มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

4204

รหัสมาตรฐาน IE 043002-19 มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

คณะทำงานจัดทำมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้จัดทำมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้น เพื่อรองรับภารกิจในการปฏิบัติงานด้านการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม โดยรวบรวมจากกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รวมถึงหลักการ และมาตรฐานต่าง ๆ แล้วปรับปรุงให้เหมาะสม

มาตรฐานนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางอ้างอิงในการดำเนินงานด้านการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งผู้ใช้มาตรฐานต้องศึกษาทำความเข้าใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงในสาระของกฎหมายและมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้องรวมถึงติดตามการปรับปรุงมาตรฐานเหล่านี้ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคุณภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งคณะทำงานจัดทำมาตรฐานคาดหวังว่าผู้ใช้งานจะได้ศึกษาจากแหล่งอื่นๆเพิ่มเติม รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้กับหน่วยงานของตนต่อไป

ฉบับนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2562

(ฉบับปัจจุบัน) มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมเล่มนี้ นับเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 1 ฉบับพิมพ์ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมาตรฐานนี้ รวบรวมจากกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 รวมถึงหลักการ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมที่ทันสมัย มีการอ้างอิงกับมาตรฐานสากล OSHA ทั้งนี้ประกอบด้วยกระบวนการจัดทำเทคนิคพิจารณ์เพื่อประเมิน/ตรวจสอบมาตรฐาน และมีการแก้ไขให้สมบูรณ์ตามผลการทำเทคนิคพิจารณ์นั้นก่อนการเผยแพร

มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จัดทำขึ้นเพื่อรองรับภารกิจในการปฏิบัติงานด้านการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นมาตรฐานอ้างอิงและเผยแพร่แก่ผู้ใช้ที่ทำงานด้านงานอำนวยการใช้ด้านความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อเผยแพร แก่ผู้สนใจทั่วไป

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

เนื่องจากมาตรฐานเล่มนี้ เพิ่งแล้วเสร็จเมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2562 มาตรฐานจึงยังทันสมัยใช้งานได้ โดยมีแผนการปรับปรุงเมื่อมีการ Up date กฎหมาย มาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการความปลอดภัยในโรงงาน

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

รายนามคณะกรรมการร่างมาตรฐานการบริหารความปลอดภัย
ในโรงงานอุตสาหกรรม
พ.ศ.2561
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. รศ.ดร.ยุทธชัย บรรเทิงจิตร กรรมการ
2. ผศ.สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์ กรรมการ
3. นายอภิวัฒน์ เธียรพิรากุล กรรมการ
4. ผศ.พิศิษฐ์ แสง-ชูโต กรรมการ
5. นายรัชตะ พันธุ์เพ็ง กรรมการ
6. รศ.ดร.ประจวบ กล่อมจิตร กรรมการและเลขานุการ
คณะทำงานร่างมาตรฐาน
1. รศ.ดร.ประจวบ กล่อมจิตร ประธาน
2. นายอภิวัฒน์ เธียรพิรากุล คณะทำงาน
3. นายณรงค์ชัย แจ่มจำรัส คณะทำงาน
4. ผศ.รติรัตน์ กิตติปัญญาพัฒน์ คณะทำงาน
5. ผศ.ดร.คณิศร ภูนิคม คณะทำงาน
6. ผศ.ดร.รณชัย ศิโรเวฐนุกูล คณะทำงาน
7. นายวิทยา รัตนสุภา คณะทำงาน
8. ผศ.ดร.เจริญชัย โขมพัตราภรณ์ คณะทำงาน
9. อ.เกษรินทร์ พูลทรัพย์ คณะทำงาน
10. นางสาวศศิธร จันทร์เทียน คณะทำงาน
11. นายอดินันต์ พิเชียรโสภณ คณะทำงาน
12. พันเอกทองคำ ชุมพล คณะทำงาน
13. ผศ.ดร.สุพัฒตรา เกษราพงศ์ อนุกรรมการและเลขานุการ

มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2565 – 7 สิงหาคม 2570
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน พระราชบัญญัติโรงงาน หลักการและมาตรฐานต่างๆ ที่มีความสอดคล้องกับกฎหมายและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมที่ทันสมัย
-การบริหารความปลอดภัยระดับนโยบาย
-อาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
-ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
-เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การทำงาน
-ระบบไฟฟ้า และการป้องกันและระงับอัคคีภัย
-สารเคมีและสารอันตรายที่เป็นพิษ
-ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
-การประเมินความเสี่ยง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้

  • วิศวกร สถาปนิก
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม และผู้เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
  • กรมโรงงานอุตสาหกรรม และส่วนราชการที่กำกับ ควบคุม ดูแลการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาอุตสาหการ สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
  • สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม
    ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
บทความถัดไปมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป