ขอบเขตและหน้าที่การให้บริการวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง

3670

รหัสมาตรฐาน CE 1013-40 ขอบเขตและหน้าที่การให้บริการวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง

การบริการงานก่อสร้าง (Construction Management)นับเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการก่อสร้างเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันโครงการมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น และมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมากมายหลายฝ่าย การที่จะทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้นั้นจึงไม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เป็นผลอันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ดีหรือจากการใช้บริการทางวิชาชีพด้านบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารงานก่อสร้างถือว่าเป็นวิชาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการก่อสร้างในประเทศไทย บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านนี้ยังไม่มีการกำหนดขอบเขตเป็นมาตรฐานที่แน่นอนและชัดเจน การให้บริการมีรูปแบบและขอบเขตที่ค่อยข้างหลากหลายบางรายก็มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องคุณภาพงานโดยอาศัยการตรวจและทดสอบเป็นหลัก บางรายก็มุ่งเน้นเรื่องของการควบคุมราคา และการให้บริการติดตามประเมินมูลค่าของผลงานในแต่ละงวด บางรายก็ถือเอาเรื่องของการควบคุมระยะเวลาและกำหนดการทำงานเป็นหลัก หรือบางรายก็ให้บริการที่ครอบคลุมในทุกๆเรื่องที่กล่าวมานี้ ความไม่ชัดเจนในเรื่องขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบเหล่านี้ทำให้โครงการหลายโครงการต้องประสบกับปัญหาอันเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนในการทำงาน การประสานงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก หรือแม้กระทั่งหาผู้รับผิดชอบหลักในงานบางอย่างไม่ได้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนในหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างทั้งสิ้น

มาตรฐานฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 สิงหาคม 2559 เนื้อหามาตรฐานเป็นการพิมพ์ซ้ำ ยังไม่มีการปรับปรุงนับแต่การจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2540

มาตรฐานฉบับปรับปรุงยังไม่มีแผนปรับปรุง

คณะทำงานกำหนดขอบเขตและหน้าที่การให้บริการวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง

1.ดร.วิทูร           เจียกเจิม           หัวหน้าคณะทำงาน
2.นายจรง          เจียมอนุกูลกิจ    คณะทำงาน
3.นายวิเชียร      วิไลงาม             คณะทำงาน
4.นายสวัสดิ์       ศรีอัษฎาพร       คณะทำงาน
5.ดร.ธนิต          ธงทอง              คณะทำงาน
6.ดร.โชติชัย      เจริญงาม          คณะทำงาน
  • ระยะเวลาดำเนินการ
  • ยังไม่มีแผนปรับปรุงมาตรฐาน
บทความก่อนหน้านี้แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคาร ในส่วนงานของโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม
บทความถัดไปมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร