มาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ งานขุด ตัก ขนด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน

7409

รหัสมาตรฐาน MN 062002-20

 มาตรฐานฉบับนี้ประกอบด้วยความรู้พื้นฐานความปลอดภัยโดยทั่วไป แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในงานเหมือง ในแต่ละลักษณะงานที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหลากหลายชนิด ในเรื่องของการบริหารจัดการความปลอดภัย การบำรุงรักษาและตรวจสภาพด้านความปลอดภัยของเครื่องจักรกลหนัก การใช้งานเครื่องจักรกลหนักที่ถูกต้อง การใช้กฎจราจรและป้ายต่างๆ การออกแบบถนน ที่จอดรถ พื้นที่ปฏิบัติงานขุด ตัก ขน ให้มีความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนการสื่อสารและการเตรียมความพร้อมในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อชี้แจงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ การอบรมพนักงานใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และเป็นความรู้ด้านความปลอดภัยแก่ผู้สนใจโดยทั่วไป การทำงานของวิศวกรวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองผิวดิน หรือเหมืองเปิด ซึ่งใช้เครื่องจักรหลากหลายชนิดในการทำงาน จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยในการทำงานสูง จากสถิติอุบัติเหตุที่ผ่านมา พบว่าการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักรกลหนัก ประเภท รถขุด รถตักและรถบรรทุกหนัก มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในลำดับต้นๆ ทั้งอุบัติเหตุด้านบุคคลซึ่งมีความรุนแรงจนถึงขั้นการสูญเสียชีวิต ส่วนอุบัติเหตุทางด้านทรัพย์สินมีระดับรุนแรงมูลค่าความสูญเสียที่สูง เช่น มีรถบรรทุกพลิกคว่ำ ตกเขา หรือเหยียบรถขนาดเล็กจนแบนติดพื้นถนน จากสาเหตุที่สำคัญพบว่า การกำหนดมาตรการในการปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงาน ยังขาดมาตรฐานความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางสำหรับวิศวกรวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่

   ฉบับนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2563

                                             มีจำหน่ายแบบออนไลน์เท่านั้น

รายนามคณะกรรมการ
มาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่
งานขุด ตัก ขน ด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน
 คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. นายสุรชัย พรจินดาโชติ ประธาน
2. นายศักดิ์สิทธิ์ บุญนำ กรรมการ
3. นายสหาย รักเหย้า กรรมการ
4. นายอนุพงศ์ โรจน์สุพจน์ กรรมการ
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน
1. นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ ประธาน
2. นายไพรัตน์ เจริญกิจ อนุกรรมการ
3. นายสมเกียรติ เพิงแก้ว อนุกรรมการ
4. นายขันติทัต ทองสุก อนุกรรมการ
5. นางสาวศิราภรณ์ บัวเจตธรรม เลขานุการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานตู้รถไฟ/ตู้รถไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ส่วนที่ 1 : ตู้รถโดยสาร
บทความถัดไปมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า – ส่วนเพิ่ม (Addendum)