มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ

6370

รหัสมาตรฐาน CE 012032-21  มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ

 มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ นับเป็นมาตรฐานปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2563  โดยปรับปรุงจาก “มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร” ฉบับ พ.ศ. 2518  ซึ่งเดิมมีเพียงเล่มเดียว แต่ฉบับปรับปรุงแยกเป็น 4 เล่ม  โดยแก้ไขชื่อใหม่เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง” ซึ่งมีการเพิ่มขอบเขตงานจากงานอาคารเพียงอย่างเดียวเป็นเพิ่มงานอื่นๆ และแยกเป็น 4 เล่ม ดังนี้

เล่ม 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป เพิ่มเนื้อหาใหม่ทั้งเล่ม

เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร  เพิ่มเรื่อง ลิฟต์ขนส่งชั่วคราว

เล่ม 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ เพิ่มเรื่อง เครื่องจักรและพื้นที่ผสมคอนกรีต  งานยกหรือเคลื่อนย้ายอาคาร งานจัดจราจรและการจัดการขนส่ง ความปลอดภัยในการติดตั้งลิฟต์ถาวร

เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ  เพิ่มเรื่อง การทำงานในที่มีฝุ่นหรือละอองขนาดเล็ก การทำงานในที่เกิดแรงกระแทก การทำงานในที่มีแสงน้อยหรือในที่มืด และการทำงานก่อสร้างในลำน้ำและชายฝั่งทะเล

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างนี้จัดทำขึ้น โดยคณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ภายใต้คณะอนุกรรมการสาขาบริหารงานก่อสร้าง  ซึ่งกำกับดูแลโดยคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยมาตรฐานเล่มนี้นับเป็นมาตรฐานเล่มที่ 4 จากมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างซึ่งมี 4 เล่ม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่มที่ 4 ฉบับนี้จัดทำเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างในสภาวะแวดล้อมพิเศษทราบถึงแนวทางปฏิบัติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะทำงานก่อสร้างในสภาวะแวดล้อมพิเศษดังกล่าว  โดยมีขอบเขตครอบคลุมในช่วงเวลาการเตรียมการก่อสร้าง และขณะดำเนินงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้งานดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงหลักทางวิศวกรรมตามสภาพหน้างานที่อาจมีความแตกต่างจากข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในมาตรฐาน และการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ควรอยู่ในความดูแลและกำกับของวิศวกร

การร่างและเรียบเรียงเนื้อหามาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 4 เป็นเรื่องการทำงานในสภาวะแวดล้อมพิเศษ ที่เป็นการบูรณาการความรู้ในหลายศาสตร์เมาเพื่อประโยชน์ในการทำงานก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่มีขอบเขตและความลึกของเนื้อหาที่แตกต่างจากงานวิศวกรรมทั่วไป โดยคณะทำงานหวังว่าเนื้อหาที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานทั้งในฐานะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงาน วิศวกรคุมงาน ที่ปรึกษา  เจ้าของกิจการก่อสร้าง ส่วนราชการ และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง  หากมีข้อเสนอแนะท่านสามารถส่งกลับมาที่ วสท. จักขอบคุณยิ่งเพื่อจะได้ประกอบการปรับปรุงมาตรฐานต่อไป ทั้งนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ขอเรียนให้ผู้ใช้งานตามมาตรฐานนี้ พิจารณาให้เหมาะสมตามบริบทของตนเอง และมีความตระหนักอย่างรอบคอบ ถึงความรับผิดชอบทั้งผลดีและความเสียหายด้วยตนเอง ที่เป็นผลมาจากการใช้งาน หรือการอ้างอิงเนื้อหาจากมาตรฐานฉบับนี้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

(ฉบับก่อนหน้า เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 พฤศจิกายน 2539 คลิ๊กดูที่นี่) ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายหน้าร้าน  มีการจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2518  ปัจจุบันได้มีการแยกเป็น 4 เล่ม ซึ่งเล่ม 1, 2 และ 4 จัดพิมพ์แล้วเสร็จ ยังเหลือเล่ม 3 กำหนดแล้วเสร็จกลางปี 2565

(ฉบับปัจจุบัน) เล่ม 4 นี้ นับเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 1 ฉบับพิมพ์เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นการปรับปรุง “มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร” ฉบับ พ.ศ. 2518 โดยแก้ไขชื่อใหม่เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง” ซึ่งมีการเพิ่มขอบเขตงานจากงานอาคารเพียงอย่างเดียวเป็นเพิ่มงานอื่น ๆ และแยกเป็น 4 เล่ม เช่น เล่ม 1 การจัดการทั่วไป เพิ่มเนื้อหาใหม่ทั้งเล่ม, เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร เพิ่มเรื่องลิฟต์ขนส่งชั่วคราว เล่ม 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพิ่มเรื่องเครื่องจักรและพื้นผสมคอนกรีต งานยกหรือเคลื่อนย้ายอาคาร งานจัดจราจรและการจัดการขนส่ง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเรื่องการทำงานในที่มีฝุ่นหรือละอองขนาดเล็ก การทำงานในที่เกิดแรงกระแทก การทำงานในที่มีแสงน้อยหรือในที่มืด และการทำงานก่อสร้างในลำน้ำและชายฝั่งทะเล

เล่ม 4 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างในสภาวะแวดล้อมพิเศษทราบถึงแนวทางปฏิบัติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะทำงานก่อสร้างในสภาวะแวดล้อมพิเศษดังกล่าว  โดยมีขอบเขตครอบคลุมในช่วงเวลาการเตรียมการก่อสร้าง และขณะดำเนินงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้งานดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงหลักทางวิศวกรรมตามสภาพหน้างานที่อาจมีความแตกต่างจากข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในมาตรฐาน และการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ควรอยู่ในความดูแลและกำกับของวิศวกร

แผนการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ

วสท. มีนโยบายในการปรับปรุงมาตรฐาน เมื่อกฎหมาย และมาตรฐานอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง

คณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 
เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ  
ประจำปี 2557 – 2564
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. นายธานี วัฒนะสุข ประธาน
2. นายณัฐพร พรหมสุทธิ รองประธาน
3. นายธวัชชัย สุทธิประภา กรรมการ
4. ดร.วิทูร เจียกเจิม กรรมการ
5. นายสุพจน์ เจียมจรัสรังษี กรรมการ
6. นายจรง เจียมอนุกูลกิจ กรรมการ
7. ศ.ดร.วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ กรรมการ
8. ดร.พิชญุตม์ จรัสบำรุงโรจน์ กรรมการ
9. ศ.ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค กรรมการและเลขานุการ
คณะที่ปรึกษา
1. รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล ที่ปรึกษา
2. นายณัฐพร พรหมสุทธิ ที่ปรึกษา
3. ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์ ที่ปรึกษา
4. ดร.นวลทิพย์ เงาวิศิษฎ์กุล ที่ปรึกษา
5. นายสราวุธ ชื่นชม ที่ปรึกษา
คณะทำงานร่างมาตรฐาน
1. รศ.แหลมทอง เหล่าคงถาวร ประธาน
2. นายชาญณรงค์ ไวยพจน์ รองประธานคณะทำงาน
3. ผศ.พิพัฒน์ ภูริปัญญาคุณ คณะทำงาน
4. รศ.ดร.วราวุธ เสือดี คณะทำงาน
5. นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์ คณะทำงาน
6. นายดิลก เลิศเกรียงไกรยิ่ง คณะทำงาน
7. นายพิคิด วาโยพัด คณะทำงาน
8. นายสุชาติ ปั้นทอง คณะทำงาน
9. นายอดุลรัตน์ เรืองศรี คณะทำงาน
10. นายสุชาต ไกรเพชร คณะทำงาน
11. นายฉานฉลาด บุนนาค คณะทำงาน
12. นางสมบุญ ประเสริฐพานิช คณะทำงาน
13. นายสงวนศักดิ์ ดำเล็ก คณะทำงาน
14. นายกุลภาค ดาวพิเศษ คณะทำงาน
15. นางวรรณทิมา เรืองศรี คณะทำงาน
16. นายสุทัศน์ ประเสริฐพานิช คณะทำงาน
17. นายอนนต์ ชินบุตร คณะทำงาน
18. นายปกรณ์ แสงสุเรนทร์ คณะทำงาน
19. นายพีระศักดิ์ พานิชไตรภพ คณะทำงาน
20. นายอุดม อารยตานนท์ คณะทำงาน
21. นายสุเมธ เรืองทองดี คณะทำงาน
22. นายสุรศักดิ์ ซ่อนกลิ่น คณะทำงาน
23. นางสาวมาฤษา ชูนาวา คณะทำงาน
24. นายธิติ ขัติวงศ์ คณะทำงาน
25. นางสาวสโรชา มัฌชิโม เลขานุการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
บทความถัดไปมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง