มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า – ส่วนเพิ่ม (Addendum)

8154

รหัสมาตรฐาน SE 1112002-21

คณะกรรมการผู้จัดทำ
มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พ.ศ. 2564
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย ประธาน
2. ผศ.ดร.สำเริง ฮินท่าไม้ กรรมการ
3. นางสาวบุษกร แสนสุข กรรมการ
4. นายปานชนก เตมียเสน กรรมการ
5. นายศิริเดช พูลเรือง กรรมการ
ที่ปรึกษา
1. ร.อ.สุขเกษม เนืองวัง
2. ร.ท.ภาสกร สุระพิพิธ
3. รศ.ถาวร อมตกิตติ์
4. ผศ.ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูร
5. ผศ.ชายชาญ โพธิสาร
6. นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์
7. นายวรสิทธิ์ พันธุ์เกษร
8. นายเตชทัต บูรณะอัศวกุล
9. นาย ณ พงษ์ สุขสงวน
10. นายดนัย ลี้ทรงศักดิ์
11. นายบุญเหนือ พึ่งศิริ
12. นายประสิทธิ์ พิทยพัฒน์
13. นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์
14. นายลือชัย ทองนิล
15. นายวินัย อนันต์ณัฎฐพงศ์
16. นายวิทยา รักษ์พงษ์
17. นายสมบูรณ์ ธนาภรณ์
18. นายสุพัฒน์ เพ็งมาก
19. นายอภิเชษฐ บันลือนุชรี
20. นายอารักษ์ บุญมา
คณะกรรมการร่างมาตรฐาน
1. นายธวัช มีชัย ประธาน
2. นายเกษม นิลเจริญ กรรมการ
3. นายชุมพล ตั้งสุขสบายดี กรรมการ
4. นายธรรมนูญ เรียมอมตกุล กรรมการ
5. นายนราธิป ศิริมาศ กรรมการ
6. นายปรเมศวร์ เรืองหนู กรรมการ
7. นายพรชัย บรรจงใหม่ กรรมการ
8. นายพิชิต ลำยอง กรรมการ
9. นายวิเชียร บุษยบัณฑูร กรรมการ
10. นายสุชาติ จงควินิต กรรมการ
11. นายสุวิทย์ ศรีสุข กรรมการ
12. นายอภิวัฒน์ บัญชาจารุรัตน์ กรรมการ
13. นายธัมรัต พรหมเพ็ญรังษี กรรมการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าส่วนเพิ่มนี้เป็นส่วนที่เพิ่มจากมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า วสท. 112002-59 เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางดิจิทัล  เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มาตรฐานในส่วนเพิ่มเติมนี้ครอบคลุมการประยุกต์ใช้งานหลัก 3 แบบ คือ ดาตาเซนเตอร์ สถานพยาบาล และสนามบิน

คณะกรรมการผู้จัดทำมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงได้จัดทำมาตรฐานหมวดที่ 2 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับดาตาเซนเตอร์ หมวดที่ 3 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับสถานพยาบาล และหมวดที่ 4 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับสนามบิน  แยกออกมาจากเล่มเดิมก่อน สำหรับมาตรฐานฉบับปัจจุบันจะได้ดำเนินการปรับปรุงให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้นต่อไป และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้นำมารวมเล่มและกำหนดให้เป็นหมวดที่ 1 โดยสรุปภายในเล่มรวมจะประกอบด้วยมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าครบทั้ง 4 หมวด ดังนี้

–    หมวด 1 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับอาคารทั่วไป

–    หมวด 2 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับดาตาเซนเตอร์

–    หมวด 3 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับสถานพยาบาล

–    หมวด 4 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับสนามบิน

 

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้ เป็นมาตรฐานที่ใช้เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมทั้งระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองได้ตลอดเวลาขณะกระแสไฟฟ้าหลักดับหรือขัดข้อง โดยมาตรฐานส่วนเพิ่มเติมนี้ประกอบด้วย

–    หมวด 2 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับดาตาเซนเตอร์

–    หมวด 3 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับสถานพยาบาล

–    หมวด 4 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับสนามบิน

ในกรณีที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใด นอกเหนือจากมาตรฐานนี้ให้ทำตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นที่กำหนดไว้ นอกเหนือจากนั้นด้วย

มาตรฐานนี้ครอบคลุมถึงข้อกำหนดขั้นต่ำในการออกแบบ การติดตั้ง การทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงการทดสอบ การบำรุงรักษา และภาคผนวก ทั้งยังประกอบด้วยนิยามที่เพิ่มเติมสอดคล้องกับเนื้อหาด้วย และตัวอย่างตารางการบันทึกข้อมูลในการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อการส่งมอบงาน (acceptance test) และการทดสอบระหว่างการใช้งาน (operational test) ตัวอย่างตารางการบันทึกข้อมูลในการทดสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ทำงานขนานกันซึ่งอนุญาตให้นำไปอ้างอิงใช้งานได้  ทั้งยังมีข้อแนะนำเพิ่มเติมในการทดสอบและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้าจำเป็น (essential) รวมทั้งข้อเสนอแนะรูปแบบในการจัดทำรายการที่รองรับด้วยระบบไฟฟ้าจำเป็นสำหรับโรงพยาบาล

   มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ฉบับนี้เป็นส่วนเพิ่ม (Addendum)

พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564

                                             มีจำหน่ายแบบออนไลน์และเล่ม

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ งานขุด ตัก ขนด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน
บทความถัดไปแนวปฏิบัติเพื่อการออกแบบอาคารเหล็กสำเร็จรูปสำหรับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า