ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2

11177

รหัสมาตรฐาน CE 011014-19 ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีต ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2

ข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้างสำหรับโครงสร้างคอนกรีตฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้วิศวกรผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน เจ้าของงาน ผู้ประกอบการก่อสร้าง นิสิต นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีต ได้ใช้เป็นสิ่งอ้างอิงในการศึกษาและทำงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานคอนกรีตได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้โครงสร้างคอนกรีตที่มีความแข็งแรง ปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานตามต้องการ

การจะได้คอนกรีตที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิเคราะห์และออกแบบอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและเหมาะสมกับสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมขณะใช้งานของโครงสร้าง ตลอดจนมีการก่อสร้างที่ดี เป็นไปตามการออกแบบและมีการควบคุมการก่อสร้างที่ดี การดำเนินงานเพื่อให้ได้โครงสร้างคอนกรีตที่มีคุณภาพตามต้องการข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยากนักเพราะต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับคอนกรีตและวัสดุตลอดจนวิธีการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยคณะทำงานร่าง และแก้ไข ภายใต้คณะอนุกรรมการคอนกรีตและวัสดุ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องจัดทำเอกสารวิชาการเรื่องดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ๆ ฝ่ายได้นำไปใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวมาข้างต้น

ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับวัสดุและงานก่อสร้างคอนกรีตนี้ ได้รวบรวมข้อมูลจากมาตรฐานของหลาย ๆ ประเทศ ประกอบกับข้อมูลของประเทศไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยได้มีการจัดทำเสร็จขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ 2540 โดยได้ปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2545 และปรับปรุงครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2559 เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางวัสดุและการก่อสร้างคอนกรีตในปัจจุบัน ทางคณะทำงานร่างฯ และ คณะทำงานแก้ไขฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อกำหนดมาตรฐานฯ ฉบับแก้ไขครั้งที่สองนี้ จะสามารถช่วยทำให้คุณภาพของโครงสร้างคอนกรีตในประเทศไทยมีมาตรฐานดียิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในการบัญญัติศัพท์ภายในเล่มจะเป็นคำเดียวกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหรรม (สมอ.) ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับคำศัพท์ในราชบัณฑิต เนื่องจากเอกสารอ้างอิงส่วนใหญ่ใช้ตามมาตรฐาน สมอ.

ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ ที่ท่านผู้อ่านคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อกำหนดมาตรฐานฯ ฉบับนี้ ขอได้โปรดแจ้งให้คณะทำงานฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง

หนังสือข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับวัสดุและงานก่อสร้างคอนกรีตนี้ ได้รวบรวมข้อมูลจากมาตรฐานของหลาย ๆ ประเทศ ประกอบกับข้อมูลของประเทศไทย เพื่อกำหนดเป็นข้อกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมกับประเทศไทย มาตรฐาน วสท. 011014-19 (รหัสเดิมคือ 1014-46) จัดทำขึ้นครั้งแรกในปี พศ. 2543 และปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี พศ. 2546 จากนั้นมา ไม่ได้มีการปรับปรุงอีกเลยเป็นเวลายาวมากกว่า 10 ปีแล้ว

ประเด็นการแก้ไขมาตรฐาน :

  1. ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของมาตรฐานมวลรวมหยาบที่นำกลับมาใช้ใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมมากขึ้นโดยให้สอดคล้องกับร่างมาตรฐาน มอก.
  2. เพิ่มเนื้อหาของมาตรฐานมวลรวมละเอียดที่นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งไม่มีในฉบับเดิม โดยให้สอดคล้องกับร่างมาตรฐาน มอก.
  3. เพิ่มเนื้อหาของมาตรฐานผงหินปูน ซึ่งไม่มีในฉบับเดิม
  4. ปรับเนื้อหาในส่วนที่มีการอ้างอิงมาตรฐานต่างประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานต่างประเทศที่มีการปรับปรุงแก้ไข
  5. เติมเนื้อหาเกี่ยวกับการระวังการเกิด Delayed Ettringite เข้าไปในส่วนข้อควรระวังสำหรับการบ่ม ซึ่งไม่มีในฉบับเดิม
  6. ปรับปรุงหน่วยและภาษาในมาตรฐานทั้งเล่ม

ยังไม่มีกำหนดปรับปรุงใหม่

คณะทำงานปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2
พ.ศ. 2560 – 2562

คณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1. ศ.ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล ประธาน
2. ศ.ดร. ชัย จาตุรพิทักษ์กุล กรรมการ
3. น.อ.รศ.ดร.ธนากร พีระพันธ์ กรรมการ
4. รศ.ดร. วันชัย ยอดสุดใจ กรรมการ
5. นายบุญรอด คุปติทัฬหิ กรรมการ
6. นายมั่น ศรีเรือนทอง กรรมการ
7. ดร.กฤติยา แก้วมณี กรรมการและเลขานุการ

คณะทำงาน

1 ศ.ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล ประธานคณะทำงาน
2 ผศ.ดร.ปิติศานต์ กร้ำมาตร คณะทำงาน
3 ดร.เฉลิมชัย วาณิชย์ล้ำเลิศ คณะทำงาน
4 ผศ.ดร.ทวีชัย สำราญวานิช คณะทำงาน
5 ดร.กฤติยา แก้วมณี คณะทำงานและเลขานุการ
บทความก่อนหน้านี้ปิดเล่ม มาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 1 ความปลอดภัยในเรื่องการจัดการทั่วไป
บทความถัดไปเตรียมปิดเล่มมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง เล่ม 2 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือและเครื่องจักร