มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ. 2565

13574

รหัสมาตรฐาน CE 011038-22 มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ฉบับนี้ เป็นมาตรฐานที่รวมวิธีการคำนวณออกแบบองค์อาคารเหล็กรูปพรรณด้วยวิธีกำลังที่ยอมให้ (Allowable Strength Design, ASD) และวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (Load and Resistance Factor Design, LRFD)  เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว  รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับการก่อสร้าง การติดตั้ง การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพ  ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดย American Institute of Steel Construction (AISC)  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา  การนำมาตรฐานนี้ไปใช้ในงานอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ นอกจากจะเป็นการยกระดับความสามารถของวิศวกรแล้ว  ยังจะทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพทัดเทียมระดับสากลด้วย มาตรฐานฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดีจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของหลายฝ่าย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคณะทำงานร่างฯ ที่ได้สละเวลา  ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการจัดทำมาตรฐานฯ  จากกรรมการประจำมาตรฐานอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ รวมทั้งการสนับสนุนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกร

ฉบับก่อนหน้ามี 2 ฉบับ คือ : 1.มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ (วสท. 1015-40)

2.มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กรูปพรรณโดยวิธีตัวคูณความต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (วสท. 1020-51)


ฉบับปัจจุบันยุบรวมเหลือ 1 เล่ม คือ : มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565 (วสท.011038-22)

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565

รายนามคณะผู้จัดทำมาตรฐาน

มาตรฐานอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ

พ.ศ. 2563-2564


คณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1. ศ.ดร.ทักษิณ​​ เทพชาตรี​​ ประธาน
2. ศ.ดร.ต่อกุล กาญจนาลัย กรรมการ
3. ศ.ดร.ธีรพงศ์​​ เสนจันทร์ฒิไชย​​ กรรมการ
4. ศ.ดร.ธัญวัฒน์​​ โพธิศิริ​​ กรรมการ
5. รศ.ดร.ตระกูล อร่ามรักษ์​ กรรมการ
6. รศ.ดร.ทวีป ชัยสมภพ กรรมการ
7. รศ.ดร.สมเกียรติ รุ่งทองใบสุรีย์ กรรมการ
8. รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์​​ กรรมการ
9. ดร.ธนิต ใจสะอาด​​ กรรมการ
คณะทำงานร่างมาตรฐาน
1. รศ.ดร.กิจพัฒน์ ภู่วรวรรณ ประธาน
2. พันเอก ผศ.ดร.ณัฐพร นุตยะสกุล คณะทำงาน
3. ศ.ดร.จรูญ รุ่งอมรรัตน์ คณะทำงาน
4. รศ.ดร.ชยานนท์ หรรษภิญโญ คณะทำงาน
5.  รศ.ดร.พิสณฑ์ อุดมวรรัตน์ คณะทำงาน
6. รศ.ดร.อัครวัชร เล่นวารี คณะทำงาน
7. ศ.ดร.ปิยะ โชติกไกร คณะทำงาน
8. ผศ.ดร.อภินัติ อัชกุล คณะทำงาน
9. ผศ.ดร.รังสรรค์ วงศ์จีรภัทร คณะทำงาน
10. นายสยมภู เฮนะเกษตร คณะทำงาน
11. นายสุพัฒน์ บ่อสมบัติ คณะทำงาน
12. นายณัฐพล สุทธิธรรม คณะทำงาน
13. นายธีรพงษ์ โชติวรรณพฤกษ์ คณะทำงาน
14. นายพีรกิตติ์ นภารักษาวงศ์ คณะทำงาน
15. รศ.ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงค์ คณะทำงานและเลขานุการ
16. นางสาวกรกช บุญกล่อม ผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ พ.ศ.2565
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนกันยายน ปี พ.ศ.2565

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2566
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 – 12 มีนาคม 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม

-ข้อกำหนดในการออกแบบ -การออกแบบองค์อาคารคอมโพสิต
-การออกแบบด้านเสถียรภาพ -การออกแบบรอยต่อ
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงดึง -ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับจุดต่อของเหล็กรูปท่อและเหล็กรูปกล่อง
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงอัด -ข้อพิจารณาสำหรับการออกเพื่อการใช้งานได้ดี
-การออกแบบองค์อาคารรับโมเมนต์ดัด -การประกอบชิ้นงานและการติดตั้ง
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงเฉือน -การควบคุมภาพและการประกันคุณภาพ
-การออกแบบองค์อาคารรับแรงรวมและโมเมนต์บิด -ภาคผนวก ประกอบด้วย การออกแบบโดยใช้การวิเคราะห์ขั้นสูง, การออกแบบสำหรับการขังน้ำ, ความล้า, ข้อกำหนดสำหรับการออกแบบโครงสร้างทนไฟ,  การประเมินโครงสร้างเดิม, การค้ำยันเพื่อเสถียรภาพขององค์อาคาร, วิธีทางเลือกการออกแบบด้านเสถียรภาพ และการวิเคราะห์ลำดับสองโดยวิธีประมาณ

      โดยมาตรฐานนี้กำหนดค่าต่ำสุดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ และการก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก รวมทั้งองค์ประกอบของโครงสร้างเฉพาะส่วนที่เป็นหลัก
     มาตรฐานนี้สามารถใช้ได้กับโครงสร้างทั่วไป สำหรับโครงสร้างชนิดพิเศษ เช่น อาคารโค้งถังเก็บวัสดุ หรือโครงสร้างที่ต้องการออกแบบให้รับน้ำหนักบรรทุกเคลื่อนที่ เช่น สะพาน เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่อยู่ในขอบข่ายจะใช้ได้ และจะต้องคำนึงถึงรายละเอียดพิเศษของโครงสร้างเป็นกรณี ๆ ไป
     มาตรฐานนี้เป็นวิธีการออกแบบโดยวิธีหน่วยแรงที่ยอมให้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับองค์อาคารเหล็กโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม วิธีการออกแบบอื่น ๆ ก็สามารถใช้ได้ หากสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือ

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร หรือหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
– สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ

-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคารเหล็กรูปพรรณ วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานรหัสต้นทุนก่อสร้างงานอาคาร พ.ศ.2565
บทความถัดไปมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า พ.ศ. 2565