วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาโยธา มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ. 2565
ลดราคา!

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ. 2565

฿ 330.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565
ผู้แต่ง คณะทำงานมาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ 
รหัสมาตรฐาน 011038-22
ปีที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ.2565 (September 2022)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 11.1 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบการรับรองจากสภาวิศวกร
(13 มี.ค. 2566 – 12 มี.ค 2571)
รหัสสินค้า: 10125-65 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ฉบับนี้ เป็นมาตรฐานที่รวมวิธีการคำนวณออกแบบองค์อาคารเหล็กรูปพรรณด้วยวิธีกำลังที่ยอมให้ (Allowable Strength Design, ASD) และวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (Load and Resistance Factor Design, LRFD)  เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว  รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับการก่อสร้าง การติดตั้ง การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพ  ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดย American Institute of Steel Construction (AISC)  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา  การนำมาตรฐานนี้ไปใช้ในงานอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ นอกจากจะเป็นการยกระดับความสามารถของวิศวกรแล้ว  ยังจะทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพทัดเทียมระดับสากลด้วย มาตรฐานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดีจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของหลายฝ่าย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคณะทำงานร่างฯ ที่ได้สละเวลา  ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการจัดทำมาตรฐานฯ  จากกรรมการประจำมาตรฐานอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ รวมทั้งการสนับสนุนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกร

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนกันยายน ปี พ.ศ.2565

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2566
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 – 12 มีนาคม 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม

-ข้อกำหนดในการออกแบบ -การออกแบบองค์อาคารคอมโพสิต
-การออกแบบด้านเสถียรภาพ -การออกแบบรอยต่อ
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงดึง -ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับจุดต่อของเหล็กรูปท่อและเหล็กรูปกล่อง
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงอัด -ข้อพิจารณาสำหรับการออกเพื่อการใช้งานได้ดี
-การออกแบบองค์อาคารรับโมเมนต์ดัด -การประกอบชิ้นงานและการติดตั้ง
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงเฉือน -การควบคุมภาพและการประกันคุณภาพ
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงรวมและโมเมนต์บิด -ภาคผนวก ประกอบด้วย การออกแบบโดยใช้การวิเคราะห์ขั้นสูง, การออกแบบสำหรับการขังน้ำ, ความล้า, ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบโครงสร้างทนไฟ,  การประเมินโครงสร้างเดิม, การค้ำยันเพื่อเสถียรภาพขององค์อาคาร, วิธีทางเลือกการออกแบบด้านเสถียรภาพ และการวิเคราะห์ลำดับสองโดยวิธีประมาณ

      โดยมาตรฐานนี้กำหนดค่าต่ำสุดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ และการก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก รวมทั้งองค์ประกอบของโครงสร้างเฉพาะส่วนที่เป็นหลัก
     มาตรฐานนี้สามารถใช้ได้กับโครงสร้างทั่วไป สำหรับโครงสร้างชนิดพิเศษ เช่น อาคารโค้งถังเก็บวัสดุ หรือโครงสร้างที่ต้องการออกแบบให้รับน้ำหนักบรรทุกเคลื่อนที่ เช่น สะพาน เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่อยู่ในขอบข่ายจะใช้ได้ และจะต้องคำนึงถึงรายละเอียดพิเศษของโครงสร้างเป็นกรณี ๆ ไป
     มาตรฐานนี้เป็นวิธีการออกแบบโดยวิธีหน่วยแรงที่ยอมให้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับองค์อาคารเหล็กโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม วิธีการออกแบบอื่น ๆ ก็สามารถใช้ได้ หากสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือ

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร หรือหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
– สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ

-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคารเหล็กรูปพรรณ วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง