วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาโยธา มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
ลดราคา!

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

฿ 225.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
รหัสมาตรฐาน วสท. 012030-18
ISBN 978-616-396-019-1
ปีที่พิมพ์ 2561 (2018)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 66 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบรับรองจากสภาวิศวกร
(11 ต.ค 64 – 10 ต.ค 69)

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

ปัจจุบันงานก่อสร้างในประเทศไทยได้ก้าวรุดหน้า และเพิ่มปริมาณขึ้นมาก รวมทั้งการนำเอาเทคนิควิชาการใหม่ๆ เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร เพื่อทุ่นแรง และประหยัดเวลาในการทำงาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คือ อุบัติการณ์หรืออุบัติเหตุ ซึ่งการเกิดแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น  จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้าง  พบว่ายังมีผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงาน ผู้สัญจรผ่านบริเวณก่อสร้าง ผู้คุมงาน ฯลฯ  มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้าง  ดังนั้น การป้องกันอุบัติเหตุและการลดการเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งและให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

การปรับปรุงครั้งที่ 1 ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2560  เป็นการปรับปรุง “มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร” ฉบับ พ.ศ. 2518 โดยแก้ไขชื่อใหม่เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง” ซึ่งมีการเพิ่มขอบเขตงานจากงานอาคารเพียงอย่างเดียวเป็นเพิ่มงานอื่นๆ และแยกเป็น 4 เล่ม เช่น เล่ม 1 การจัดการทั่วไป เพิ่มเนื้อหาใหม่ทั้งเล่ม, เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร  เพิ่มเรื่องลิฟต์ขนส่งชั่วคราว เล่ม 3ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ เพิ่มเรื่องเครื่องจักรและพื้นผสมคอนกรีต  งานยกหรือเคลื่อนย้ายอาคาร งานจัดจราจรและการจัดการขนส่ง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ  เพิ่มเรื่องการทำงานในที่มีฝุ่นหรือละอองขนาดเล็ก การทำงานในที่เกิดแรงกระแทก การทำงานในที่มีแสงน้อยหรือในที่มืด และการทำงานก่อสร้างในลำน้ำและชายฝั่งทะเล

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างนี้จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ภายใต้คณะอนุกรรมการสาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยมาตรฐานเล่มนี้ เป็นมาตรฐานเล่มที่ 2 จากมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างซึ่งมี 4 เล่ม ดังนี้

มาตรฐานเล่มที่ 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป

มาตรฐานเล่มที่ 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

มาตรฐานเล่มที่ 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ

มาตรฐานเล่มที่ 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่มที่ 2 ฉบับนี้จัดทำเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างทราบถึงแนวทางปฏิบัติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการทำงานก่อสร้าง  โดยมีขอบเขตครอบคลุมในช่วงเวลาดำเนินงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้งานดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงหลักทางวิศวกรรมตามสภาพหน้างานที่อาจมีความแตกต่างจากข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในมาตรฐาน และการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ควรอยู่ในความดูแลและกำกับของวิศวกร ทั้งนี้หน่วยการวัดต่างๆ ที่ปรากฏในมาตรฐานเล่มนี้อาจมีการใช้หลายระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติที่หน้างานได้ตรงกัน

ทั้งนี้ หากผู้ใช้งานมาตรฐานมีข้อเสนอแนะ สามารถส่งข้อมูลกลับมาที่ วสท. เพื่อที่ทางคณะทำงานจะได้รวบรวมสำหรับใช้ประกอบการปรับปรุงในครั้งต่อไป

สำหรับมาตรฐาน เล่ม 3 อยู่ระหว่างเตรียมจัดพิมพ์ เร็วๆ นี้

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ.2561
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร  เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2564

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2564 – 10 ตุลาคม พ.ศ.2569
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-ข้อกำหนดทั่วไป ข้อกำหนดการใช้งาน ขั้นตอนเตรียมการและตรวจสอบ รวมถึงการรื้อถอน (หากมี) และกฎหมาย มาตรฐาน และเอกสารอ้างอิง โดยครอบคลุมเครื่องมือและเครื่องจักรด้านล่างนี้

⊕ นั่งร้าน  ⊕ บันได
⊕ ราวกันตก ขอบกันของตก และทางเดินชั่วคราวยกระดับ ⊕ แผงป้องกันวัสดุตก และป้องกันฝุ่น
⊕ ลิฟต์ขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราวในงานก่อสร้าง ⊕ ปั้นจั่น


ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกรโยธาผู้ออกแบบเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้าง บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษา
-หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน ผู้จัดการโครงการ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในไซต์งานก่อสร้างต่างๆ
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-เจ้าของโครงการก่อสร้าง และฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดหาวัสดุเพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในงานก่อสร้าง และส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยในไซต์ก่อสร้าง และการคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน หน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมและสุขาภิบาลในไซต์งานก่อสร้าง รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในงานก่อสร้าง
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาด้านการก่อสร้าง
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างด้านบนดังกล่าว

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง