มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ

12156

รหัสมาตรฐาน ME 10302-64 มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ

ในปี พ.ศ. 2564 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการปรับปรุงเกณฑ์กำหนดการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและทันสมัย และสอดรับกับข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2561 โดยเปลี่ยนชื่อเป็น เกณฑ์กำหนดการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม ฉบับแก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564 ขึ้น เพื่อให้สาขาวิศวกรรมที่มีการจัดทำมาตรฐานได้ใช้อ้างอิง และเพื่อความเป็นเอกภาพของมาตรฐาน วสท. เพื่อนำไปสู่การประกาศใช้และอ้างอิงเป็นมาตรฐานระดับชาติและระดับสากลต่อไป ส่วนหนึ่งได้แก้ไขรหัสปีที่เคยใช้สองเลขท้ายของปีพุทธศักราชเป็นสองเลขที่ของปีคริสต์ศักราช

ในการปรับปรุงครั้งที่ 4 จึงได้แก้ไขสองเลขท้ายของปีพุทธศักราชมาเป็นสองเลขที่ของปีคริสต์ศักราช จากเดิมรหัส วสท. 0313001-59 เป็น 031001-21 และ EIT 031001-16 เป็น 031001-21

ในการปรับปรุงฉบับที่ 4 ได้ใช้โอกาสปรับแก้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทั้งจากกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดค่าประสิทธิภาพพลังงาน หน่วยงานทดสอบหาค่าประสิทธิภาพพลังงาน มาตรฐานและวิธีการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องทำน้ำเย็นสำหรับเครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงกำหนดเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. 2552 รวมทั้งฉลากประหยัดพลังงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ปี 2011 เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้แก้ไขและเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง

  • ระยะเวลาดำเนินการ

  • มาตรฐานเพิ่งปรับปรุงและพิมพ์จำหน่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ยังไม่มีแผนปรับปรุงใหม่

มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ มีการปรับให้ทันสมัยมาแล้วจำนวน 5 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ปี พ.ศ. ชื่อ รหัส
2518 มาตรฐานระบบเครื่องทำความเย็นและอุปกรณ์ และ

มาตรฐานการติดตั้งระบบปรับภาวะอากาศ

วสท. 3001-18
2540 มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วสท. 3001-2540
2550 มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วสท. 3001-2550
2559 มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วสท. 031001-59
2564 มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วสท. 031001-21

มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 พึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 จึงยังไม่มีการปรับปรุง

คณะผู้จัดทำมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
พ.ศ. 2557 – 2559

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. นายวิชัย ลักษณาการ ประธาน
2. นายเกษม อภินันทกุล กรรมการ
3. นายชัชวาล คุณค้ำชู กรรมการ
4. ดร.เชิดพันธ์ วิทูราภรณ์ กรรมการ
5. นายมานิตย์ กู้ธนพัฒน์ กรรมการ
อนุกรรมการร่างมาตรฐาน
1. นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย ประธาน
2. นายประพุธ พงษ์เลาหพันธ์ อนุกรรมการ
3. นายธวัชชัย เสถียรรัตนกุล อนุกรรมการ
4. นายกรวิชญ์ เลิศสุโภชวณิชยํ อนุกรรมการ
5. นายวุฒิชัย แก้วโพโรจน์ อนุกรรมการ
6. นายทรงยศ ภารดี อนุกรรมการ
7. นายทศพล สถิตย์สุวงศ์กุล อนุกรรมการ
8. นายอรรณพ กิ่งขจี อนุกรรมการ
9. นายวิเชียร บุษยบัณฑูร อนุกรรมการ
10. นางสาวบุษกร แสนสุข อนุกรรมการ

มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) พ.ศ. 2559
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้ เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564)

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพที่ปรับปรุง ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566- 12 มีนาคม พ.ศ. 2571 “Recognized by Council of Engineers from year AD 2023 to year AD 2028”

 ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-การออกแบบ การก่อสร้าง การติดตั้ง การปฏิบัติงาน การอำนวยการใช้ การบำรุงรักษา การปรับปรุง
  การดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย การอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบความปลอดภัย และการเพิ่มเติมระบบปรับอากาศ
และระบายอากาศทุกประเภท ยกเว้นระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่เคลื่อนที่ได้
-มาตรฐานไม่ปิดกั้นเทคโนโลยีการออกแบบ การก่อสร้าง การดูแลรักษา ซึ่งครอบคลุมถึงวัสดุ อุปกรณ์ ระบบ และวิธีการที่เหมาะสมกว่า โดยการพิสูจน์และรับรองได้ว่าดีกว่า หรือเทียบเท่ากับข้อกำหนดต่างๆ ในมาตรฐานนี้

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ออกแบบระบบ ผู้ติดตั้ง ผู้รับเหมา ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ใช้ เจ้าของอาคาร เจ้าของโครงการ
และหน่วยงานต่าง ๆ สถานประกอบการ โรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารอยู่อาศัย อาคารพาณิชย์
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ และดูแลความสะดวกสบายของผู้ใช้งานอาคาร  รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
-นักวิชาการ นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาเครื่องกล สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชางานระบบอาคาร
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้ศัพท์วิทยาการพลังงาน
บทความถัดไปมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ