วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาคอมพิวเตอร์ มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร พ.ศ.2565
ลดราคา!

มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร พ.ศ.2565

฿ 150.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร พ.ศ.2565
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร
รหัสมาตรฐาน วสท. 102003-22
ISBN 987-616-396-089-4
ปีที่พิมพ์ ธันวาคม พ.ศ.2565 (December 2022)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 4 MB

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีความไม่แน่นอนเป็นสรณะ มีเพียงสิ่งเดียวที่แน่นอน คือ “การเปลี่ยนแปลง” ด้านเทคโนโลยีก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา และเป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้น อาจกล่าวได้ว่า โลกมนุษย์พบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาโดยตลอด ทั้งการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย จนถึงการเปลี่ยนแปลงใหญ่ดุจคลื่นซึนามิ ที่มากระทบ จนมีผลทำให้ต้องเปลี่ยนโครงสร้างการทำธุรกิจ โครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำต้องปรับตัวในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ด้วยอัตราความเร็วในการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ กรณีของ Kodak เป็นกรณีศึกษาที่มีการกล่าวถึงกันอย่างมาก ในประเด็นของการปรับตัวที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี อันมีผลให้ถูกทำลาย (Disrupted) ในที่สุด

เทคโนโลยีแห่งการทำลายเพื่อสร้างขึ้นใหม่หรือเทคโนโลยีเปลี่ยนฉับพลัน (Disruptive Technology) ดังเช่น IoT, 5G, Cloud Technology นั้น เป็นเทคโนโลยียุคใหม่ที่จะมาทำลายธุรกิจดั้งเดิมให้สูญหายไปได้ หากธุรกิจนั้นไม่มีการปรับตัว ปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจได้คำนึงถึงเรื่องนี้ และได้มีการปรับตัวกันเป็นอันมาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อันมีภาระหน้าที่สำคัญส่วนหนึ่ง คือ การจัดทำมาตรฐานก็ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เช่นกัน จึงได้จัดทำ “มาตรฐานการบริหารโครงการในระดับองค์กร” ฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการใช้ในการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลงาน (Result) ที่ดีพอ ทั้งผลกระทบด้านการเงิน และความล่าช้าที่เกิดขึ้นในขั้นตอนงานของโครงการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่นั้น ทำให้ องค์กร ผู้ใช้งานโครงการดังกล่าวสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรได้   ซึ่งโดยรวมแล้ว การบริหารจัดการโครงการที่ไม่ดีพอจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศได้

ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน (Drafting Committee) และคณะกรรมการประจำมาตรฐาน (Standing Committee) ที่ได้สละเวลาอันมีค่าของท่านร่วมกันจัดทำมาตรฐานฉบับนี้จนสำเร็จ ด้วยความมุ่งมั่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถแข่งขันได้กับนานาอารยะประเทศ และด้วยจิตอันเป็นกุศลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงถาวรต่อไป