มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

16941

รหัสมาตรฐาน SE 112002-59 มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นมาตรฐานที่ใช้เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมทั้งระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองได้ตลอดเวลาขณะที่กระแสไฟฟ้าหลักดับหรือขัดข้อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานประกอบการ โรงพยาบาล อาคารสูง สถานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานชั่วคราว โรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดที่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรได้ เป็นต้น เพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง มาตรฐานเล่มนี้กำหนดตามเกณฑ์อย่างต่ำของความปลอดภัย ในกรณีที่มีกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใดนอกเหนือจากมาตรฐานนี้ให้ทำตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นที่กำหนดไว้ นอกเหนือจากนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานออกแบบและติดตั้งนี้

มาตรฐานนี้ในส่วนระบบต้นกำลังกล่าวถึงเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลไม่รวมพลังงานอื่น ๆ เนื้อหามาตรฐานครอบคลุมเรื่องห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฐานแท่นเครื่อง ตำแหน่งติดตั้ง วัสดุและอุปกรณ์ติดตั้ง การติดตั้งทางกล การติดตั้งทางไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม การทดสอบและการบำรุง รักษา รวมถึงภาคผนวกซึ่งกล่าวถึง ผนวก ก. การใช้งาน กำลัง และคุณสมบัติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผนวก ข. การคำนวณต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผนวก ค. สิ่งแวดล้อม (Environmental) และผนวก ง. การจัดวางระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินสำหรับสถานพยาบาล วสท.

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฉบับนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขของฉบับพิมพ์ครั้งแรก มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานใหม่ที่ยังไม่เคยจัดพิมพ์มาก่อน มาตรฐานฯ นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในชีวิตและความสะดวกสบายของมนุษย์ วสท. จัดทำมารฐานฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้วิศวกรและผู้เกี่ยวข้องใช้อ้างอิง และเป็แนวทางในการออกแบบ และติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยและถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศมีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ด้วย

มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างการพิจารณาจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2562

คณะอนุกรรมการมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ที่ปรึกษา

1. ผศ.ถาวร อมตกิตติ์
2. นายอารักษ์ บุญมา
3. นายพิชญะ จันทรนุวัฒน์

 

คณะอนุกรรมการ

นายอภิวัฒน์​

1. นายธวัช มีชัย ประธานอนุกรรมการ
2. นายสุพัฒน์ เพ็งมาก อนุกรรมการ
3. นายวินัย อนันต์ณัฏฐพงศ์ อนุกรรมการ
4. นายระวิ ดวงประเสริฐ อนุกรรมการ
5. นายพงศ์กฤษฎ์ คำราชา อนุกรรมการ
6. นายสุชาติ จงควินิต อนุกรรมการ
7. นายปานชนก เตมียเสน อนุกรรมการ
8. นายพรชัย บรรจงใหม่ อนุกรรมการ
9. ผศ.ดร.สำเริง ฮินท่าไม้ อนุกรรมการ
10.  นายอภิวัฒน์  บัญชาจงรุรัตน์  อนุกรรมการ
11. นายวิทยา รักษ์พงษ์ อนุกรรมการ
12. ผศ.ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูร อนุกรรมการ
13. นายวิเชียร บุษยบัณฑูร อนุกรรมการ
14. นายธัมรัต พรหมเพ็ญรังษี อนุกรรมการและเลขานุการ
  • ระยะเวลาดำเนินการ
  • มาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่จะพิมพ์เผยแพร่ประมาณปลายปี 2562

มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พ.ศ. 2559

ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565
โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพที่ปรับปรุง ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565- 9 มกราคม พ.ศ. 2570 “Recognized by Council of Engineers from year AD 2022 to year AD 2027”

 ขอบเขตงาน ครอบคลุม
– มาตรฐานนี้ใช้เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความเร็วรอบตั้งแต่ 1,500 รอบต่อนาทีขึ้นไป และแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไม่เกิน 600 โวลต์ เท่านั้น รวมทั้งระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสำรองได้ตลอดเวลา ขณะที่กระแสไฟฟ้าหลักดับหรือขัดข้อง
-เนื้อหามาตรฐานครอบคลุมเรื่องห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฐานแท่นเครื่อง ตำแหน่งติดตั้ง วัสดุและอุปกรณ์ติดตั้ง
การติดตั้งทางกล การติดตั้งทางไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม การทดสอบและการบำรุงรักษา การใช้งานกำลังและคุณสมบัติของ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า  การคำนวณต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การจัดวางระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินสำหรับสถาน
พยาบาล วสท.

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-วิศวกร ผู้ออกแบบ ผู้ติดตั้ง วิศวกรผู้ออกแบบงานระบบไฟฟ้า เครื่องกล สิ่งแวดล้อม วิศวกรผู้ควบคุมงานและติดตั้งระบบ
วิศวกรผู้ดูแลบำรุงรักษาอาคารและระบบไฟฟ้าสำรอง เจ้าของอาคาร เจ้าของโครงการ
-เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานประกอบการ โรงพยาบาล อาคารสูง สถานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่
อาคารสำนักงานชั่วคราว โรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดที่ไม่สามารถหยุดเครื่องจักรได้ เป็นต้น
-ส่วนราชการที่กำกับ ควบคุม ดูแลเรื่องการใช้พลังงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน รวมถึงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
-สถานศึกษา
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
บทความถัดไปมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาคที่ 1 ข้อกำหนดทั่วไป