วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาเหมืองแร่โลหะการและปิโตรเลียม มาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ งานขุด ตัก ขน ด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน
ลดราคา!

มาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ งานขุด ตัก ขน ด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน

฿ 260.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ งานขุด ตัก ขน ด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน
ผู้แต่ง คณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ งานขุด ตัก ขน ด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน
รหัสมาตรฐาน วสท.062002-20
ISBN 978-616-396-044-3
ปีที่พิมพ์ 2563 (2020)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 2.82 MB

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

     มาตรฐานฉบับนี้ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานความปลอดภัยโดยทั่วไป แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในงานเหมือง ในแต่ละลักษณะงานที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหลากหลายชนิด ในเรื่องของการบริหารจัดการความปลอดภัย การบำรุงรักษาและตรวจสภาพด้านความปลอดภัยของเครื่องจักรกลหนัก การใช้งานเครื่องจักรกลหนักที่ถูกต้อง การใช้กฎจราจรและป้ายต่างๆ การออกแบบถนน ที่จอดรถ พื้นที่ปฏิบัติงานขุด ตัก ขน ให้มีความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนการสื่อสารและการเตรียมความพร้อมในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อชี้แจงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ การอบรมพนักงานใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และเป็นความรู้ด้านความปลอดภัยแก่ผู้สนใจโดยทั่วไป การทำงานของวิศวกรวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองผิวดิน หรือเหมืองเปิด ซึ่งใช้เครื่องจักรหลากหลายชนิดในการทำงาน จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยในการทำงานสูง จากสถิติอุบัติเหตุที่ผ่านมา พบว่าการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักรกลหนัก ประเภท รถขุด รถตักและรถบรรทุกหนัก มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในลำดับต้นๆ ทั้งอุบัติเหตุด้านบุคคลซึ่งมีความรุนแรงจนถึงขั้นการสูญเสียชีวิต ส่วนอุบัติเหตุทางด้านทรัพย์สินมีระดับรุนแรงมูลค่าความสูญเสียที่สูง เช่น มีรถบรรทุกพลิกคว่ำ ตกเขา หรือเหยียบรถขนาดเล็กจนแบนติดพื้นถนน จากสาเหตุที่สำคัญพบว่าการกำหนดมาตรการในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงาน ยังขาดมาตรฐานความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางสำหรับวิศวกรวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่