มาตรฐานการควบคุมควันไฟ

15734

รหัสมาตรฐาน ME 032009-19 มาตรฐานการควบคุมควันไฟ

มาตรฐานการควบคุมควันไฟ ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2562 มีการปรับเนื้อหาจากเดิมของฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2545 ดังนี้ แยกระบบอัดอากาศกับระบบระบายอากาศออกจากกันอย่างชัดเจน ตัดเรื่องการปิดช่องเพื่อป้องกันไฟลามออก  ปรับเนื้อหาให้ทันสมัย และสอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกำหนด กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพิ่มรูปประกอบเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เพิ่มข้อกำหนดการติดตั้งของการควบคุมควันไฟทั้งสองระบบ และ คุณลักษณะที่ต้องการของระบบและอุปกรณ์  เนื้อหาในส่วนการตรวจสอบและทดสอบระบบเพิ่มเรื่องการตรวจสอบส่วนประกอบอาคารเบื้องต้น และเพิ่มการทดสอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบทั้งสองแบบ เพิ่มลำดับขั้นการตรวจสอบ และทดสอบ เพิ่มการทดสอบแรงผลักประตู เพิ่มเนื้อหาการบำรุงรักษาระบบ และการจัดเก็บเอกสารระบบ ส่วนภาคผนวกมีการปรับส่วนที่ซ้ำหรือไม่ใช้งานออก และปรับรูปประกอบให้ชัดเจนขึ้น

มาตรฐานฉบับก่อนหน้า เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2550 โดยมีการปรับปรุงใหญ่เมื่อปี 2545 โดย ประธาน รศ.ฤชากร  จิรกาลวสาน นำทีมปรับปรุง โดยการร่างอาศัยกฎหมายและข้อมูลที่มีในยุคนั้น มีการแบ่งมาตรฐานออกเป็น 6 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 ระบบควบคุมควันไฟ

หมวดที่ 2 การทำงานของระบบควบคุมควันไฟกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง

หมวดที่ 3 อุปกรณ์ประกอบ และการติดตั้งระบบควบคุมควันไฟ

หมวดที่ 4 การทดสอบระบบควบคุมควันไฟ

หมวดที่ 5 การปิดช่องท่อเพื่อป้องกันไฟลาม

หมวดที่ 6 ภาคผนวก ทฤษฎีการควบคุมควันไฟ

มาตรฐานฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2562 เป็นฉบับที่แก้ไขปรับปรุง โดยมี นางสาวบุษกร  แสนสุข เป็นประธานคณะดำเนินการปรับปรุง และมี รศ.ฤชากร  จิรกาลวสาน เป็นประธานคณะกรรมการประจำมาตรฐาน ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจรับรองมาตรฐานก่อนเผยแพร่  มาตรฐานฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 นี้มีการแบ่งเนื้อหาดังนี้

ภาคที่ 1 นิยาม

ภาคที่ 2 มาตรฐานระบบอัดอากาศ

ภาคที่ 3 มาตรฐานระบบระบายควันไฟ

ภาคผนวก ก ทฤษฎีการควบคุมควันไฟ

  • ระยะเวลาดำเนินการ

  • มาตรฐานฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2562  เพิ่งปรับปรุงและพิมพ์จำหน่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ยังไม่มีแผนปรับปรุงใหม่

Next Edition ตามนโยบายจะปรับปรุงมาตรฐานเมื่อครบกำหนดทบทวน 5 ปี หลังพิมพ์จำหน่าย หรือมีการ UP DATE ของกฎหมาย มาตรฐาน หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงและกระทบต่อสาระสำคัญของมาตรฐาน

รายนามคณะผู้จัดทำร่างมาตรฐานการควบคุมควันไฟ

แก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2558-2562)

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1.รศ.ฤชากร จิรกาลวสาน ประธาน
2.นายสินิทธิ์ บุญสิทธิ์ กรรมการ
3.ดร.พิชญะ จันทรานุวัฒน์ กรรมการ
4.นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย กรรมการ
5.ผศ.ดร.ณัฐศักดิ์ บุญมี กรรมการ
6.นางสาวบุษกร แสนสุข กรรมการและเลขานุการ
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน
1.นางสาวบุษกร แสนสุข ประธาน
2.นายรัตนชัย รัศมีเวสารัช อนุกรรมการ
3.นายประพุธ พงษ์เลาหพันธุ์ อนุกรรมการ
4.นายประชานาถ เนียมนำ อนุกรรมการ
5.นายวุธชิรา แจ้งประจักษ์ อนุกรรมการ
6.นายจิรวัฒน์ วงศ์ข้าหลวง อนุกรรมการ
7.ผศ.ดร.พลกฤต กฤชไมตรี อนุกรรมการ
8.นายปิติ อนนตพันธ์ อนุกรรมการ
9.นายจุลดิษย์ จายนียโยธิน อนุกรรมการและเลขานุการ
10.นางสาวสโรชา มัฌชิโม ผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรฐานการควบคุมควันไฟ
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร  เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565-9 มกราคม พ.ศ.2570
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-ข้อกำหนดการออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบอัดอากาศเพื่อควบคุมควันไฟสำหรับบันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิงสำหรับทุกอาคารที่มีระบบนี้ติดตั้งอยู่ เพื่อให้ระบบอัดอากาศมีประสิทธิภาพในการป้องกันควันไหลเข้าสู่บันไดหนีไฟและโถงลิฟต์ดับเพลิงหรือพื้นที่ปลอดควัน
-ข้อกำหนดการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบระบายควันไฟที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการควบคุมการแพร่กระจายควันไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานอาคารและสะดวกต่อพนักงานดับเพลิงในการเข้าถึงจุดต้นเพลิง หรือสามารถช่วยเหลือผู้ใช้อาคารที่ติดค้างอยู่ภายในได้สะดวก

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-ผู้ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคาร
-พนักงานดับเพลิง และตำรวจดับเพลิง
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-เจ้าของอาคาร และฝ่ายอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในอาคารและส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยอาคาร  รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาเครื่องกล, อัคคีภัย และความปลอดภัย สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมความปลอดภัย และการป้องกันอัคคีภัย
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุที่ใช้ในระบบการควบคุมควันไฟของอาคาร

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานระบบเครื่องกลขนส่งในอาคาร
บทความถัดไปเทคนิคพิจารณ์ “มาตรฐานความปลอดภัยการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเหมืองแร่-งานขุด ตัก ขน ด้วยเครื่องจักรกลหนักในพื้นที่หน้าเหมืองผิวดิน และมาตรฐานความปลอดภัยในงานเจาะระเบิดอุโมงค์ในหินแข็ง”