟต์โดยสารที่ใช้ขนของที่มีการติดตั้งใช้งานอยู่แล้ว
ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-เจ้าพนักงานด้านลิฟต์ ผู้ชำนาญการลิฟต์ วิศวกรควบคุม ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล และบำรุงรักษาลิฟต์
-เจ้าของอาคาร หรือฝ่ายอาคารที่ติดตั้งลิฟต์นั้น
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยงานระบบอาคาร รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยสำหรับงานระบบอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาเครื่องกล สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาด้านงานระบบอาคาร
-ผู้ประกอบด้านอสังหาริมทรัพย์ และสถาปนิก
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ผู้ติดตั้ง หรือผู้บำรุงรักษาลิฟต์
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง