รหัสมาตรฐาน CP 102002-19 มาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์
ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทความสำคัญต่อการพลิกฟื้น ปรับปรุง และยกระดับ ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ภาคธุรกิจได้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลในการที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและมุ่งสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ปรกติ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ อาทิ การบริการแบบคลาวด์ มาประยุกต์ใช้ให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้นั้น ควรมีรูปแบบหรือมาตรฐานปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้งานและประกอบการทำธุรกิจให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วัตถุประสงค์ของการจัดทำมาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์ฉบับนี้ คือเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ใช้และผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแบบคลาวด์ในประเทศไทยให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน และจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการดำเนินงานและทำธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ในมาตรฐานปฏิบัติฉบับนี้ได้เน้นการให้บริการแบบคลาวด์ ที่เรียกว่า การให้บริการซอฟต์แวร์ (Software as a Service: SaaS) เป็นหลัก
เนื้อหาภายในมาตรฐานปฏิบัติจะเป็นภาพรวมของการให้บริการแบบคลาวด์ที่ครอบคลุมในประเด็น ลักษณะงานและการให้บริการแบบคลาวด์ในประเทศไทย งานบริการแบบคลาวด์ในแต่ละประเภทธุรกิจ วุฒิภาวะการให้บริการแบบคลาวด์และการประเมินความพร้อมของผู้ให้บริการแบบคลาวด์ ข้อควรพิจารณาในการใช้บริการแบบคลาวด์ ขั้นตอนการขอใช้บริการแบบคลาวด์ การกำหนดระดับความสามารถในการให้บริการแบบคลาวด์ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ให้บริการแบบคลาวด์
คณะผู้จัดทำมาตรฐานปฏิบัติฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรฐานปฏิบัติฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นกรอบการทำงานที่เป็นหลักการปฏิบัติและมาตรฐานการปฏิบัติร่วมกัน หากผู้ใช้หรือผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแบบคลาวด์ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมหรือพบข้อบกพร่อง กรุณาแจ้งไปยังคณะผู้จัดทำมาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์เพื่อการปรับปรุงในครั้งต่อไป
มาตรฐานฉบับนี้เป็นมาตรฐาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เล็งเห็นถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลจะถูกหลอมรวมและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital Transformation) ที่อาศัยการบริการแบบคลาวด์นั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การค้า การบริการ และกระบวนการทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับรัฐบาลได้เอื้ออำนวยประโยชน์สิทธิทางภาษี โดยอาศัยประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment of Thailand: BOI) ที่กำหนดให้มีการส่งเสริมการลงทุน ประเภท 7.10 การให้บริการแบบคลาวด์ (Cloud Services) ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยมีเงื่อนไขตามที่กำหนดภายใต้การใช้มาตรฐานปฏิบัติการให้บริการแบบคลาวด์ (Cloud Services Standard of Practice) ฉบับนี้เป็นคู่มือ
แท้จริงแล้ว การบริการแบบคลาวด์ (Cloud Services) จะพลิกโฉมการทำงานและการทำธุรกิจ ในยุคดิจิทัลอย่างสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การทำงานแบบคลาวด์นั้น จะทำงานร่วมกันได้ทั้งระบบทั้งข้อมูล โปรแกรม และฮาร์ดแวร์ การเคลื่อนย้ายโปรแกรมและข้อมูลจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง รวมทั้ง การบริหารจัดการการเข้าถึงและเชื่อมต่อข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สำคัญอย่างยิ่งนั้นคือต้องมีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยกำกับไว้ในระบบบริการแบบคลาวด์ด้วย
อย่างไรก็ดี เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีความพร้อมรับต่อกระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล อีกทั้ง เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไปนั้น คณะผู้จัดทำมาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์จึงมีความเห็นว่าสมควรที่จะได้มีการพัฒนามาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์ เพื่อผู้ใช้และผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแบบคลาวด์สามารถใช้เป็นแนวทางหรือหลักอ้างอิงในการปฏิบัติซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกและมีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจอันส่งผลต่อการเจริญเติบโตและมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับประเทศต่อไป
–กำหนดปรับปรุงภายใน 5 ปี–
คณะอนุกรรมการ
มาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์
พ.ศ. 2561
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน (Standing Committee)
1. พ.อ.ดร.สมเกียรติ สัมพันธ์ ที่ปรึกษา
2. น.ต.วิรัตน์ พึ่งสาระ ที่ปรึกษา
3. ศ.ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ที่ปรึกษา
4. ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ที่ปรึกษา
5. ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ ที่ปรึกษา
6. ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ที่ปรึกษา
7. ดร.พิศาล จอโภชาอุดม ที่ปรึกษา
8. ดร.พีรวัฒน์ วัฒนพงศ์ ที่ปรึกษา
9. ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ที่ปรึกษา
10. ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษา
11. ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน ที่ปรึกษา
12. ดร.รัชดา เจียสกุล ที่ปรึกษา
13. นางเมธินี เทพมณี ที่ปรึกษา
14. นายไชยเจริญ อติแพทย์ ที่ปรึกษา
15. นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ที่ปรึกษา
16. นายวิทมนต์ ภริตานนท์ ที่ปรึกษา
17. นายสุเมธ อักษรกิตติ์ ที่ปรึกษา
18. นายอนุศักดิ์ ธีระเรืองไชยศรี ที่ปรึกษา
19. น.อ.ศ.ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง ประธาน
20. ดร.คเณศ คัจฉสุวรรณมณี กรรมการ
21. ดร.รัฐนันทน์ นันทิยะกุล กรรมการ
22. ดร.อดิศักดิ์ ศรีนครินทร์ กรรมการ
23. นายเกรียงไกร ภูวณิชย์ กรรมการ
24. นายชัยพร ทบแป กรรมการ
25. นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการ
26. นายนริส อุไรพันธ์ กรรมการ
27. นายเพชรไพฑูรย์ กรุงวงศ์ กรรมการ
28. นายยิ่งศักดิ์ ศรีสุขสวัสดิ์ กรรมการ
29. นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล กรรมการ
30. นายวิง แซ่เหวียน กรรมการ
31. นายศรายุทธ ฉายสุริยะ กรรมการ
32. นายเอกฉัตร บ่ายคล้อย กรรมการ
33. ร.อ.พีรพงษ์ วสิษฐ์ธำรงค์ กรรมการและเลขานุการ
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน (Drafting Committee)
1. น.อ.ศ.ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง ที่ปรึกษา
2. น.ต.วิรัตน์ พึ่งสาระ ที่ปรึกษา
3. ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ที่ปรึกษา
4. ดร.ศุภเชษฐ์ เพิ่มพูนวัฒนาสุข ที่ปรึกษา
5. ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษา
6. ดร.พจนันท์ รัตนไชยพันธ์ ที่ปรึกษา
7. นายกระมล พูลเกษ ที่ปรึกษา
8. นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ ที่ปรึกษา
9. นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ ที่ปรึกษา
10. นายกุมโชค ใบแย้ม ที่ปรึกษา
11. นายกุศลมงคล สุวรรณกูฏ ที่ปรึกษา
12. นายโฆษิต สุขสิงห์ ที่ปรึกษา
13. นางสาวชลิตา เรือนคำ ที่ปรึกษา
14. นายณรงค์ศักดิ์ บุลสุวรรณ ที่ปรึกษา
15. นายต้อง ศรีคชา ที่ปรึกษา
16. นายทินกร อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา
17. นายธีรวัฒน์ อิสสริยะกุล ที่ปรึกษา
18. นายนรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล ที่ปรึกษา
19. นางสาวนันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ที่ปรึกษา
20. นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ที่ปรึกษา
21. นายพิพัฒน์ เอี่ยมชีรางกูร ที่ปรึกษา
22. นายไพศาล สินธพ ที่ปรึกษา
23. นายเรือรบ ติยะชาติ ที่ปรึกษา
24. นางสาววารุณี เรืองกิจวณิชกุล ที่ปรึกษา
25. นายวิจิตร เพิ่มเพียรเสถียรติ ที่ปรึกษา
26. นางสาววิราภรณ์ นึกรัก ที่ปรึกษา
27. นายสาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล ที่ปรึกษา
28. นายสิรวิชญ์ เจริญธรรมพจน์ ที่ปรึกษา
29. นายสุเมธ ฤทธิมโนมัย ที่ปรึกษา
30. นายสุรเชษฐ์ ศรีพลกรัง ที่ปรึกษา
31. นายสุรวี น้ำหอม ที่ปรึกษา
32. นายสุวัฒน์ หลายเจริญทรัพย์ ที่ปรึกษา
33. นายอรรถวุฒิ คำประดิษฐ์ ที่ปรึกษา
34. นายเอกอนันต์ ทองแท้ ที่ปรึกษา
35. ดร.เชียรช่วง กัลยาณมิตร ประธาน
36. รศ.ดร.สุชาย ธนวเสถียร อนุกรรมการ
37. ดร.ขจรศักดิ์ สังข์เจริญ อนุกรรมการ
38. ม.ร.ว.นงคราญ ชมพูนุท อนุกรรมการ
39. นายเกรียงไกร ภูวณิชย์ อนุกรรมการ
40. นายเกียรติศักดิ์ วงศ์ประเสริฐ อนุกรรมการ
41. นายเขมรัฐ โชคมั่งมี อนุกรรมการ
42. นางสาวจีรณา น้อยมณี อนุกรรมการ
43. นายดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี อนุกรรมการ
44. นายทรงศิลป์ แพเจริญ อนุกรรมการ
45. นายวิทมนต์ ภริตานนท์ อนุกรรมการ
46. นายศิริโชติ สิงห์ษา อนุกรรมการ
47. นางสาวอารีย์ ชนะกิจการชัย อนุกรรมการ
48. Mr.Allan Rasmussen อนุกรรมการ
49. นางสาวมาลี ด่านสิริสันติ อนุกรรมการและเลขานุการ