วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาโยธา มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ลดราคา!

มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

฿ 90.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการมาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
รหัสมาตรฐาน 011006-19
ISBN 978-616-396-028-3
ปีที่พิมพ์ 2562 (2019)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่https://eitstandard.com/wp-content/uploads/2019/06/10118-62-Content.pdf
ขนาด 6.5 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบการรับรองจากสภาวิศวกร
(8 พ.ค. 2566 – 7 พ.ค. 2571)
รหัสสินค้า: 10118-62 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ: ,

รายละเอียดเพิ่มเติม

          มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กฉบับนี้ได้ปรับปรุงจาก มาตรฐาน วสท. 1006-32 การปรับปรุงในครั้งนี้ได้ปรับปรุงใหม่ทั้งหมดจากเดิมที่มีอยู่ 4 ภาค เป็น 4 บทและได้เพิ่มบทที่ 3 การเขียนแบบตามมาตรฐาน มอก. และบทที่ 4 การจัดเรียงชุดของแบบและการตั้งชื่อแบบ รวมทั้งหมดเป็น 6 บท

   การปรับปรุงครั้งนี้ได้อิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการเขียนแบบก่อสร้างซึ่งได้อิงมาตรฐาน International Standard Organigation (ISO) การจัดเรียงชุดของแบบและการตั้งชื่อแบบเป็นไปตามมาตรฐานการจัดลำดับแบบก่อสร้างอาคารและรายละเอียดงานที่ควรมี มาตรฐาน วสท. 1022-51 การเขียนแบบผังองค์อาคารและการเขียนแบบรายละเอียดองค์อาคารได้อิง Standard Method of Detailing Structural Concrete และ ACI Detailing Manual

          ภาษาที่แสดงในแบบได้ใช้ทั้งสองภาษา แต่มีข้อแนะนำว่าหากเป็นงานขนาดเล็ก ซึ่งใช้ผู้รับจ้างระดับท้องถิ่น ภาษาที่แสดงในแบบควรเป็นภาษาไทย หากเป็นงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ควรใช้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากล

        มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้เป็นข้อแนะนำในการเขียนแบบรูปที่แสดงเป็นการแสดงการเขียนแบบที่ถูกต้อง  รายละเอียดการเสริมเหล็กเป็นเพียงตัวอย่างซึ่งจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางกฎหมายในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้นมิได้

มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2562

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2566

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 – 7 พฤษภาคม 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-การจัดเตรียมแบบและการเขียนแบบ
-การเขียนแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
-การตั้งชื่อและระบบการให้เลขที่แบบ
-การเขียนแบบผังองค์อาคาร
-การเขียนแบบรายละเอียดองค์อาคาร
มาตรฐานนี้ ได้กำหนดวิธีการเขียนแบบและการให้รายละเอียดที่จำเป็นต้องมีในการเขียนแบบงานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งใช้เป็นแบบก่อสร้าง

สำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กประเภทอื่น เช่น สะพาน องค์อาคารโค้ง ถังเก็บน้ำ ไซโล เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้ในส่วนที่ใช้ได้


มาตรฐานนี้ ใช้เฉพาะการเขียนแบบทางวิศวกรรมโครงสร้างตามรายการคำนวณโครงสร้าง ไม่ละเอียดถึงขั้นเป็นแบบปฏิบัติงาน (shop-drawing)


มาตรฐานนี้ ไม่รวมรายการแสดงการดัดเหล็ก (bar bending schedule)

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร หรือหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง