วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาความปลอดภัย มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ลดราคา!

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

฿ 190.00

ขื่อหนังสือ มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
รหัสมาตรฐาน 112002-59
ปีที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2561
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ  คลิ๊กที่นี้
ขนาด 11 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบรับรองจากสภาวิศวกร
(10 ม.ค. 65 – 9 ม.ค. 70)
รหัสสินค้า: 11101-61 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นมาตรฐานที่ใช้เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมทั้งระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองได้ตลอดเวลาขณะที่กระแสไฟฟ้าหลักดับหรือขัดข้อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานประกอบการ โรงพยาบาล อาคารสูง สถานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานชั่วคราว โรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดที่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรได้ เป็นต้น เพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง มาตรฐานเล่มนี้กำหนดตามเกณฑ์อย่างต่ำของความปลอดภัย ในกรณีที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใดนอกเหนือจากมาตรฐานนี้ให้ทำตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นที่กำหนดไว้ นอกเหนือจากนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานออกแบบและติดตั้งนี้

มาตรฐานนี้ในส่วนระบบต้นกำลังกล่าวถึงเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลไม่รวมพลังงานอื่น ๆ เนื้อหามาตรฐานครอบคลุมเรื่องห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฐานแท่นเครื่อง ตำแหน่งติดตั้ง วัสดุและอุปกรณ์ติดตั้ง การติดตั้งทางกล การติดตั้งทางไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม การทดสอบและการบำรุง รักษา รวมถึงภาคผนวกซึ่งกล่าวถึง ผนวก ก. การใช้งาน กำลัง และคุณสมบัติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผนวก ข. การคำนวณต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผนวก ค. สิ่งแวดล้อม (Environmental) และผนวก ง. การจัดวางระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินสำหรับสถานพยาบาล วสท.

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พ.ศ. 2559

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพที่ปรับปรุง ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565- 9 มกราคม พ.ศ. 2570 “Recognized by Council of Engineers from year AD 2022 to year AD 2027”

 ขอบเขตงาน ครอบคลุม
– มาตรฐานนี้ใช้เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความเร็วรอบตั้งแต่ 1,500 รอบต่อนาทีขึ้นไป และแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 600 โวลต์ เท่านั้น รวมทั้งระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองได้ตลอดเวลา ขณะที่กระแสไฟฟ้าหลักดับหรือขัดข้อง
-เนื้อหามาตรฐานครอบคลุมเรื่องห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฐานแท่นเครื่อง ตำแหน่งติดตั้ง วัสดุและอุปกรณ์ติดตั้ง
การติดตั้งทางกล การติดตั้งทางไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม การทดสอบและการบำรุงรักษา การใช้งานกำลังและคุณสมบัติของ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  การคำนวณต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การจัดวางระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินสำหรับสถาน
พยาบาล วสท.

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร ผู้ออกแบบ ผู้ติดตั้ง วิศวกรผู้ออกแบบงานระบบไฟฟ้า เครื่องกล สิ่งแวดล้อม วิศวกรผู้ควบคุมงานและติดตั้งระบบ
วิศวกรผู้ดูแลบำรุงรักษาอาคารและระบบไฟฟ้าสำรอง เจ้าของอาคาร เจ้าของโครงการ
-เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานประกอบการ โรงพยาบาล อาคารสูง สถานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่
อาคารสำนักงานชั่วคราว โรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดที่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรได้ เป็นต้น
-ส่วนราชการที่กำกับ ควบคุม ดูแลเรื่องการใช้พลังงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
-สถานศึกษา
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง