มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

38763

รหัสมาตรฐาน EE 022001-22 มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ได้ใช้งานมาแล้วระยะหนึ่งนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ การติดตั้ง และมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตสายไฟฟ้าที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.11-2553 และ มอก.11 เล่ม 101-2559 ประกอบกับมีข้อบกพร่องบางประการที่ตรวจพบ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ขึ้น มาตรฐานฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ บทที่ 7 บริเวณอันตราย ซึ่งมีเนื้อหามากจึงจำเป็นต้องแยกออกเป็นอีกเล่มต่างหาก โดยในฉบับนี้จะยังคงไว้เฉพาะฉบับย่อเท่านั้น และบทที่ 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า ย้ายไปไว้ในบทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนั้นบทที่ 11 จึงว่างไว้

เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุง เมื่อ พ.ศ.2551 และ 2556 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2564 จึงอาจทำให้หลายหน่วยงานที่อ้างอิงมาตรฐานฯ นี้เกิดความสับสนว่าการอ้างอิงที่ระบุไว้แต่เดิมนั้นยังคงสามารถใช้กับมาตรฐานฯฉบับใหม่นี้ได้หรือไม่ คณะกรรมการฯ ปรับปรุงมาตรฐานฯ จึงมีความเห็นว่า ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานฯ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น

คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงานเช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย  และสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้ผลิต และผู้เชี่ยวชาญอิสระ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

มาตรฐานฉบับนี้บังคับใช้เฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น มิได้บังคับครอบคลุมการออกแบบหรือติดตั้งของการไฟฟ้าฯ  มาตรฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นอย่างดีเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วสท.ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือความเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่ได้รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้

ฉบับก่อนหน้า ฉบับพิมพ์ครั้งแรก โดยตีพิมพ์เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ฉบับปัจจุบัน  เป็นฉบับที่ปรับปรุงครั้งที่ 2 โดยเป็นฉบับพิมพ์เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2565

ประเด็นสำคัญของการปรับปรุงมาตรฐาน ฉบับ พ.ศ.2565 มีดังนี้

 

  1. มาตรฐานฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ บทที่ 7 บริเวณอันตราย ซึ่งมีเนื้อหามากจึงจำเป็นต้องแยกออกเป็นอีกเล่มต่างหาก โดยในฉบับนี้จะยังคงไว้เฉพาะฉบับย่อเท่านั้น
  2. บทที่ 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า ย้ายไปไว้ในบทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนั้นบทที่ 11 จึงว่างไว้
  3. ปรับปรุงบทที่ 3 บทที่ 5 ให้สอดคล้องกับมาตรฐานอ้างอิงในปัจจุบัน และมีตารางสายไฟ กระแสไฟฟ้าตรง

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 ฉบับก่อนหน้า ตีพิมพ์เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556 ฉบับปัจจุบัน ตีพิมพ์เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565

คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2565

1. นายกิตติศักดิ์ วรรณแก้ว ที่ปรึกษา
2. นายเกียรติ อัชรพงศ์ ที่ปรึกษา
3. ดร.ประดิษฐ์ เฟื่องฟู ที่ปรึกษา
4. ผศ.ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ ที่ปรึกษา
5. นายประสิทธิ์ เหมวราพรชัย ที่ปรึกษา
6. นายประสิทธิ์ ผิวแดง ที่ปรึกษา
7. นายพงศ์ศักดิ์ ธรรมบวร ที่ปรึกษา
8. นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ ที่ปรึกษา
9. รศ.วิชัย สุระพัฒน์ ที่ปรึกษา
10. นายสมศักดิ์ วัฒนศรีมงคล ที่ปรึกษา
11. นายสันติ นำสินวิเชษฐชัย ที่ปรึกษา
12. นายสุกิจ เกียรติบุญศรี ที่ปรึกษา
13. นายลือชัย ทองนิล ประธาน
14. นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ กรรมการ
15. ผศ.ชายชาญ โพธิสาร กรรมการ
16. นายดนตร์ บุนนาค กรรมการ
17. ดร.เตชทัต บูรณะอัศวกุล กรรมการ
18. รศ.ถาวร อมตกิตติ์ กรรมการ
19. นายบุญถิ่น เอมย่านยาว กรรมการ
20. นายพงศ์สันติ์ จุลวงศ์ กรรมการ
21. นายวิเชียร บุษยบัณฑูร กรรมการ
22. นายสุจิ คอประเสริฐศักดิ์ กรรมการ
23. นายสุธี ปิ่นไพสิฐ กรรมการ
24. นายสุวิทย์ ศรีสุข กรรมการ
25. นายเอกชัย ประสงค์ กรรมการ
26. นางนพดา ธีรอัจฉริยกุล กรรมการ
27. นายศิวเวทย์ อัครพันธุ์ กรรมการและเลขานุการ
28. นายณรัฐ ราชกรม ผู้ช่วยเลขานุการและเจ้าหน้าที่ประสานงานวิชาการ
  • วสท.มีรอบเวลาการปรับปรุงปรุงมาตรฐานทุก 5 ปี หรือเมื่อกฎหมาย /มาตรฐานอ้างอิงหลักมีการเปลี่ยนแปลง

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2556
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 พ.ศ.2564 พิมพ์ครั้งที่ 2)
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 – 12 กันยายน พ.ศ. 2569

“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงานครอบคลุม

  • การออกแบบและติดตั้ง อุปกรณ์ดังต่อไปนี้
  • มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า
  • ตัวนำประธาน สายป้อน วงจรย่อย
  • การต่อลงดิน
  • การเดินสายและวัสดุ
  • บริภัณฑ์ไฟฟ้า
  • บริเวณอันตราย (ฉบับย่อ)
  • สถานที่เฉพาะ
  • อาคารชุด อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ
  • บริเวณเฉพาะงาน
  • วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
  • อาคารใต้ผิวดิน
  • การติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว
  • ภาคผนวก

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้

  • วิศวกร สถาปนิก ช่างไฟฟ้า ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า การอนุญาตออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานด้านไฟฟ้า
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
  • ผู้ตรวจสอบอาคาร
  • ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาไฟฟ้า สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาไฟฟ้า
  • สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
  • บริษัทผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องมือทางไฟฟ้า

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ.2565
บทความถัดไปมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนเพื่องานวิศวกรรม