วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาโยธา มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง
ลดราคา!

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง

฿ 200.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง
รหัสมาตรฐาน 011008-21
ปีที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 (November 2021)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 6 MB
รหัสสินค้า: 10104-64 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง

ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  โดยวิธีกำลัง (มาตรฐาน วสท.1008-38) ฉบับเดิม ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายมาเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยไม่มีการแก้ไขปรับปรุง คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา  วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานนี้เห็นควรให้มีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการ โดยยึดแนวมาตรฐาน ACI 318-11 เป็นหลัก

การปรับปรุงครั้งนี้ยังคงแบ่งหมวดและบทตามเนื้อหาของมาตรฐานเดิมเป็นหลัก โดยมีการเปลี่ยนจาก “ภาค” เป็น “หมวด” และเปลี่ยนหัวข้อจากเลข 4 หลัก เช่น “1100” เป็น บทที่ 1 ตามหลักเกณฑ์ใน “แนวปฏิบัติสำหรับการจัดทำมาตรฐานการปฎิบัติวิชาชีพวิศวกรรม” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ  เพื่อความเป็นสากล หน่วยและสมการจะเป็นระบบ SI –metric ส่วนหน่วยและสมการในระบบ Mks-metric ซึ่งเป็นหน่วยที่คุ้นเคยจะไปแสดงอยู่ในตารางเปรียบเทียบค่าและสมการของทั้งสองระบบในภาคผนวกท้ายเล่ม นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเนื้อหาจากมาตรฐาน วสท.1008-38 อีก 4 บท ได้แก่

บทที่ 4   ข้อกำหนดคุณสมบัติของคอนกรีตตลอดอายุการใช้งาน

บทที่ 19 ข้อกำหนดพิเศษสำหรับอาคารต้านแผ่นดินไหว

บทที่ 20 แบบจำลองแขนค้ำยันและแขนยึด

บทที่ 21 การฝังยึดในคอนกรีต

การคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  โดยวิธีกำลัง ได้แยกการพิจารณาความปลอดภัยไว้เป็นสองส่วนคือ เรื่อง แฟกเตอร์น้ำหนักและแฟกเตอร์ลดกำลัง  การคำนวณแฟกเตอร์น้ำหนักในมาตรฐานใหม่นี้จะยังคงใช้ตามมาตรฐานเดิม  ซึ่งจะสอดคล้องกับแฟกเตอร์น้ำหนักในกฏกระทรวงฉบับใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง  ที่จะออกบังคับใช้เร็วๆนี้  ส่วนแฟกเตอร์ลดกำลังซึ่งเดิมแบ่งเป็น 2 กรณี คือกรณีที่การก่อสร้างมีการควบคุมงานเป็นอย่างดีและมีการควบคุมคุณภาพของวัสดุ  และกรณีที่ไม่มีการควบคุมงานและคุณภาพของวัสดุ  ซึ่งในมาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่นี้จะให้มีกรณีเดียว เนื่องจากงานก่อสร้างในปัจจุบันเกือบทุกงานมีการควบคุมงานและคุณภาพของวัสดุ  ทั้งคอนกรีตและเหล็กเสริมมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในมาตรฐานฉบับใหม่นี้จะอ้างอิงจากศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสภา สาขาวิศวกรรมโยธาเพื่อความถูกต้องมากขึ้นและเป็นบรรทัดฐานเดียวกันในงานวิศวกรรมโยธา เช่น “factor” ซึ่งในมาตรฐานเดิมบัญญัติว่า “ตัวคูณ” แต่ในมาตรฐานฉบับนี้จะบัญญัติเป็น “แฟกเตอร์” ตามราชบัณฑิตยสภา

วสท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรฐานฉบับนี้จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง  เป็นประโยชน์ในหมู่วิศวกรผู้คำนวณออกแบบและแวดวงวิชาการ  ตลอดจนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏหมายควบคุมและข้อบัญญัติ  หากท่านใดมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ โปรดส่งข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะมายัง วสท. เพื่อจะได้พัฒนาวิธีการคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ให้ก้าวหน้าต่อไป

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2558
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้ เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564) 

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2564 – 10 ต.ค. 2569
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-มาตรฐานกำหนดค่าต่ำสุดต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ การกำหนดคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมถึงการประเมินกำลังของโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยวิศวกร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำลังอัดของคอนกรีตตามมาตรฐานนี้ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 18 เมกะพาสคัล ส่วนค่าสูงสุดจะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดของมาตรฐานที่เป็นทางเฉพาะ
-สำหรับโครงสร้างพิเศษ เช่น องค์อาคารโค้งตั้ง ถังเก็บวัสดุ อ่างเก็บน้ำ ไซโล โครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิด และปล่องไฟ เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่จะใช้ได้
-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบ การตอกหรือเจาะเสาเข็มคอนกรีต และตอม่อคอนกรีตที่ทำหน้าที่ถ่ายแรงลงสู่ดิน

-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างแผ่นพื้นวางบนดิน เว้นแต่แผ่นพื้นนั้นทำหน้าที่ถ่ายแรงตามแนวดิ่งหรือแนวราบจากโครงสร้างอื่นลงสู่ดิน
-เกณฑ์กำหนดเรื่องการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างองค์อาคารต้านแผ่นดินไหวในมาตรฐานนี้ต้องพิจารณาประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่เกี่ยวข้อง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
 
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานด้านการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาด้านการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง