มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย

9790

รหัสมาตรฐาน EE 022012-59 มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย

มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย เป็นมาตรฐานใหม่ที่ยังไม่เคยจัดพิมพ์มาก่อนซึ่งใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ ติดตั้ง ปฏิบัติการและการดูแลบำรุงรักษาดาตาเซนเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทยมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศโดยรวม ที่สำคัญต้องสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ด้วย

วสท. เห็นประโยชน์ของมาตรฐานดังกล่าวที่จะมีส่วนช่วยองค์กรด้านวิศวกรรมในหารขับเคลื่อนประเทศด้านนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งเป็นพัฒนาการใหม่ของโลกจะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตต่อไป

มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2559 นี้นับเป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นใหม่ ยังไม่มีการจัดทำมาตรฐานนี้มาก่อน

มาตรฐานฉบับปรับปรุงยังไม่กำหนดขึ้นกับว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐาน อย่างไรก็ตามภายใน 5 ปี จะมีการทบทวนมาตรฐานเพื่อให้มีความทันสมัยต่อไป

 คณะอนุกรรมการมาตรฐานดาตาเซนเตอร์  ปี 2557-2559

 ที่ปรึกษา

  1. นายลือชัย        ทองนิล
  2. นายกิตติพงษ์    วีระโพธิ์ประสิทธิ์
  3. นายไพศาล      ไตรชวโรจน์
  4. นายนรา           นนท์นาภา
  5. นายเมธี           อนิวรรตน์
  6. นายพัฒน์พงศ์    เพชร์แก้วณา
  7. นายสุรชัย         อินทชื่น
  8. นายประสิทธิ์      พัวภัทรกุล

 คณะอนุกรรมการ

  1. นายประสิทธิ์   เหมวราพรชัย         ประธานอนุกรรมการ
  2. ผศ.ถาวร       อมตกิตติ์              รองประธานอนุกรรมการ
  3. นายปราการ    กาญจนวตี            อนุกรรมการ
  4. นายเอกชัย     ประสงค์               อนุกรรมการ
  5. นายสุรเดช     รักศิลป์                อนุกรรมการ
  6. นายพิจักษ์     เพิ่มประเสริฐ          อนุกรรมการ
  7. นายภิญโญ     กิตติกูล               อนุกรรมการ
  8. นายเตชทัต    บูรณะอัศวกุล         อนุกรรมการ
  9. นายสมคิด      สิทธิไชยกุล          อนุกรรมการ
  10. ผศ.ดร.มนตรี   วิบูลยรัตน์            อนุกรรมการ
  11. ผศ.ดร.สำเริง   ฮินท่าไม้             อนุกรรมการและเลขานุการ
  • ระยะเวลาดำเนินการ

  • มาตรฐานพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก มีนาคม 2559 ยังไม่มีแผนปรับปรุงครั้งต่อไป

มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2559
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564

หมายเหตุ  1. ยกเว้นบทที่ 7 บทที่ 12 บทที่ 13 บทที่ 14 และบทที่ 15 ที่มีการเว้นว่างไว้
             2. พิจารณาปรับปรุง/เพิ่มเติมในวงรอบการปรับปรุงต่อไป

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 – 12 กันยายน พ.ศ. 2569
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2021 to AD 2026”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
– การออกแบบ การติดตั้ง ปฏิบัติการ ปรับปรุง และการดูแลบำรุงรักษาศูนย์ดาตาเซนเตอร์

– การวางแผนสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่าง ๆ ดังนี้
   ระบบไฟฟ้า
   ระบบต่อลงดิน
   ระบบปรับอากาศ
   ระบบป้องกันความเสี่ยงจากภัยอันตรายต่าง ๆ
– การออกแบบระบบเคเบิลและโครงข่ายข้อมูล
– การเลือกทำเลที่ตั้ง การพัฒนาอาคาร ซึ่งเป็นการวางแผนระหว่างการก่อสร้างหรือการปรับปรุงขนาดพื้นที่อย่างเป็นระบบ
  ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน การบำรุงรักษา และการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมและประหยัด

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
– วิศวกร สถาปนิก ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและติดตั้งศูนย์ดาตาเซนเตอร์

– ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน
– หน่วยงานที่ขอการรับรองดาตาเซนเตอร์ กับสถาบันประเมินและรับรองเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เนคเทค-สวทช)
– หน่วยงานผู้อนุมัติการก่อสร้างศูนย์ดาตาเซนเตอร์
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

Empty tab. Edit page to add content here.
บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร
บทความถัดไปมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาคที่ 4 ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในสิ่งปลูกสร้าง