วันจันทร์, กันยายน 16, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาเครื่องกล มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) พ.ศ. 2565
ลดราคา!

มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) พ.ศ. 2565

฿ 285.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) พ.ศ.2565
ผู้แต่ง คณะกรรมการมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center)
รหัสมาตรฐาน วสท. 031014-22
ISBN 978-616-396-082-5
ปีที่พิมพ์ ธันวาคม พ.ศ.2565 (December2022)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 16.2 MB

 

สินค้าหมดแล้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม

       มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) พ.ศ. 2565 (วสท. 031014-22) มีเนื้อหาเรียบเรียงใหม่ทั้งฉบับมีจำนวนทั้งสิ้น 8 บท โดยพิจารณาบทที่สำคัญในงานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ตามแนวทางมาตรฐานหลายเล่ม เช่น ANSI/BICSI 002-2014 Data Center Design and Implementation Best Practice, ASHRAE 90.4-2016: Energy Standard for Data Centers (related chapters) และ ANSI/TIA-942: 2017 Telecommunications Infrastructure Standard for Data Centers Standard รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ ที่เป็นสากล เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีอยู่หลายสาขาและหลายระดับได้ใช้ศึกษา และทำความเข้าใจมาตรฐานการติดตั้ง และความปลอดภัย ในฉบับยังได้มีการเพิ่มเติมรูป ตัวอย่าง คำนิยามและคำศัพท์ รวมถึงกฎหมายที่บังคับใช้แล้ว

คณะผู้จัดทำมาตรฐาน ขอขอบคุณ คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย ภายใต้สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. ที่ได้ให้การอนุเคราะห์ให้นำบทที่ 10 ข้อกำหนดงานระบบวิศวกรรมเครื่องกล ของมาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2565 ส่วนเพิ่ม 1 (Addendum 1) และบทที่ 8 การดำเนินงานและการบำรุงรักษาดาตาเซนเตอร์ ของมาตรฐานการบริหารจัดการ การทำงานและการบำรุงรักษาในดาตาเซนเตอร์ เฉพาะในส่วนของระบบปรับอากาศให้นำไปพิจารณาปรับปรุงให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ไว้ในมาตรฐานฉบับนี้

มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Center) พ.ศ. 2565 (วสท. 031014-22) ฉบับนี้ จึงมีเนื้อหา ตัวอย่าง รูปภาพ และรายละเอียด ครบถ้วน อย่างไรก็ดีอาจจะมีข้อมูลไม่เป็นปัจจุบันบ้าง รวมถึงในอนาคตยังจำเป็นต้องปรับรายละเอียดให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและอาเซียน เพื่อให้เป็นมาตรฐานมีข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ คณะผู้จัดทำมาตรฐานพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็น และเพิ่มเติม เพื่อให้มาตรฐานมีความถูกต้องและความสมบูรณ์ที่สุดต่อไป