มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

8378

รหัสมาตรฐาน CE 012030-18  มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

ปัจจุบันงานก่อสร้างในประเทศไทยได้ก้าวรุดหน้า และเพิ่มปริมาณขึ้นมาก รวมทั้งการนำเอาเทคนิควิชาการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร เพื่อทุ่นแรง และประหยัดเวลาในการทำงาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในงานก่อสร้าง คือ อุบัติการณ์ หรืออุบัติเหตุ ซึ่งการเกิดแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้าง พบว่ายังมีผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงาน ผู้สัญจรผ่านบริเวณก่อสร้าง ผู้คุมงาน ฯลฯ มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้าง ดังนั้น การป้องกันอุบัติเหตุและการลดการเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรีบเร่งและให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่มที่ 2 ฉบับนี้ จัดทำเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง ทราบถึงแนวทางปฏิบัติ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในขณะใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการทำงานก่อสร้าง โดยมีขอบเขตครอบคลุมในช่วงเวลาดำเนินงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้งานดังกล่าวจำเป็นต้องคำนึงหลักทางวิศวกรรม ตามสภาพหน้างานที่อาจมีความแตกต่างจากข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในมาตรฐาน และการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ ควรอยู่ในความดูแลและกำกับของวิศวกร ทั้งนี้หน่วยการวัดต่าง ๆ ที่ปรากฏในมาตรฐานเล่มนี้ อาจมีการใช้หลายระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน และการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติที่หน้างานได้ตรงกัน

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างนี้จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ภายใต้คณะอนุกรรมการสาขาบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยมาตรฐานเล่มนี้ เป็นมาตรฐานเล่มที่ 2 จากมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างซึ่งมี 4 เล่ม ดังนี้

มาตรฐานเล่มที่ 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป

มาตรฐานเล่มที่ 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

มาตรฐานเล่มที่ 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ

มาตรฐานเล่มที่ 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่าง ๆ

ฉบับก่อนหน้า คลิ๊กดูที่นี่(พิมพ์ครั้งที่ 10 พฤศจิกายน 2539) เป็นมาตรฐานฉบับพิมพ์เล่มไม่มีจำหน่ายหน้าร้าน  มีจำหน่ายเฉพาะ E-Book โดยเป็นฉบับที่พิมพ์รวมเล่ม  เนื้อหามาตรฐานเป็นการพิมพ์ซ้ำ ยังไม่มีการปรับปรุงนับแต่การจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2518  ปัจจุบันได้มีการแยกเป็น 4 เล่ม ซึ่งเล่ม 1-2 จัดพิมพ์แล้วเสร้จ เล่ม 3-4 อยู่ระหว่างการปรับปรุง กำหนดแล้วเสร้จปลายปี 2562

(ฉบับปัจจุบัน) เล่ม 2 นี้ นับเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 1 ฉบับพิมพ์ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นการปรับปรุง “มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร” ฉบับ พ.ศ. 2518 โดยแก้ไขชื่อใหม่เป็น “มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง” ซึ่งมีการเพิ่มขอบเขตงานจากงานอาคารเพียงอย่างเดียวเป็นเพิ่มงานอื่น ๆ และแยกเป็น 4 เล่ม เช่น เล่ม 1 การจัดการทั่วไป เพิ่มเนื้อหาใหม่ทั้งเล่ม, เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องจักร เพิ่มเรื่องลิฟต์ขนส่งชั่วคราว เล่ม 3 ความปลอดภัยในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพิ่มเรื่องเครื่องจักรและพื้นผสมคอนกรีต งานยกหรือเคลื่อนย้ายอาคาร งานจัดจราจรและการจัดการขนส่ง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเรื่องการทำงานในที่มีฝุ่นหรือละอองขนาดเล็ก การทำงานในที่เกิดแรงกระแทก การทำงานในที่มีแสงน้อยหรือในที่มืด และการทำงานก่อสร้างในลำน้ำและชายฝั่งทะเล

เล่ม 2 นี้ เนื้อหาจะเน้นไปที่ข้อกำหนดทั่วไป ข้อกำหนดการใช้งานเครื่องมือและเครื่องจักรในงานก่อสร้าง รวมถึงการออกแบบและติดตั้งเครื่องมือหลักในงานก่อสร้าง เช่น นั่งร้าน บันไดไต่ ราวกันตก แผงป้องกันวัสดุตกหล่น ลิฟต์ขนส่งวัสดุและลิฟต์โดยสารชั่วคราวในงานก่อสร้าง และปั้นจั่น และที่ขาดไมไ่ด้คือ กฎหมาย มาตรฐาน และเอกสารอ้างอิงที่ใช้สำหรับอ้างอิงที่มาของเครื่องมือและเครื่องจักรเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร

เนื่องจากมาตรฐานเล่ม 2 นี้ เพิ่งปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2561  มาตรฐานจึงยังทันสมัยใช้งานได้ โดยมีแผนการปรับปรุงเมื่อมาตรฐานมีการ Up date เทคโนโลยีเครื่องมือและเครื่องจักร รวมถึง กฎหมายอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง

คณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง 
เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร 
ประจำปี 2558 – 2561
คณะกรรมการประจำมาตรฐาน
1. นายธานี วัฒนะสุข ประธาน
2. นายณัฐพร พรหมสุทธิ รองประธาน
3. นายธวัชชัย สุทธิประภา กรรมการ
4. ดร.วิทูร เจียกเจิม กรรมการ
5. นายสุพจน์ เจียมจรัสรังษี กรรมการ
6. รศ.ดร.วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ กรรมการ
7. ดร.พิชญุตม์ จรัสบำรุงโรจน์ กรรมการ
8. ผศ.ดร.ณรงค์ เหลืองบุตรนาค กรรมการและเลขานุการ
คณะที่ปรึกษา
1. รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล ที่ปรึกษา
2. นายณัฐพร พรหมสุทธิ ที่ปรึกษา
3. ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์ ที่ปรึกษา
4. ดร.นวลทิพย์ เงาวิศิษฎ์กุล ที่ปรึกษา
5. นายสราวุธ ชื่นชม ที่ปรึกษา
คณะทำงานร่างมาตรฐาน
1. ผศ.ดร.วัชระ เพียรสุภาพ ประธาน
2. รศ.แหลมทอง เหล่าคงถาวร คณะทำงาน
3. ผศ.สมเกียรติ ขวัญพฤกษ์ คณะทำงาน
4. นายณัฐนนท์ รัตนไชย คณะทำงาน
5. นายชาญณรงค์ ไวยพจน์ คณะทำงาน
6. นายสาธิต บูรพรรณ์ คณะทำงาน
7. นายโฆษิต ปลื้มสระไชย คณะทำงาน
8. นายสุรศักดิ์ ซ่อนกลิ่น คณะทำงาน
9. นายพิคิด วาโยพัด คณะทำงาน
10. นายสุรชัย สังขะพงศ์ คณะทำงาน
11. นายหฤษฏ์ ศรีนุกูล คณะทำงาน
12. นายดิลก เลิศเกรียงไกรยิ่ง คณะทำงาน
13. นายสุชาติ ปั้นทอง คณะทำงาน
14. นายอดุลรัตน์ เรืองศรี คณะทำงาน
15. นายปิยะณัฐ วงศ์ประเทศ คณะทำงาน
16. นางสาวสโรชา มัฌชิโม ผู้ช่วยเลขานุการ

แผนการปรับปรุงมาตรฐาน

อย่างน้อย 5 ปี หลังการจัดพิมพ์มาตรฐานจึงจะมีการปรับปรุง

มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร
พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ.2561
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร  เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2564

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2564 – 10 ตุลาคม พ.ศ.2569
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-ข้อกำหนดทั่วไป ข้อกำหนดการใช้งาน ขั้นตอนเตรียมการและตรวจสอบ รวมถึงการรื้อถอน (หากมี) และกฎหมาย มาตรฐาน และเอกสารอ้างอิง โดยครอบคลุมเครื่องมือและเครื่องจักรด้านล่างนี้

⊕ นั่งร้าน  ⊕ บันได
⊕ ราวกันตก ขอบกันของตก และทางเดินชั่วคราวยกระดับ ⊕ แผงป้องกันวัสดุตก และป้องกันฝุ่น
⊕ ลิฟต์ขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราวในงานก่อสร้าง ⊕ ปั้นจั่น


ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกรโยธาผู้ออกแบบเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้าง บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษา
-หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน ผู้จัดการโครงการ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในไซต์งานก่อสร้างต่างๆ
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-เจ้าของโครงการก่อสร้าง และฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดหาวัสดุเพื่อความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในงานก่อสร้าง และส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยในไซต์ก่อสร้าง และการคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน หน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมและสุขาภิบาลในไซต์งานก่อสร้าง รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในงานก่อสร้าง
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาด้านการก่อสร้าง
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุเครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างด้านบนดังกล่าว

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์
บทความถัดไปมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม