มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร

7373

รหัสมาตรฐาน CE 1003-18  มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร

ปัจจุบันงานก่อสร้างอาคารได้เพิ่มปริมาณขึ้นมาก รวมทั้งมีการนำเอาเทคนิคทางด้านวิชาการใหม่ๆ มาใช้ การใช้เครื่องจักร  อุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  เพื่อทุ่นแรง ประหยัดเวลาให้งานรวดเร็วขึ้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่มองข้ามคืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และต่อทรัพย์สินมากมาย ด้านนายจ้างมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ค่าเสียหายของทรัพย์สิน ค่าสูญเสีย จำนวนคน-ชั่วโมงทำงาน ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ฯลฯ ซึ่งทำให้สูญเสียค่าใช้จ่าย ส่วนลูกจ้างอาจได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต  ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและครอบครัว การป้องกันอุบัติเหตุจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แม้ว่าจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณืเพื่อความปลอดภัย และในด้านการดำเนินการบ้าง

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคารนี้ มีขอบเขตครอบคลุมเฉพาะที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคารเท่านั้น  โดยมีความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ

1.กำหนดสิ่งที่ต้องดำเนินการตามแนวทางวิศวกรรม
2.ให้แนวทางในการปฏิบัติงาน
3.ให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ทั้ง 3 ประการนี้จะกล่าวร่วมกันไปในข้อกำหนดมาตรฐาน ไม่เน้นหนักไปทางใดทางหนึ่ง  ที่มาของมาตรฐานนี้เรียบเรียงจาก U.S.A. STANDARD : SAFETY : CODE FOR BUILDING CONSTRUCTION, A10.2-1944 สำหรับศัพท์วิทยาการบางคำในมาตรฐานนี้ คณะกรรมการวิชาการไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ได้แปลหรือทับศัพท์เดิมไว้ก่อน แต่ตัวเลขกำหนดค่าต่างๆ ได้มีการปรับเป็นหน่วยเมตริก ซึ่งมีค่าเป็นจุดทศนิยม ในการใช้งานจริงอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยประมาณใกล้เคียง  เนื่องจากสภาพงานแตกต่างออกไปตามชนิดของงาน  บางกรณีข้อกำหนดอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม  ในกรณีที่ในทางปฏิบัติไม่อาจกระทำได้ หรือทำได้ยาก วิศวกรผู้ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบอาจใช้วิธีอื่นที่เห็นว่าหมาะสมกว่า แต่ต้องเป็นวิธีที่ปลอดภัยเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอาจไม่บังเกิดผลเต็มที่จากการดำเนินงานตามมาตรฐานนี้เพียงอย่างเดียว  การวางโครงการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน  ความร่วมมือระหว่างวิศวกรผู้ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบ  ผู้ควบคุมงาน  และลูกจ้างเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมี

มาตรฐานฉบับนี้เป็นการจำหน่ายออนไลน์ของมาตรฐานฉบับจัดทำครั้งแรก พ.ศ.2518 โดยเป็นการพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 10 เดือนพฤศจิกายน 2539  และหลังจากนั้นมาก็ไม่มีการพิมพ์จำหน่ายอีก  ปัจจุบันมาตรฐานฉบับนี้ไม่มีการพิมพ์เล่มจำหน่ายหน้าร้าน  มีจำหน่ายเฉพาะฉบับ E-Book ออนไลน์เท่านั้น  ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงโดยแยกออกเป็น 4 เล่ม

มาตรฐานฉบับนี้อยู่ระหว่างปรับปรุง โดยแยกเป็น 4 เล่ม ดังนี้

เล่ม 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป  (เล่ม 1 คลิ๊กดูที่นี่)

เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร (เล่ม 2 คลิ๊กดูที่นี่)

เล่ม 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ

เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ

โดยเล่ม 1-2 มีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ต้นปี 2561

เล่ม 3  มีกำหนดพิมพ์เผยแพร่กลางปี 2561

เล่ม 4  มีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปลายปี 2561

คณะอนุกรรมการจัดทำร่างมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้าง

1.น.ต.กำธน         สินธวานนท์                                                              ประธานกรรมการ

2.นายประสบ       กระแสร์สินธ์                 กรมโยธิการ                                 กรรมการ

3.นายจุลนภ         สนิทวงศ์ ณ อยุธยา        กรมชลประทาน                             กรรมการ

4.นายสุกรีย์          ธีระกุล                      กรมทางหลวงแผ่นดิน                       กรรมการ

5.นายชลอ            พูนพนิช                   กรุงเทพมหานคร                            กรรมการ

6.นายสุธรรม       ชัชวาลย์วงศ์                 การประปานครหลวง                        กรรมการ

7.นายปรีชา          สวัสดิบุรี                    การรถไฟแห่งประเทศไทย                 กรรมการ

8.นายเสริมศักดิ์   เตชะปณิต                    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค                       กรรมการ

9.นายนิพนธ์        อารีย์ราษฎร์                 การไฟฟ้านครหลวง                         กรรมการ

10.น.ต.ชูดวง       แสงชูโต                    กรมช่างโยธาทหารอากาศ                  กรรมการ

11.นายวิเชียร       เต็งอำนวย                  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                   กรรมการ

12.นายกระจ่าง    ทิวะศะศิธร์                   บริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด                กรรมการ

13.นายเกียรติ       จวนรมณีย์                  บริษัทคริสเตียนนี่และนีลเส็นไทยจำกัด   กรรมการ

14.นายพยง          เอกรัตน์                    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ        กรรมการและเลขานุการ

  • ระยะเวลาดำเนินการ

  • มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยแยกเป็น 4 เล่ม ดังนี้
  • เล่ม 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป
  • เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
  • เล่ม 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ
  • เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ
  • กำหนดพิมพ์เผยแพร่

  • เล่ม 1-2 มีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ต้นปี 2562
  • เล่ม 3  มีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปลายปี 2562
  • เล่ม 4  มีกำหนดพิมพ์เผยแพร่ปลายปี 2562
บทความก่อนหน้านี้ขอบเขตและหน้าที่การให้บริการวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง
บทความถัดไปมาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย