มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม

4097

รหัสมาตรฐาน GN 002001-18  มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม

ในการปฏิบัติงานเพื่อให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม ที่ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายควบคุม ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ประกอบกับในปัจจุบันวิทยาการด้านวิศวกรรมมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก และมีรายละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมทั้งที่ควบคุมและยังไม่ควบคุม อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนได้มาก จึงต้องมีพระราชบัญญัติวิศวกรเพื่อกลั่นกรองความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพและเพื่อติดตามดูแลการประกอบวิชาชีพอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้มีมาตรฐาน จึงสมควรจัดทำเอกสารมาตรฐานนี้เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อไป

โดยมาตรฐานนี้  วสท.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อสังคม หมายถึงผู้ว่าจ้างหรือผู้ที่จะได้รับผลของการบริการจากวิศวกร  และจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ให้บริการคือวิศวกร  โดยทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการต่างก็จะได้รู้ว่า จะมีบริการอะไรบ้างตามกรอบของมาตรฐาน และผู้ให้บริการจะได้รับผลตอบแทนอย่างไร มาตรฐานนี้จะส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้าให้ผลงานมีคุณภาพ มีคุณค่า การแข่งขันเชิงคุณภาพจะเกิดขึ้นเมื่อมีหลักการคิดค่าบริการอย่างเท่าเทียมกัน

สิ่งสำคัญในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติของวิศวกร คือ จรรยาบรรณ อันหมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพตามที่สภาวิศวกรได้ประมวลไว้เป็นหลัก เพื่อให้วิศวกรยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งได้นำเสนอไว้ในมาตรฐานด้วยแล้ว

อนึ่งในมาตรฐานนี้ได้เพิ่มส่วนที่เป็นเพื่อให้ผู้ใช้มาตรฐานได้ทราบข้อมูลและมีความเข้าใจในมาตรฐานมากขึ้นจากรายละอียดที่ปรากฎ ซึ่งข้อมูลและรายละเอียดเหล่านี้มีโอกาสที่ปรับเปลี่ยนตามระยะเวลาที่ผ่านไปหรือตามนโยบายของรัฐบาล การกำหนดให้อยู่ในภาคผนวก จะเป็นการดีที่ทำให้ไม่กระทบต่อเนื้อหาของมาตรฐานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดขึ้น

มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2561
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2565 – 9 ม.ค. 2570
“Regcognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-งานให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม
-การว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา
-การคิดค่าบริการวิชาชีพ

-ภาคผนวก ประกอบด้วย จรรยาบรรณวิศวกร ตัวอย่างร่างสัญญาบริการวิศวกรรม อัตราเงินเดือนพื้นฐาน ตัวอย่างแบบการคิดค่าบริการที่ปรึกษาตามค่าใช้จ่ายจริง มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
 
-วิศวกร สถาปนิก ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา ผู้ประกอบการงานรับเหมาก่อสร้าง ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้เกี่ยวข้องกับงานให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและการควบคุมอาคาร รวมถึงหน่วยงานผู้ดูแลเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านงานก่อสร้าง
-ผู้ใช้บริการงานวิศวกรรมต่างๆ

งานบริการวิชาชีพวิศวกรรมที่กฎหมายควบคุม
(1) งานให้คำปรึกษา                    (2) งานวางโครงการ
(3) งานออกแบบและคำนวณ          (4) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต
(5) งานพิจารณาตรวจสอบ             (6) งานอำนวยการใช้
งานบริการวิชาชีพวิศวกรรมที่กฎหมายไม่ควบคุม
(7) งานสำรวจปริมาณงานและราคา  (8) งานจัดการคุณภาพ
(9) งานอื่นๆ ที่ไม่ถูกกำหนดเป็นงานในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

 

มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม เล่มนี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ 1 พ.ศ.2561 (โดยไม่มีฉบับก่อนหน้านี้)

(ฉบับปัจจุบัน) มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ.2561 เป็นมาตรฐานที่กำหนดเนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แนวทางหนึ่งที่ วสท. เห็นว่าประเทศไทยควรมีการเตรียมพร้อม คือ การกำหนดมาตรฐานเพื่อรองรับการเปิดเสรีของวิศวกรอาเซียน  ซึ่งมาตรฐานนี้ถือเป็นมาตรฐานหนึ่งในการเตรียมพร้อมเบื้องต้นในการกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม การจ้างวิศวกรที่ปรึกษา และการคิดค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดทำมาตรฐานนี้ ร่วมกับสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรมนี้เริ่มจัดทำตั้งแต่ พ.ศ. 2543 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 และนำกลับมาทบทวนใหม่ก่อนจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ใน พ.ศ. 2561 โดยมีคณะทำงานพิจารณารวม 3 คณะ  ซึ่งคณะทำงานได้อุทิศเวลาให้กับการจัดทำแนวทางด้วยความวิริยะ อุตสาหะจนแนวทางแล้วเสร็จ และสามารถจัดพิมพ์แนวทางให้กับผู้เกี่ยวข้องไว้ใช้อ้างอิงต่อไป

แผนการปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม

เนื่องจากมาตรฐานเล่มนี้ เพิ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2561  มาตรฐานจึงยังทันสมัยใช้งานได้ โดยมีแผนการปรับปรุงเมื่อกฎหมายควบคุมที่ใช้อ้างอิงมาตรฐาน หรืออัตราค่าบริการวิศวกรมีการเปลี่ยนแปลง

รายนามคณะอนุกรรมการปรับปรุง 
มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม
ประจำปี 2559 – 2560
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. ศ.อรุณ ชัยเสรี
2. นายชยันต์ ศาลิคุปต์
3. รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล
4. นายอนันต์ สุนทรศิริ
5. ดร.การุญ จันทรางศุ
6. ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน
1. นายอนันต์ สุนทรศิริ ประธาน
2. ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร อนุกรรมการ
3. นายสุพจน์ เจียมจรัสรังษี อนุกรรมการ
4. นายสุเทพ สิริวิทยาปกรณ์ อนุกรรมการ
5. นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย อนุกรรมการ
6. รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวสัดิ์ หล่อทองคำ อนุกรรมการ
7. นายโกวิทย์ เอื้อศิริพันธ์ อนุกรรมการ
8. นายอนุชิต เจริญศุภกุล อนุกรรมการและเลขานุการ
9. นายอิสรา ประภาสวัสดิ์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
10. นางสาวสโรชา มัฌชิโม ผู้ช่วยเลขานุการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2561
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2565 – 9 ม.ค. 2570
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-งานให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม
-การว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา
-การคิดค่าบริการวิชาชีพ

-ภาคผนวก ประกอบด้วย จรรยาบรรณวิศวกร ตัวอย่างร่างสัญญาบริการวิศวกรรม อัตราเงินเดือนพื้นฐาน ตัวอย่างแบบการคิดค่าบริการที่ปรึกษาตามค่าใช้จ่ายจริง มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้

-วิศวกร สถาปนิก ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา ผู้ประกอบการงานรับเหมาก่อสร้าง ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้เกี่ยวข้องกับงานให้บริการวิชาชีพวิศวกรรม
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมและการควบคุมอาคาร หน่วยงานผู้ดูแลเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านงานก่อสร้าง รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านงานให้บริการวิชาชีพวิศวกรรมและค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-ทุกสาขา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรม
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 
-ผู้ใช้บริการงานวิศวกรรมต่างๆ
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

งานบริการวิชาชีพวิศวกรรมที่กฎหมายควบคุม
(1) งานให้คำปรึกษา                    (2) งานวางโครงการ
(3) งานออกแบบและคำนวณ           (4) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต
(5) งานพิจารณาตรวจสอบ              (6) งานอำนวยการใช้
งานบริการวิชาชีพวิศวกรรมที่กฎหมายไม่ควบคุม
(7) งานสำรวจปริมาณงานและราคา    (8) งานจัดการคุณภาพ
(9) งานอื่นๆ ที่ไม่ถูกกำหนดเป็นงานในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป
บทความถัดไปมาตรฐานการออกแบบแผนผังโรงงานอุตสาหกรรม