วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564
ลดราคา!

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

฿ 375.00

ขื่อหนังสือ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564
ผู้แต่ง คณะกรรมการมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย
รหัสมาตรฐาน วสท. 022001-22
ปีที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 3  เดือน ธันวาคม 2566
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิกที่นี่
ขนาด 5.10 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบการรับรองจากสภาวิศวกร (13 ก.ย.2564 – 12 ก.ย. 2569)

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ได้ใช้งานมาแล้วระยะหนึ่งนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ การติดตั้ง และมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตสายไฟฟ้าที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.11-2553 และ มอก.11 เล่ม 101-2559 ประกอบกับมีข้อบกพร่องบางประการที่ตรวจพบ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ขึ้น มาตรฐานฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ บทที่ 7 บริเวณอันตราย ซึ่งมีเนื้อหามากจึงจำเป็นต้องแยกออกเป็นอีกเล่มต่างหาก โดยในฉบับนี้จะยังคงไว้เฉพาะฉบับย่อเท่านั้น และบทที่ 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า ย้ายไปไว้ในบทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนั้นบทที่ 11 จึงว่างไว้

เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุง เมื่อ พ.ศ.2551 และ 2556 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2564 จึงอาจทำให้หลายหน่วยงานที่อ้างอิงมาตรฐานฯ นี้เกิดความสับสนว่าการอ้างอิงที่ระบุไว้แต่เดิมนั้นยังคงสามารถใช้กับมาตรฐานฯฉบับใหม่นี้ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ ปรับปรุงมาตรฐานฯ จึงมีความเห็นว่า ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานฯ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น

คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย  และสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ผลิต และผู้เชี่ยวชาญอิสระ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

มาตรฐานฉบับนี้บังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น มิได้บังคับครอบคลุมการออกแบบหรือติดตั้งของการไฟฟ้าฯ  มาตรฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นอย่างดีเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วสท.ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือความเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่ได้รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2556
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 พ.ศ.2564 พิมพ์ครั้งที่ 2)
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 – 12 กันยายน พ.ศ. 2569

“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงานครอบคลุม

  • การออกแบบและติดตั้ง อุปกรณ์ดังต่อไปนี้
  • มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า
  • ตัวนำประธาน สายป้อน วงจรย่อย
  • การต่อลงดิน
  • การเดินสายและวัสดุ
  • บริภัณฑ์ไฟฟ้า
  • บริเวณอันตราย (ฉบับย่อ)
  • สถานที่เฉพาะ
  • อาคารชุด อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ
  • บริเวณเฉพาะงาน
  • วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
  • อาคารใต้ผิวดิน
  • การติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว
  • ภาคผนวก

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร สถาปนิก ช่างไฟฟ้า ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า การอนุญาตออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานด้านไฟฟ้า
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาไฟฟ้า สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาไฟฟ้า
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-บริษัทผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องมือทางไฟฟ้า

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง