มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

10848

รหัสมาตรฐาน CE 011006-19 มาตรฐาานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

             มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กฉบับนี้ได้ปรับปรุงจาก มาตรฐาน วสท. 1006-32 การปรับปรุงในครั้งนี้ได้ปรับปรุงใหม่ทั้งหมดจากเดิมที่มีอยู่ 4 ภาค เป็น 4 บทและได้เพิ่มบทที่ 3 การเขียนแบบตามมาตรฐาน มอก. และบทที่ 4 การจัดเรียงชุดของแบบและการตั้งชื่อแบบ รวมทั้งหมดเป็น 6 บท

          การปรับปรุงครั้งนี้ได้อิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการเขียนแบบก่อสร้างซึ่งได้อิงมาตรฐาน International Standard Organigation (ISO) การจัดเรียงชุดของแบบและการตั้งชื่อแบบเป็นไปตามมาตรฐานการจัดลำดับแบบก่อสร้างอาคารและรายละเอียดงานที่ควรมี มาตรฐาน วสท. 1022-51 การเขียนแบบผังองค์อาคารและการเขียนแบบรายละเอียดองค์อาคารได้อิง Standard Method of Detailing Structural Concrete และ ACI Detailing Manual

          ภาษาที่แสดงในแบบได้ใช้ทั้งสองภาษา แต่มีข้อแนะนำว่าหากเป็นงานขนาดเล็ก ซึ่งใช้ผู้รับจ้างระดับท้องถิ่น ภาษาที่แสดงในแบบควรเป็นภาษาไทย หากเป็นงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ควรใช้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากล

          มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้เป็นข้อแนะนำในการเขียนแบบ รูปที่แสดงเป็นการแสดงการเขียนแบบที่ถูกต้อง รายละเอียดการเสริมเหล็กเป็นเพียงตัวอย่างซึ่งจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางกฎหมายในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้นมิได้

          คณะผู้จัดทำมาตรฐานฉบับนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรฐานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวิศวกรและช่างเขียนแบบให้ปฏิบัติงานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กไปในแนวทางเดียวกัน หากผู้ใช้มีข้อแนะนำเพิ่มเติมหรือพบข้อบกพร่อง กรุณาแจ้งไปยังคณะผู้จัดทำเพื่อการปรับปรุงในครั้งต่อไป

              มาตรฐานฉบับก่อนหน้า เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 1 ซึ่งได้จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2532 โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ภาค  ได้แก่ ภาค 1 ทั่วไป  ภาค 2 การจัดรูปแบบ  ภาค 3 ผังองค์อาคาร  และภาค 4 การให้รายละเอียดองค์อาคารโครงสร้างทั่วไป 

             มาตรฐานฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2562 การปรับปรุงครั้งนี้ได้เพิ่มเนื้อหาออกเป็น 6 บท ดังนี้ บทที่ 1 ทั่วไป  บทที่ 2 การจัดเตรียมแบบและการเขียนแบบ  บทที่ 3 การเขียนแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)  บทที่ 4 การตั้งชื่อและระบบการให้เลขที่แบบ  บทที่ 5 การเขียนแบบผังองค์อาคาร  และบทที่ 6 การเขียนรายละเอียดองค์อาคาร และมาตรฐานฉบับนี้ได้อิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องการเขียนแบบก่อสร้างซึ่งได้อิงมาตรฐาน International Standard Organigation (ISO) การจัดเรียงชุดของแบบและการตั้งชื่อแบบเป็นไปตามมาตรฐานการจัดลำดับแบบก่อสร้างอาคารและรายละเอียดงานที่ควรมี มาตรฐาน วสท. 1022-51 การเขียนแบบผังองค์อาคารและการเขียนแบบรายละเอียดองค์อาคารได้อิง Standard Method of Detailing Structural Concrete และ ACI Detailing Manual

–กำหนดปรับปรุงภายใน 5 ปี–

คณะผู้จัดทำ
มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
พ.ศ. 2561

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1.   รศ.ดร.ไกรวุฒิ         เกียรติโกมล                ประธานกรรมการ

2.   ศ.ดร.เอกสิทธิ์         ลิ้มสุวรรณ                  กรรมการ

3.   รศ.เอนก              ศิริพานิชกร                 กรรมการ

4.   นายประสงค์          ธาราไชย                   กรรมการ

5.   นายอนันต์            สุนทรศิริ                   กรรมการ

6.   นายอนุชิต             เจริญศุภกุล               กรรมการและเลขานุการ

 

คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน

1.   นายอนุชิต             เจริญศุภกุล                ประธานอนุกรรมการ

2.   ศ.ดร.ชัย               จาตุรพิทักษ์กุล             อนุกรรมการ    

2.   รศ.ดร.ตระกูล         อร่ามรักษ์                  อนุกรรมการ

3.   รศ.เอนก               ศิริพานิชกร                อนุกรรมการ               

4.   ผศ.ดร.ชูชัย            สุจิวรกุล                    อนุกรรมการ    

6.   นายธงชัย             โพธิ์ทอง                    อนุกรรมการและเลขานุการ

มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2562

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2566

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 – 7 พฤษภาคม 2571
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-การจัดเตรียมแบบและการเขียนแบบ
-การเขียนแบบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
-การตั้งชื่อและระบบการให้เลขที่แบบ
-การเขียนแบบผังองค์อาคาร
-การเขียนแบบรายละเอียดองค์อาคาร
มาตรฐานนี้ ได้กำหนดวิธีการเขียนแบบและการให้รายละเอียดที่จำเป็นต้องมีในการเขียนแบบงานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งใช้เป็นแบบก่อสร้าง

สำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กประเภทอื่น เช่น สะพาน องค์อาคารโค้ง ถังเก็บน้ำ ไซโล เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้ในส่วนที่ใช้ได้


มาตรฐานนี้ ใช้เฉพาะการเขียนแบบทางวิศวกรรมโครงสร้างตามรายการคำนวณโครงสร้าง ไม่ละเอียดถึงขั้นเป็นแบบปฏิบัติงาน (shop-drawing)


มาตรฐานนี้ ไม่รวมรายการแสดงการดัดเหล็ก (bar bending schedule)

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร หรือหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้รับเป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานแห่งชาติจาก สมอ. คณะกรรมการนโยบายมาตรฐาน จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การกำหนดมาตรฐานแห่งชาติ SDOs”
บทความถัดไปมาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์