รหัสมาตรฐาน EE 021004-22
มาตรฐานนี้กำหนดตามเกณฑ์อย่างต่ำของความปลอดภัย เพื่อให้มีการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ให้ผู้ใช้งานอาคารได้รับความปลอดภัยและสามารถระงับเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2551, 2554, 2557, 2561 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 5 ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานนั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ซึ่งในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
มาตรฐานฉบับนี้มีเนื้อหาแยกเป็นส่วนของไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน, ไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน, การจ่ายไฟฟ้าและแหล่งจ่ายไฟฟ้า, การตรวจสอบและการบำรุงรักษา พร้อมด้วยภาคผนวกที่แสดงตัวอย่างใบรับรองการตรวจสอบและทดสอบ รวมทั้งตัวอย่างการออกแบบและติดตั้ง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้งานได้จริง นอกจากนี้ยังมีระบบนำทางมาใช้เสริมในระบบหลักเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและรวดเร็วในการหนีภัยได้มากยิ่งขึ้น
มาตรฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินเป็นอย่างดีเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่ได้รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรฐานฉบับนี้จะเป็นมาตรฐานที่วิศวกร ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาติดตั้ง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้งาน สถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
แผนการปรับปรุงมาตรฐาน
อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง
ฉบับนี้เป็นปรับปรุงครั้งที่ 5 พ.ศ. 2565
มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน พ.ศ. 2565 นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2551, 2554, 2557, 2561 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 5 ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานนั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ซึ่งในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
มีจำหน่ายแบบออนไลน์และเล่ม
รายนามคณะผู้จัดทำ |
มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน |
พ.ศ. 2565 |
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน | |||
1. | รศ.ถาวร | อมตกิตติ์ | ประธาน |
2. | ผศ.ดร.ปฐมทัศน์ | จิระเดชะ | กรรมการ |
3. | นายเกษม | นิลเจริญ | กรรมการ |
4. | นายเกียรติ | อัชรพงศ์ | กรรมการ |
5. | นายประสิทธิ์ | พัวภัทรกุล | กรรมการ |
6. | นายวิศิษย์ศักดิ์ | กฤษณพันธ์ | กรรมการ |
7. | นายสาธิต | อัศวาณิชย์ | กรรมการ |
8. | นางสุวิชญาน์ | เมธมโนรมย์ | กรรมการ |
คณะกรรมการปรับปรุงมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน |
|||
ที่ปรึกษา | |||
1. | นายลือชัย | ทองนิล | |
2. | ผศ.ดร.อุทัย | ไชยวงศ์วิลาน | |
3. | นายอุทิศ | จันทร์เจนจบ | |
4. | นายพิชญะ | จันทรานุวัฒน์ | |
5. | นายเกียรติ | อัชรพงศ์ | |
6. | นายสถาพร | รุ่งรัตนาอุบล | |
7. | นายธัมรัต | พรหมเพ็ญรังษี | |
8. | นายพิเชษฐ | อัศวกิจธนานนท์ | |
คณะกรรมการ | |||
1. | รศ.ถาวร | อมตกิตติ์ | ประธานกรรมการ |
2. | รศ.ไชยะ | แช่มช้อย | รองประธานกรรมการ |
3. | รศ.ดร.อรรถพล | เง่าพิทักษ์กุล | กรรมการ |
4. | ผศ.ดร.สำเริง | ฮินท่าไม้ | กรรมการ |
5. | นายเกษม | นิลเจริญ | กรรมการ |
6. | นายเกษียร | สุขีโมกข์ | กรรมการ |
7. | นายธนิศ | ธนาภัททวิทย์ | กรรมการ |
8. | นายวิศิษย์ศักดิ์ | กฤษณพันธ์ | กรรมการ |
9. | นางสาวศกลวรรณ | มาลากาญจน์ | กรรมการ |
10. | นายสิริพงศ์ | ธิติธนพงศ์ | กรรมการ |
11. | นายสุธี | ปิ่นไพสิฐ | กรรมการ |
12. | นายสุวัฒน์ | บุญศักดิ์สกุล | กรรมการ |
13. | นางสุวิชญาน์ | เมธมโนรมย์ | กรรมการ |
14. | นายเอกชัย | ประสงค์ | กรรมการ |
15. | นายกิตติ | สุขุตมตันติ | กรรมการและเลขานุการ |
16. | นางสาวณัฐรียา | อุ่นรัตนะ | ผู้ช่วยเลขานุการ |
มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสวางฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4 เดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2561
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้ เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 5 พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2565)
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2565
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 – 10 กรกฎาคม 2570
“Recognized by Council of Engineers from year AD 2022 to year AD 2027”
ขอบเขตงาน
-มาตรฐานนี้มีไว้เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบ ติดตั้ง และตรวจสอบสำหรับการใช้งานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน -มาตรฐานนี้กำหนดตามเกณฑ์อย่างต่ำของความปลอดภัย ในกรณีที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใดนอกเหนือจากมาตรฐานนี้ให้ทำตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นที่กำหนดไว้ นอกเหนือจากนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานนี้
-มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินนี้ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบ ติดตั้ง และตรวจสอบ สำหรับอาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ โรงแรม โรงพยาบาล สถานบริการ โรงมหรสพ และอาคารสาธารณะทั่วไป รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยตามกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้สถานที่สามารถหนีภัยออกจากอาคารได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย ในภาวะฉุกเฉิน
ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
วิศวกร ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาติดตั้ง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้งาน สถานศึกษา สมาคมวิชาชีพ ผู้ตรวจสอบอาคาร ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานและกำหนดการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน รวมถึงผู้ใช้งานมาตรฐาน สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
หมายเหตุ
เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2551, 2554, 2557, 2561 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 5 ในการอ้างอิงนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน” เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานนั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ซึ่งในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น