มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด

10501

รหัสมาตรฐาน CE 011027-19 มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด

          การคำนวณออกแบบโดยวิธี “ภาวะสุดขีด” นี้ เป็นวิวัฒนาการสืบต่อจากการออกแบบวิธีดั้งเดิม คือวิธี “อีลาสติก” เพื่อที่จะหาทางคำนวณโครงสร้างให้ได้สัดส่วนที่เล็กลง แต่ยังสามารถที่จะรับน้ำหนักใช้งานได้เท่า ๆ กับโครงสร้างแบบเดียวกับที่คำนวณโดยวิธีดั้งเดิม วิธี “ภาวะสุดขีด” เดิมเป็นมาตรฐานที่ วสท. เคยจัดพิมพ์ ซึ่งครั้งนั้น ผู้เขียน คือ ดร.สิริลักษณ์ จันทรางศุ อดีตนายก วสท. แต่เนื่องจากจัดพิมพ์มานาน ไม่มีการปรับปรุง และไม่มีจำหน่ายในร้านหนังสือของ วสท.  คณะทำงานโดยอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นเป็นโอกาสดีที่จะปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวจึงได้จัดทำอีกครั้ง โดยรวบรวมจากมาตรฐานสากล และมอบลิขสิทธิ์ให้แก่ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้จัดพิมพ์ และเผยแพร่ต่อไป
       การออกแบบตามวิธี “ภาวะสุดขีด” นั้น เป็นการออกแบบสำหรับภาวะที่ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นแก่โครงสร้างนั้นได้เลย มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีดนี้ได้บรรยายให้ทราบถึงมูลฐานความเข้าใจในการออกแบบตาม รวมทั้งทฤษฎีวิธีออกแบบไว้ด้วยแล้ว โดยให้เป็นดุลยพินิจของวิศวกรในการเลือกใช้วิธีออกแบบคำนวณว่าจะใช้ตามวิธีดั้งเดิม  “อีลาสติก”  หรือ  วิธี   “ภาวะสุดขีด”หากท่านเลือกใช้วิธีใดก็ควรจะทำให้ถูกต้องตามวิธีนั้นนับตั้งแต่ต้นจนตลอดกระบวนการ และขั้นตอนของวิธีนั้น

           มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่ วสท. เคยจัดพิมพ์ ซึ่งครั้งนั้น ผู้เขียน คือ ดร.สิริลักษณ์ จันทรางศุ อดีตนายก วสท. แต่เนื่องจากจัดพิมพ์มานาน ไม่มีการปรับปรุง และไม่มีจำหน่ายในร้านหนังสือของ วสท. คณะทำงานโดยอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นเป็นโอกาสดีที่จะปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวจึงได้จัดทำอีกครั้ง โดยรวบรวมจากมาตรฐานสากล และมอบลิขสิทธิ์ให้แก่ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นผู้จัดพิมพ์ และเผยแพร่ต่อไป

–กำหนดปรับปรุงภายใน 5 ปี–

มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด
พ.ศ. 2559

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1.   ศ.ดร.เอกสิทธิ์           ลิ้มสุวรรณ               ประธานกรรมการ

2.   ศ.ดร.สมนึก             ตั้งเติมสิริกุล             กรรมการ

3.   ศ.ดร.อมร               พิมานมาศ               กรรมการ

4.   รศ.ดร.ตระกูล           อร่ามรักษ์                กรรมการ

5.   รศ.เอนก                ศิริพานิชกร              กรรมการ

6.   นายอนุชิต              เจริญศุภกุล               กรรมการ

7.   รศ.ดร.วิทิต             ปานสุข                   กรรมการและเลขานุการ

คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน

1.   ศ.ดร.เอกสิทธิ์          ลิ้มสุวรรณ                 ที่ปรึกษา        

2.   รศ.ดร.ทศพล          ปิ่นแก้ว                     ประธาน    

2.   ศ.ดร.ทักษิณ          เทพชาตรี                   อนุกรรมการ

3.   รศ.ดร.พูลศักดิ์        เพียรสุสม                  อนุกรรมการ            

4.   รศ.ดร.วิทิต            ปานสุข                    อนุกรรมการ   

6.   ผศ.ดร.พิชชา         จองวิวัฒสกุล               อนุกรรมการ

7.   ผศ.ดร.วัฒนชัย       สมิทธากร                  อนุกรรมการ  

8.   ผศ.ดร.จรูญ          รุ่งอมรรัตน์                  อนุกรรมการและเลขานุการ

มาตรฐานการคำนวณออกแบบโครงสร้างคอนกรีต โดยวิธีภาวะสุดขีด
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 2566 – 2 เม.ย 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน

–  การคำนวณออกแบบ และการตรวจสอบยืนยันสมรรถภาพที่ภาวะสุดขีดต่าง ๆ การคำนวณออกแบบจะต้องพิจารณาความปลอดภัยทางโครงสร้างในภาวะสุดขีดของกำลังประลัย

–  ข้อกำหนดวัสดุโครงสร้าง                                      –  น้ำหนักบรรทุกและแรงกระทำ

–  ความน่าเชื่อถือทางโครงสร้างและการวิเคราะห์โครงสร้าง  –  ภาวะสุดขีดประลัย

–  ภาวะสุดขีดการใช้งาน                                         –  ภาวะสุดขีดความทนทาน

–  การออกแบบองค์อาคาร                                       –  โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง

–  โครงสร้างเชิงประกอบ เหล็กกับคอนกรีต                    –  โครงสร้าง แรงอัด แรงดึง

–  รายละเอียดเหล็กเสริมทางโครงสร้าง                          

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้

– วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
– ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร

– หน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคาร
– ผู้ตรวจสอบอาคาร
– ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง 

บทความก่อนหน้านี้เทคนิคพิจารณ์ “มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ”
บทความถัดไปLIMIT STATE DESIGN FOR STRUCTURAL CONCRETE