มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

9156

รหัสมาตรฐาน 3011-48  มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง คณะกรรมการได้เขียนมาตรฐานเล่มนี้ขึ้นเพื่อสำหรับใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงสำหรับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมาตรฐานที่กำหนดไว้

การจัดทำมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯเกิดขึ้นจากความอุตสาหะและวิริยภาพ ตลอดกว่า 4 ปีของกรรมการร่างมาตรฐานทุกคน เพราะมาตรฐานฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่ต้องรวบรวมและศึกษาจากมาตรฐานที่เชื่อถือได้หลายมาตรฐาน การจัดทำมาตรฐานฉบับนี้ก็เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาค ด้วยการมีสถานประกอบการและกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยด้านอัคคีภัยต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ข้อกำหนดของมาตรฐานจะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพและวิศวกร สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการทำงาน การออกแบบ การก่อสร้าง การซ่อมบำรุง ได้เหมือนมาตรฐานอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ จุดเด่นของมาตรฐานฉบับนี้ คือข้อกำหนดที่สำคัญไม่ได้จงเจาะสำหรับโรงงานใดโรงงานหนึ่ง แต่ได้เขียนข้อกำหนดตามแนวทางมาตรฐานสากลโดยเน้นไปยังกระบวนการผลิต หรือเครื่องจักรกล หรือสสารที่มีความเสี่ยงอันตรายต่ออัคคีภัย กล่าวคือไม่ว่าโรงงานใดที่มีกระบวนการผลิต หรือเครื่องจักรกล หรือสสารดังกล่าวก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในมาตรฐานนี้

มาตรฐานนี้ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และมีข้อกำหนดของมาตรฐานบางส่วนที่ได้รับมาจากนายประสาท รักศิริพงษ์ ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงทำให้มาตรฐานฉบับมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรฐานนี้จะมีการปรับปรุงทุกๆ 4 – 5 ปี การนำมาตรฐานไปใช้จริงจะก่อให้เกิดพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่องได้ ดังนั้นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงข้อกำหนดของท่านที่ได้นำมาตรฐานนี้ไปใช้จริงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานนี้ในอนาคตต่อไป

 

ขอบเขตมาตรฐาน

  1. มาตรฐานนี้ จะต้องใช้ร่วมกับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ว.ส.ท. 3002 ซึ่งมีข้อกำหนดสำหรับอาคารเพื่อการป้องกันอัคคีภัย
  2. มาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุมถึงประเภทการใช้อาคาร การก่อสร้าง ทางหนีไฟ และระบบดับเพลิงชนิดต่างๆ
  3. หากโรงงานใดที่มีกระบวนการผลิต หรือมีเครื่องจักรกล หรือมีสสารที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานนี้ โรงงานนั้นจะต้องจัดให้มีการป้องกันอัคคีภัย หรือปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และสาธารณสถาน
  4. หากมีข้อกำหนดของมาตรฐานอื่นๆหรือกฎหมายท้องถิ่นที่มีการป้องกันอัคคีภัยที่สามารถเทียบเท่าได้หรือดีกว่า มาตรฐานนี้อนุโลมให้ใช้แทนได้
  5. หากไม่มีข้อกำหนดบางประการ มาตรฐานนี้อนุโลมให้ใช้มาตรฐานสากลที่ยอมรับให้ใช้ได้

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมฉบับนี้เป็นฉบับจัดทำแล้วเสร็จเมื่อปี 2548 โดยมีการพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงครั้งที่ 3 พฤษภาคม 2556 และปัจจุบันไม่มีมาตรฐานจำหน่าย เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับปรุงฉบับใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2561  โดยมาตรฐานฉบับก่อนหน้ามีการจัดพิมพ์ดังนี้

พิมพ์ครั้งที่ 1    พฤศจิกายน 2548

พิมพ์ครั้งที่ 2    กรกฎาคม 2550

พิมพ์ครั้งที่ 3    พฤษภาคม 2556

อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุง คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2562

คณะอนุกรรมการมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

รายนามที่ปรึกษา

  1. ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย
  2. รศ.ดร.ชำนาญ ห่อเกียรติ
  3. นายวิโรจน์ คลังบุญครอง
  4. นายจิม พันธุมโกมล
  5. ดร.สมศักดิ์ เลิศบรรณพงษ์
  6. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี
  7. ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร

 

รายนามคณะอนุกรรมการ

  1. นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์                ประธาน
  2. นายวันชัย บัณฑิตกฤษดา                อนุกรรมการ
  3. นายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม            อนุกรรมการ
  4. นายโสภณ เหล่าสุวรรณ                  อนุกรรมการ
  5. นายอดิศร มโนมัยธำรงกุล                อนุกรรมการ
  6. นายธวัชชัย ไวยนิยา                      อนุกรรมการ
  7. นายกาญจน์ รักษ์ศิริพงษ์                 อนุกรรมการ
  8. นายจิตกร กนกนัยการ                    อนุกรรมการ
  9. นายชัชวาลย์ จิตติเรืองเกียรติ           อนุกรรมการ
  10. นายประสาท รักพานิชศิริ                อนุกรรมการ
  11. นายศิริพงษ์ สุงสุวรรณ                   อนุกรรมการ
  12. นายธนา ชาตะวราหะ                    อนุกรรมการ
  13. นายสมยศ ดีวิไลพันธุ์                   อนุกรรมการ
  14. นายวีระพันธ์ พันธุมคุปต์                อนุกรรมการ
  15. นายจิตกร กนกนัยการ                   อนุกรรมการ
  16. นางสาวอรัญญา ขาวสุวรรณ             เลขานุการ
บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556
บทความถัดไปมาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า