ศัพท์วิทยาการพลังงาน

7221

รหัสมาตรฐาน 031016-21

          พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกสีเขียวใบนี้ และ พลังงานยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศ ด้วยความสำคัญดังกล่าวมานั้นส่งผลให้ทุกประเทศได้มีการ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างมากมายในศตวรรษที่ 21 นี้ ดังนั้นเพื่อให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านพลังงานระหว่างประเทศเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ยุค 4.0 คณะอนุกรรมการพลังงาน ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้จัดทำคู่มือศัพท์วิทยาการพลังงานขึ้นมาใช้ในประเทศไทย

        คณะอนุกรรมการพลังงาน ได้เสนอให้ วสท. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำศัพท์วิทยาการพลังงาน ในคณะอนุกรรมการพลังงาน คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล โดยปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมจากศัพท์วิทยาการพลังงานที่คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งได้รวบรวมคำศัพท์ที่มีการใช้งานทางด้านพลังงานจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้หากพบความผิดพลาดคณะทำงานจะน้อมรับคำวิจารณ์ทั้งปวงเพื่อนำมาปรับปรุง และเพิ่มเติมให้เหมาะสมขึ้นในการพิมพ์ครั้งต่อไป

        วสท. ใคร่ขอขอบพระคุณคณะทำงานจัดทำศัพท์วิทยาการพลังงาน ในคณะอนุกรรมการพลังงานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในการจัดทำศัพท์ที่ได้เสียสละเวลา และนำประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญต่าง ๆ มาช่วยกันปรับปรุงศัพท์วิทยาการพลังงานเล่มนี้จนแล้วเสร็จ หากผู้อ่านมีข้อมูลหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมประการใด ขอได้โปรดแจ้งกลับมาที่ วสท. เพื่อปรับปรุงแก้ไขในฉบับต่อไป

คณะทำงานจัดทำศัพท์วิทยาการพลังงาน

 

ที่ปรึกษา
1. นายมานิตย์ กู้ธนพัฒน์
2. นายฉัตรดนัย ฉัตรพลรักษ์
3. นายธีรวัฒน์ ศรินทุ

 

คณะทำงาน
1. ดร.ศุภชัย ปัญญาวีร์ ประธานคณะทำงาน
2. นายเดชะ ตันมีสุข คณะทำงาน
3. นายสมเจตน์ ทองคำวงศ์ คณะทำงาน
4. นายปัญจะ ทั่งหิรัญ คณะทำงาน
5. นายทศพร ปรีดาพันธุ์ คณะทำงาน
6. นายสมชาย พงษ์พิบูลศักดิ์ คณะทำงาน
7. ดร.ณัฐพล รุ่นประแสง คณะทำงาน
8. รศ.ทวีวัฒน์ สุภารส คณะทำงาน
9. นายดำรงค์ บัวยอม คณะทำงาน
10. นายกฤษณะ อาสน์สุวรรณ์ คณะทำงาน
11. นายปฏิญญา จีรพรมงคล คณะทำงาน
12. นายธิปพล ช้างแย้ม คณะทำงาน
13. นายกิตติพงษ์ กุลมาตย์ คณะทำงานและเลขานุการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

ฉบับแก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 1

พ.ศ. 2564

บทความก่อนหน้านี้แนวปฏิบัติเพื่อการออกแบบอาคารเหล็กสำเร็จรูปสำหรับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
บทความถัดไปมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ