รายละเอียดเพิ่มเติม
มาตรฐานการควบคุมควันไฟ ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2562 นี้ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยมีการจัดกลุ่มมาตรฐานใหม่จากเดิมที่เขียนการควบคุมควันไฟไม่ว่าจะระบบอัดอากาศและระบายควันไฟรวมอยู่ด้วยกัน ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 นี้ ได้แยกระบบทั้งสองออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน รวมไปถึงการปรับปรุงในเรื่องการควบคุมการทำงานของระบบอัดอากาศและระบายควันไฟที่ต้องมีความสามารถในการสั่งได้อย่างอัตโนมัติและสั่งการด้วยมือในทุกช่วงเวลาของการทำงานของระบบ
อาคารจะมีความปลอดภัยจากควันไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องมีการปฏิบัติตามมาตรฐานในทุกขั้นตอน ทั้งการออกแบบ การติดตั้ง การทดสอบระบบก่อนการใช้งาน การดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์ และถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอาคารที่อาจมีผลกระทบต่อระบบควบคุมควันไฟ หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ จำเป็นต้องมีการทบทวนและออกแบบให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการใช้อาคารอยู่เสมอ ระบบควบคุมควันไฟจะต้องมีการทดสอบการทำงานของระบบและทดสอบสมรรถนะเป็นประจำทุกปี ผลการทดสอบจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานฉบับนี้หรือมาตรฐานอื่นที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ
มาตรฐานการควบคุมควันไฟ
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565-9 มกราคม พ.ศ.2570
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”
ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-ข้อกำหนดการออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟสำหรับบันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิงสำหรับทุกอาคารที่มีระบบนี้ติดตั้งอยู่ เพื่อให้ระบบอัดอากาศมีประสิทธิภาพในการป้องกันควันไหลเข้าสู่บันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิงหรือพื้นที่ปลอดควัน
-ข้อกำหนดการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบระบายควันไฟที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่กระจายควันไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานอาคารและสะดวกต่อพนักงานดับเพลิงในการเข้าถึงจุดต้นเพลิง หรือสามารถช่วยเหลือผู้ใช้อาคารที่ติดค้างอยู่ภายในได้สะดวก
ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-ผู้ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคาร
-พนักงานดับเพลิง และตำรวจดับเพลิง
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-เจ้าของอาคาร และฝ่ายอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในอาคารและส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยอาคาร รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาเครื่องกล, อัคคีภัย และความปลอดภัย สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมความปลอดภัย และการป้องกันอัคคีภัย
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุที่ใช้ในระบบการควบคุมควันไฟของอาคาร
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์