วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2024
0,00 THB

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

Home หนังสือมาตรฐาน มาตรฐานสาขาโยธา มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด
ลดราคา!

มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด

฿ 250.00

ชื่อหนังสือ มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด
ผู้แต่ง คณะอนุกรรมการมาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด
รหัสมาตรฐาน วสท.011027-19
ISBN 978-616-396-018-4
ปีที่พิมพ์ 2562 (2019)
ตัวอย่าง ดูรายละเอียดสารบัญ คลิ๊กที่นี่
ขนาด 12.3 MB
การรับรองมาตรฐาน วงรอบรับรองจากสภาวิศวกร
(3 เม.ย. 2566 – 2 เม.ย 2571)

 

รหัสสินค้า: 10119-62 หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

        การคำนวณออกแบบโดยวิธี “ภาวะสุดขีด” นี้ เป็นวิวัฒนาการสืบต่อจากการออกแบบวิธีดั้งเดิม คือวิธี “อีลาสติก” เพื่อที่จะหาทางคำนวณโครงสร้างให้ได้สัดส่วนที่เล็กลง แต่ยังสามารถที่จะรับน้ำหนักใช้งานได้เท่า ๆ กับโครงสร้างแบบเดียวกับที่คำนวณโดยวิธีดั้งเดิม วิธี “ภาวะสุดขีด” เดิมเป็นมาตรฐานที่ วสท. เคยจัดพิมพ์ ซึ่งครั้งนั้น ผู้เขียน คือ ดร.สิริลักษณ์ จันทรางศุ อดีตนายก วสท. แต่เนื่องจากจัดพิมพ์มานาน ไม่มีการปรับปรุง และไม่มีจำหน่ายในร้านหนังสือของ วสท. คณะทำงานโดยอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นเป็นโอกาสดีที่จะปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวจึงได้จัดทำอีกครั้ง โดยรวบรวมจากมาตรฐานสากล และมอบลิขสิทธิ์ให้แก่ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้จัดพิมพ์ และเผยแพร่ต่อไป

        การออกแบบตามวิธี “ภาวะสุดขีด” นั้น เป็นการออกแบบสำหรับภาวะที่ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นแก่โครงสร้างนั้นได้เลย มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีดนี้ได้บรรยายให้ทราบถึงมูลฐานความเข้าใจในการออกแบบตาม รวมทั้งทฤษฎีวิธีออกแบบไว้ด้วยแล้ว โดยให้เป็นดุลยพินิจของวิศวกรในการเลือกใช้วิธีออกแบบคำนวณว่าจะใช้ตามวิธีดั้งเดิม “อีลาสติก” หรือ วิธี “ภาวะสุดขีด”หากท่านเลือกใช้วิธีใดก็ควรจะทำให้ถูกต้องตามวิธีนั้นนับตั้งแต่ต้นจนตลอดกระบวนการ และขั้นตอนของวิธีนั้น

มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2566 – 2 เม.ย 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน

–  การคำนวณออกแบบ และการตรวจสอบยืนยันสมรรถภาพที่ภาวะสุดขีดต่าง ๆ การคำนวณออกแบบจะต้องพิจารณาความปลอดภัยทางโครงสร้างในภาวะสุดขีดของกำลังประลัย

–  ข้อกำหนดวัสดุโครงสร้าง                                      –  น้ำหนักบรรทุกและแรงกระทำ

–  ความน่าเชื่อถือทางโครงสร้างและการวิเคราะห์โครงสร้าง  –  ภาวะสุดขีดประลัย

–  ภาวะสุดขีดการใช้งาน                                         –  ภาวะสุดขีดความทนทาน

–  การออกแบบองค์อาคาร                                       –  โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง

–  โครงสร้างเชิงประกอบ เหล็กกับคอนกรีต                    –  โครงสร้าง แรงอัด แรงดึง

–  รายละเอียดเหล็กเสริมทางโครงสร้าง                          

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการออกแบบโครงสร้างอาคาร
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง