วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาเครื่องกล มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
ลดราคา!

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย

฿ 330.00

ขื่อหนังสือ มาตรฐานการป้องกันอัคีภัย
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
ISBN 978-974-7197-56-3
ปีที่พิมพ์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พิมพ์ครั้งที่ 3 พฤษภาคม 2559
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 110 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบรับรองจากสภาวิศวกร
(10 ม.ค 65- 9 ม.ค 70)

 

รหัสสินค้า: 10301-59 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ.2559 นี้ เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2551 เนื้อหามีการปรับปรุงจากมาตรฐานฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1  พ.ศ.2544  ดังต่อไปนี้

1.ปรับปรุงมาตรฐานอาคารและการทนไฟทั้งหมดและกำหนดประเภทอาคารตามลักษณะกิจกรรมการใช้

2.ปรับปรุงมาตรฐานระบบการป้องกันอัคคีภัยให้ทันสมัยขึ้น และเพิ่มมาตรฐานระบบดับเพลิงพิเศษ ภาคผนวก ก. การคำนวณเวลาและวิเคราะห์การอพยพออกจากอาคาร และภาคผนวก ข กรณีศึกษาจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ และภาคผนวก ค คำแนะนำในการจัดเตรียมระบบป้องกันอัคคีภัยระหว่างการก่อสร้าง

3.ปรับปรุงมาตรฐานเกี่ยวกับเส้นทางหนีไฟ

ข้อกำหนดนี้เพื่อให้วิศวกรใช้เป็นแนวทางในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบความปลอดภัยทางด้านอัคีภัย

อาคารเก่าหรืออาคารที่มีลักษณะแตกต่างจากมาตรฐานกำหนดไว้ วิศวกรสามารถทำความเข้าใจกับหลักการที่กำหนดไว้ และทำการออกแบบก่อสร้างหรือติดตั้งให้สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พิมพ์ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2559
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร  เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565-9 มกราคม พ.ศ.2570
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
ภาค 2 มาตรฐานของอาคาร ครอบคลุมการออกแบบอาคาร ในส่วนการกำหนดลักษณะ การใช้ ขนาดและความสูงของอาคาร และการเลือกประเภทของการก่อสร้างให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของอาคาร การแบ่งกั้นพื้นที่อาคารออกเป็นส่วนเพื่อป้องกันไฟลาม โดยตำแหน่งของส่วนกั้นแยกที่มีอัตราการทนไฟตามที่กำหนด และการป้องกันช่องเปิดในส่วนกั้นแยก การควบคุมวัสดุที่ใช้ทำฝ้าและผนังอาคาร  การเตรียมพื้นที่รอบอาคารเพื่ออำนวยความสะดวกในการดับเพลิง การทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการทนไฟของวัสดุหรือโครงสร้าง
ภาค 3 มาตรฐานเส้นทางหนีไฟ ครอบคลุมการออกแบบและก่อสร้างอาคารของเส้นทางหนีไฟให้มีความปลอดภัย และการซ้อมหนีไฟ
ภาค 4 มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย ครอบคลุมการดูแลรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบป้องกันฟ้าผ่า ลิฟต์พนักงานดับเพลิง ระบบสื่อสารฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบควบคุมควันไฟ ศูนย์สั่งการดับเพลิง เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ และอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
ภาค 5 มาตรฐานระบบดับเพลิง ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา การตรวจสอบ และทดสอบการทำงานของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้ทันที
ภาค 6 มาตรฐานนระบบดับเพลิงพิเศษ ครอบคลุมระบบสารสะอาดดับเพลิง ระบบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดับเพลิง ระบบโฟมดับเพลิง ระบบหัวกระจายน้ำฝอยดับเพลิง และระบบหมอกดับเพลิง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-ผู้ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคาร
-พนักงานดับเพลิง และตำรวจดับเพลิง
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-เจ้าของอาคาร และฝ่ายอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในอาคารและส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยอาคาร
รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาเครื่องกล, อัคคีภัย และความปลอดภัย สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมความปลอดภัย และการป้องกันอัคคีภัย
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุที่ใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคาร

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง