มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

10466

รหัสมาตรฐาน EE 2004-58 มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและป้ายทางออกฉุกเฉิน

มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบ ติดตั้งและตรวจสอบ สำหรับอาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน และอาคารสาธารณะทั่วไป รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยตามกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้สถานที่สามารถหนีภัยออกจากอาคารได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย เมื่อเกิดสภาวะฉุกเฉินขึ้น

มาตรฐานนี้กำหนดตามเกณฑ์อย่างต่ำของความปลอดภัย เพื่อให้มีการออกแบบ ติดตั้ง รวมถึงการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ใช้งานอาคารได้รับความปลอดภัยในระดับสากล

มาตรฐานฉบับนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นต้นร่างของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 2 ฉบับ คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายในสำหรับอาคาร มอก.2430-2552 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายในสำหรับอาคาร มอก.2539-2554  มาตรฐานฉบับนี้มีเนื้อหาแยกเป็นส่วนของระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน พร้อมด้วยภาคผนวกที่แสดงตัวอย่างใบรับรองการตรวจสอบและทดสอบเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เห็นภาพของการนำมาตรฐานนี้ไปใช้งานได้จริงในภาคสนาม

มาตรฐานฉบับนี้จะเป็นมาตรฐานที่วิศวกร บริษัทผู้รับเหมาติดตั้ง สถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการกำหนดการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงานอันจะนำไปสู่งานออกแบบที่เป็นเอกภาพ เนื่องจากอ้างอิงมาตรฐานเดียวกัน

ฉบับก่อนหน้า ปรับปรุงเมื่อปี 2554 แต่เนื่องจากมาตรฐานในส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการปรับปรุงมาตรฐาน จึงทำให้คณะกรรมการต้องปรับปรุงมาตรฐานเร็วกว่ากำหนด เริ่มดำเนินการเมื่อต้นปี 2557 แล้วเสร็จและจัดพิมพ์ต้นปี 2558

ฉบับปัจจุบัน   เป็นฉบับที่ปรับปรุงและพิมพ์เมื่อปี 2558 ถือได้ว่าเป็นฉบับที่มีการปรับปรุงใหญ่ที่สุดของมาตรฐานเมื่อเทียบกับฉบับปี 2554  โดยมีการแก้ไขหลักๆ หลายจุด ดังนี้

  • เนื้อหา
  • แก้ไข/เพิ่มนิยามที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  • ภาคที่ 2 ปรับค่าตัวเลขต่างๆ ให้สอดคล้องกับกฎหมายและการใช้งานจริง เพิ่มรูปประกอบ เพิ่มตารางข้อแนะนำตัวอย่างระยะห่างสูงสุดระหว่างโคมไฟฟ้าฉุกเฉินชนิดติดตั้งกับฝ้าเพดาน เพิ่มตารางความเข้มส่องสว่างสูงสุดในแต่ละพื้นที่
  • ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับ มอก.2539- มาตรฐานการติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน และมอก.2430- มาตรฐานโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายในสำหรับอาคาร
  • ภาคที่ 3 มีการปรับค่าระยะห่างระหว่างป้ายทางออกจาก 48 เมตร เป็น 24 เมตร
  • ภาคผนวก  มีการปรับปรุงเพิ่มเติม ดังนี้
  • ภาคผนวก ข  เพิ่มแบตเตอรี่ชนิดนิกเกิลเมเทิลไฮไดรด์แบบปิดผนึก
  • ภาคผนวก ง  รายการการตรวจและทดสอบโคมระหว่างใช้งาน ไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ในสภาวะฉุกเฉิน เปลี่ยนจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน แก้ช่วงเวลาในการทดสอบระหว่างใช้งาน ราย 3 เดือน แก้จาก ไม่ต่ำกว่า 30 นาที) เป็น 60 นาที (ราย 1 ปี แก้จาก 60 นาที เป็น 90 นาที)
  • รายการการตรวจและทดสอบระหว่างใช้งาน โคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน สภาวะฉุกเฉิน เปลี่ยนจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน ช่วงเวลาในการทดสอบ ราย 3 เดือน แก้จาก ไม่ต่ำกว่า 30 นาที) เป็น 60 นาที (ราย 1 ปี แก้จาก 60 นาที เป็น 90 นาที)  เพิ่มแบบฟอร์มการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
  • ภาคผนวก จ  ข้อแนะนำการติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ (เพิ่มใหม่ทั้งหมด)
  • ภาคผนวก ฉ  แก้ไขประเภทอาคาร และแก้ไขค่าตัวเลขช่วงเวลาต่ำสุดของระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินโดยกำหนดเพิ่มขึ้นสำหรับบางประเภทอาคาร
  • ภาคผนวก ซ  ตัวอย่างตำแหน่งติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน (ปรับแก้ไขเพิ่มรูป)
  • ภาคผนวก ญ  ตัวอย่างรูปอุปกรณ์ (ปรับแก้ไข)

มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการ จะแล้วเสร็จปลายปี 2561

รายชื่อคณะอนุกรรมการปรับปรุงมาตรฐาน ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3

มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

พ.ศ. 2557

ที่ปรึกษา

นายอุทิศ จันทร์เจนจบ
นายลือชัย  ทองนิล


คณะอนุกรรมการ

นายเกียรติ อัชรพงศ์ ประธานอนุกรรมการ
รศ.ไชยะ แช่มช้อย รองประธานอนุกรรมการ
นายสุธี ปิ่นไพสิฐ อนุกรรมการ
นายสถาพร รุ่งรัตนาอุบล อนุกรรมการ
นายจรูญ มาสุขใจ อนุกรรมการ
นายธีระ ริมปิรังษี อนุกรรมการ
นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล อนุกรรมการ
นายพงษ์พันธ์ ไชยะคำ อนุกรรมการ
ผศ.ถาวร อมตกิตติ์ อนุกรรมการ
ผศ.ดร.อรรถพล เงาพิทักษ์กุล อนุกรรมการ
นายจิรัฏฐ์ มงคลวิเศษวรา อนุกรรมการ
นายรัฐพล ใหญ่สิงห์บุญ อนุกรรมการ
นายธีรชัย จุมพลเสถียร อนุกรรมการ
นางสุวิชญาน์ เมธมโนรมย์ อนุกรรมการ
นางสาววรรณรัตน์  วิวัฒนะ อนุกรรมการ
นายวิเชียร พิสุทธิ์เศวตกุล อนุกรรมการ
นายกิตติ สุขุตมตันติ อนุกรรมการและเลขานุการ
นางสาวสโรชา มัฌชิโม ผู้ช่วยเลขานุการ
  • ระยะเวลาดำเนินการ
  • มาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่จะพิมพ์เผยแพร่ราวต้นปี 2562
บทความก่อนหน้านี้ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะ
บทความถัดไปแนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคาร ในส่วนงานของโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม