มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ พ.ศ. 2567

24997

รหัสมาตรฐาน EE 021002-24 มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ พ.ศ. 2567

มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระทางด้านการออกแบบ การติดตั้ง และการตรวจสอบ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้สำหรับใช้เตือนอัคคีภัยกับอาคารทั่วไปเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต และลดความสูญเสียต่อทรัพย์สิน ทั้งนี้ไม่รวมส่วนของอาคารที่ใช้เพื่อการผลิต การใช้ การเก็บสาร หรือวัสดุอันตราย เช่น วัตถุระเบิด สารไวไฟ สารเคมี และสารกัมมันตรังสี เป็นต้น ซึ่งต้องใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางประกอบการออกแบบด้วย

เนื้อหาในมาตรฐานกล่าวถึงนิยามเพื่อให้เข้าใจคำ หรือข้อความที่ใช้ในมาตรฐานนี้ วิธีการกำหนดโซน การแบ่งโซนเพื่อค้นหาจุดต้นเพลิงได้โดยรวดเร็ว และสามารถหนีไฟได้ทัน การแบ่งประเภทของอาคารเพื่อกำหนดส่วนประกอบขั้นพื้นฐานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่อาคารพึงมี อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง และการกำหนดใช้ที่เหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะ การติดตั้งอุปกรณ์ สาย ท่อ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานถูกต้องเมื่อต้องการ

มาตรฐานนี้ครอบคลุมเฉพาะการออกแบบ การติดตั้ง และการตรวจสอบเท่านั้น ไม่ครอบคลุมการเลือกอุปกรณ์เพื่อใช้กับพื้นที่โดยทั่วไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพที่มีมาตรฐานสากลรับรอง แต่ทั้งนี้คุณสมบัติในการทำงานของอุปกรณ์ต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานนี้

การใช้มาตรฐานดังกล่าว ผู้ใช้ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมเพื่อให้เข้าใจการใช้มาตรฐานอย่างถูกต้องจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548

ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

ฉบับปัจจุบัน   มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ พ.ศ. 2567 เป็นฉบับที่ปรับปรุงครั้งที่ 3 และพิมพ์เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยมีการแก้ไข ดังนี้

มาตรฐานฉบับต่อไปมีกำหนดปรับปรุงในปี พ.ศ. 2572

คณะผู้จัดทำ

มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

พ.ศ. 2565-2567

กรรมการประจำมาตรฐาน

  1. ดร.เตชทัต       บูรณะอัศวกุล          ประธานกรรมการประจำมาตรฐาน
  2. นายลือชัย        ทองนิล                กรรมการประจำมาตรฐาน
  3. นายพิชญะ       จันทรานุวัฒน์          กรรมการประจำมาตรฐาน
  4. รศ.ถาวร          อมตกิตติ์              กรรมการประจำมาตรฐาน
  5. นายสุวัฒน์        บุญศักดิ์สกุล          กรรมการประจำมาตรฐาน

ที่ปรึกษา

  1. พ.ต.อ.โชคชัย    ยิ้มพงษ์
  2. นางจันทร์เพ็ญ    ประสูติชัย
  3. นายวีรพล         ตันปิชาติ

กรรมการร่างมาตรฐาน

  1. นายมงคล         วิสุทธิใจ              ประธาน
  2. รศ.ถาวร           อมตกิตติ์             กรรมการร่างมาตรฐาน
  3. ดร.ณัฐกานต์      เฟื่องขจร             กรรมการร่างมาตรฐาน
  4. นายธนวัฒน์       ตันปิชาติ             กรรมการร่างมาตรฐาน
  5. นายธนิศ           เผื่อนสา              กรรมการร่างมาตรฐาน
  6. นายวีระพันธ์       พันธุมคุปต์           กรรมการร่างมาตรฐาน
  7. นายเอกชัย         ประสงค์             กรรมการร่างมาตรฐาน
  8. นายสุธี              ปิ่นไพสิฐ            กรรมการร่างมาตรฐาน
  9. นายสุวิทย์          บุญต้อ               กรรมการร่างมาตรฐาน
  10. นายสุวัฒน์         บุญศักดิ์สกุล        กรรมการและเลขานุการ

มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ พ.ศ. 2562
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 มกราคม 2562


ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพที่ปรับปรุง ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 – 12 กันยายน พ.ศ. 2569
“Recognized by Council of Engineers from year AD 2021 to year AD 2026”

 ขอบเขตงาน ครอบคลุม
– มาตรฐานนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ การติดตั้ง การปฏิบัติ การตรวจสอบ การทดสอบ

  และการบำรุงรักษา สำหรับระบบตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้สำหรับใช้เตือนอัคคีภัย
  กับอาคารทั่วไปเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต และลดความสูญเสียต่อทรัพย์สิน
– ทั้งนี้ไม่รวมส่วนของอาคารที่ใช้เพื่อการผลิต การใช้ การเก็บสาร หรือวัสดุอันตราย เช่น วัตถุระเบิด สารไวไฟ สารเคมี
  และสารกัมมันตรังสี เป็นต้น  ซึ่งต้องใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง  และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางประกอบการออกแบบ

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
– วิศวกร ผู้ออกแบบ ผู้ติดตั้ง ผู้รับเหมา ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้ตรวจสอบอาคาร เจ้าของอาคาร

  และผู้อยู่ในอาคารได้นำไปใช้อ้างอิงสำหรับการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต
  และลดการสูญเสียทรัพย์สินจากอัคคีภัยในอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในอาคารและส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยอาคาร รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยสำหรับงานระบบอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาไฟฟ้า เครื่องกล  อัคคีภัย และความปลอดภัย สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ความปลอดภัย และการป้องกันอัคคีภัยของอาคาร
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2
บทความถัดไปเสวนา “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา”