มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง

17841

รหัสมาตรฐาน CE 011008-21 มาตรฐาานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง

ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2564

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  โดยวิธีกำลัง (มาตรฐาน วสท.1008-38) ฉบับเดิม ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายมาเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยไม่มีการแก้ไขปรับปรุง คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา  วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานนี้เห็นควรให้มีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการ โดยยึดแนวมาตรฐาน ACI 318-11 เป็นหลัก

การปรับปรุงครั้งนี้ยังคงแบ่งหมวดและบทตามเนื้อหาของมาตรฐานเดิมเป็นหลัก โดยมีการเปลี่ยนจาก “ภาค” เป็น “หมวด” และเปลี่ยนหัวข้อจากเลข 4 หลัก เช่น “1100” เป็น บทที่ 1 ตามหลักเกณฑ์ใน “แนวปฏิบัติสำหรับการจัดทำมาตรฐานการปฎิบัติวิชาชีพวิศวกรรม” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ  เพื่อความเป็นสากล หน่วยและสมการจะเป็นระบบ SI –metric ส่วนหน่วยและสมการในระบบ Mks-metric ซึ่งเป็นหน่วยที่คุ้นเคยจะไปแสดงอยู่ในตารางเปรียบเทียบค่าและสมการของทั้งสองระบบในภาคผนวกท้ายเล่ม นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเนื้อหาจากมาตรฐาน วสท.1008-38 อีก 4 บท ได้แก่

บทที่ 4   ข้อกำหนดคุณสมบัติของคอนกรีตตลอดอายุการใช้งาน

บทที่ 19 ข้อกำหนดพิเศษสำหรับอาคารต้านแผ่นดินไหว

บทที่ 20 แบบจำลองแขนค้ำยันและแขนยึด

บทที่ 21 การฝังยึดในคอนกรีต

การคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  โดยวิธีกำลัง ได้แยกการพิจารณาความปลอดภัยไว้เป็นสองส่วนคือ เรื่อง แฟกเตอร์น้ำหนักและแฟกเตอร์ลดกำลัง  การคำนวณแฟกเตอร์น้ำหนักในมาตรฐานใหม่นี้จะยังคงใช้ตามมาตรฐานเดิม  ซึ่งจะสอดคล้องกับแฟกเตอร์น้ำหนักในกฏกระทรวงฉบับใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง  ที่จะออกบังคับใช้เร็วๆนี้  ส่วนแฟกเตอร์ลดกำลังซึ่งเดิมแบ่งเป็น 2 กรณี คือกรณีที่การก่อสร้างมีการควบคุมงานเป็นอย่างดีและมีการควบคุมคุณภาพของวัสดุ  และกรณีที่ไม่มีการควบคุมงานและคุณภาพของวัสดุ  ซึ่งในมาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่นี้จะให้มีกรณีเดียว เนื่องจากงานก่อสร้างในปัจจุบันเกือบทุกงานมีการควบคุมงานและคุณภาพของวัสดุ  ทั้งคอนกรีตและเหล็กเสริมมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในมาตรฐานฉบับใหม่นี้จะอ้างอิงจากศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสภา สาขาวิศวกรรมโยธาเพื่อความถูกต้องมากขึ้นและเป็นบรรทัดฐานเดียวกันในงานวิศวกรรมโยธา เช่น “factor” ซึ่งในมาตรฐานเดิมบัญญัติว่า “ตัวคูณ” แต่ในมาตรฐานฉบับนี้จะบัญญัติเป็น “แฟกเตอร์” ตามราชบัณฑิตยสภา

วสท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรฐานฉบับนี้จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ในการคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง  เป็นประโยชน์ในหมู่วิศวกรผู้คำนวณออกแบบและแวดวงวิชาการ  ตลอดจนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกกฏหมายควบคุมและข้อบัญญัติ  หากท่านใดมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ โปรดส่งข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะมายัง วสท. เพื่อจะได้พัฒนาวิธีการคำนวณออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ให้ก้าวหน้าต่อไป

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2558
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้ เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564) 

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2564 – 10 ต.ค. 2569
“Regcognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-มาตรฐานกำหนดค่าต่ำสุดต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ การกำหนดคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมถึงการประเมินกำลังของโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยวิศวกร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำลังอัดของคอนกรีตตามมาตรฐานนี้ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 18 เมกะพาสคัล ส่วนค่าสูงสุดจะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดของมาตรฐานที่เป็นทางเฉพาะ
-สำหรับโครงสร้างพิเศษ เช่น องค์อาคารโค้งตั้ง ถังเก็บวัสดุ อ่างเก็บน้ำ ไซโล โครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิด และปล่องไฟ เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่จะใช้ได้
-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบ การตอกหรือเจาะเสาเข็มคอนกรีต และตอม่อคอนกรีตที่ทำหน้าที่ถ่ายแรงลงสู่ดิน

-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างแผ่นพื้นวางบนดิน เว้นแต่แผ่นพื้นนั้นทำหน้าที่ถ่ายแรงตามแนวดิ่งหรือแนวราบจากโครงสร้างอื่นลงสู่ดิน
-เกณฑ์กำหนดเรื่องการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างองค์อาคารต้านแผ่นดินไหวในมาตรฐานนี้ต้องพิจารณาประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่เกี่ยวข้อง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
 
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง

มาตรฐานฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 มาตรฐานฉบับนี้ยึด ACI 318-89 เป็นหลัก และ ACI 318 ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันเป็น ACI 318-14 การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดจากการรวมข้อกำหนดของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ตาม ASCE 7-05 ซึ่งสาระสำคัญคือการปรับลดค่าตัวคูณนำ้หนักบรรทุกลง และ ACI 318 มีความจำเป็นต้องกำหนดค่่าตัวคูณลดกำลังใหม่เพื่อให้ได้อัตราส่วนความปลอดภัยที่คงเดิม ทั้งนี้ในข้อกำหนดใหม่ดังกล่าวนี้จะส่งเสริมให้ทำการคำนวณออกแบบโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กให้มีความเหนียวในลักษณะควบคุมด้วยแรงดึง แต่ยังอนุญาตให้คำนวณออกแบบโดยควบคุมด้วยแรงอัก แต่ตัวคูณลดกำลังจะลดค่าต่ำลงมาก

การจัดพิมพ์ครั้งที่ 9 นี้ ได้ทำการปรับปรุงข้อผิดพลาดจากการพิมพ์ครั้งต่างๆที่ผ่านมา โดยยังไมไ่ด้แก้ไขปรับปรุงในเนื้อหาสาระที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ ประกอบกับแนวคิดในการยกมาตรฐานในการปฏิบัติงานวิศวกรรมของกรมโยธาธิการและผังเมือง และสภาวิศวกรที่จะพัฒนารับรองมาตรฐานของสมาคมวิชาชีพ ต้องผ่านกระบวนการที่กำหนด จึงกำหนดรูปแบบและแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานนี้ไว้โดยพิจารณาสาระสำคัญที่ต้องทันสมัยและสอดคล้องกับการแก้ไขกฎกระทรวงที่กำลังดำเนินการ

สาระสำคัญที่ต้องพิจารณาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่หนึ่งได้แก่ตัวคูณนำ้หนักบรรทุกในการรวมแรงและน้ำหนักบรรทุก และส่วนที่สองคือตัวคูณลดกำลัง การกำหนดตัวคูณน้ำหนักบรรทุกของมาตรฐานที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคตต้องสอดคล้องกับของกฎกระทรวงและมาตรฐานของส่วนราชการ และมาตรฐานต่างๆ ที่ประกาศไปแล้ว เช่น มยผ.1302-52 มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ.1311-50 มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2558
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้ เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564) 

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2564 – 10 ต.ค. 2569
“Regcognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2023 to AD 2028”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-มาตรฐานกำหนดค่าต่ำสุดต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ การกำหนดคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมถึงการประเมินกำลังของโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยวิศวกร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำลังอัดของคอนกรีตตามมาตรฐานนี้ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 18 เมกะพาสคัล ส่วนค่าสูงสุดจะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดของมาตรฐานที่เป็นทางเฉพาะ
-สำหรับโครงสร้างพิเศษ เช่น องค์อาคารโค้งตั้ง ถังเก็บวัสดุ อ่างเก็บน้ำ ไซโล โครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิด และปล่องไฟ เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่จะใช้ได้
-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบ การตอกหรือเจาะเสาเข็มคอนกรีต และตอม่อคอนกรีตที่ทำหน้าที่ถ่ายแรงลงสู่ดิน

-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างแผ่นพื้นวางบนดิน เว้นแต่แผ่นพื้นนั้นทำหน้าที่ถ่ายแรงตามแนวดิ่งหรือแนวราบจากโครงสร้างอื่นลงสู่ดิน
-เกณฑ์กำหนดเรื่องการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างองค์อาคารต้านแผ่นดินไหวในมาตรฐานนี้ต้องพิจารณาประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่เกี่ยวข้อง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
 
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง

มาตรฐานอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงตาม ACI ฉบับแก้ไขล่าสุด คาดว่าอาจต้องใช้เวลาปรับปรุง 2 ปี นับจาก พ.ศ.2564

คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

โดยวิธีกำลัง

ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558-2564


คณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1.ศ.อรุณ ชัยเสรี ประธาน
2.รศ.ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล กรรมการ
3.ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ กรรมการ
4.ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล กรรมการ
5.ศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล กรรมการ
6.ศ.ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล กรรมการ
7.นายอนุชิต เจริญศุภกุล กรรมการ
8.รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการและเลขานุการ
คณะอนุกรรมการร่างมาตรฐาน
1.นายอนุชิต เจริญศุภกุล ประธาน
2.รศ.เอนก ศิริพานิชกร อนุกรรมการ
3.ดร.เสถียร เจริญเหรียญ อนุกรรมการ
4.ศ.ดร.ปิติ สุคนธสุขกุล อนุกรรมการ
5.ศ.ดร.อมร พิมานมาศ อนุกรรมการ
6.รศ.ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม อนุกรรมการ
7.ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ อนุกรรมการ
8.รศ.ดร.สุวิมล สัจจวาณิชย์ อนุกรรมการ
9.ผศ.ดร.ชูชัย สุจิวรกุล อนุกรรมการ
10.รศ.ดร.พูลศักดิ์ เพียรสุสม อนุกรรมการ
11.ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ แก้วกุลชัย อนุกรรมการ
12.ผศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ อนุกรรมการ
13.ผศ.ดร.ประวีณ ชมปรีดา อนุกรรมการ
14.นายสุเมธ เกียรติเมธา อนุกรรมการ
15.รศ.ดร.วิทิต ปานสุข อนุกรรมการ
16.รศ.ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ อนุกรรมการและเลขานุการ
17.นางสาวสโรชา มัฌชิโม ผู้ช่วยเลขานุการ
18.นางสาวเมตตา หมอนเขื่อน ผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรฐานฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 มีแผนดำเนินการ มีนาคม 2565 – มีนาคม 2566 คาดว่าจะใช้เวลาในการตรวจทานความถูกต้อง จะแล้วเสร็จปลายปี 2566

มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2558
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2564
(หมายเหตุ ฉบับที่จำหน่ายนี้ เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564) 

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2564 – 10 ต.ค. 2569
“Regcognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
-มาตรฐานกำหนดค่าต่ำสุดต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณออกแบบ การกำหนดคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมถึงการประเมินกำลังของโครงสร้างที่มีอยู่เดิม ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยวิศวกร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำลังอัดของคอนกรีตตามมาตรฐานนี้ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 18 เมกะพาสคัล ส่วนค่าสูงสุดจะถูกกำหนดโดยข้อกำหนดของมาตรฐานที่เป็นทางเฉพาะ
-สำหรับโครงสร้างพิเศษ เช่น องค์อาคารโค้งตั้ง ถังเก็บวัสดุ อ่างเก็บน้ำ ไซโล โครงสร้างที่ออกแบบให้ต้านทานแรงระเบิด และปล่องไฟ เป็นต้น ให้ใช้มาตรฐานนี้เฉพาะเท่าที่จะใช้ได้
-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบ การตอกหรือเจาะเสาเข็มคอนกรีต และตอม่อคอนกรีตที่ทำหน้าที่ถ่ายแรงลงสู่ดิน

-มาตรฐานไม่ครอบคลุมถึงการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างแผ่นพื้นวางบนดิน เว้นแต่แผ่นพื้นนั้นทำหน้าที่ถ่ายแรงตามแนวดิ่งหรือแนวราบจากโครงสร้างอื่นลงสู่ดิน
-เกณฑ์กำหนดเรื่องการคำนวณออกแบบและการก่อสร้างองค์อาคารต้านแผ่นดินไหวในมาตรฐานนี้ต้องพิจารณาประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่เกี่ยวข้อง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
 
-วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา และผู้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบโครงสร้างอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนการควบคุมอาคาร การอนุญาตออกแบบหรือก่อสร้างอาคาร รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานด้านการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาโยธา สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนวิชาด้านการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุสำหรับระบบโครงสร้างหรือองค์ประกอบโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อมพิเศษต่างๆ
บทความถัดไปมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ.2565