มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย

49879

รหัสมาตรฐาน ME 3002-51 มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ.2559 นี้ เป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2551 เนื้อหามีการปรับปรุงจากมาตรฐานฉบับปรับปรุงครั้งที่ พ.ศ.2544  ดังต่อไปนี้

1.ปรับปรุงมาตรฐานอาคารและการทนไฟทั้งหมดและกำหนดประเภทอาคารตามลักษณะกิจกรรมการใช้

2.ปรับปรุงมาตรฐานระบบการป้องกันอัคคีภัยให้ทันสมัยขึ้น และเพิ่มมาตรฐานระบบดับเพลิงพิเศษ ภาคผนวก ก. การคำนวณเวลาและวิเคราะห์การอพยพออกจากอาคาร และภาคผนวก ข กรณีศึกษาจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ และภาคผนวก ค คำแนะนำในการจัดเตรียมระบบป้องกันอัคคีภัยระหว่างการก่อสร้าง

3.ปรับปรุงมาตรฐานเกี่ยวกับเส้นทางหนีไฟ

ข้อกำหนดนี้เพื่อให้วิศวกรใช้เป็นแนวทางในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบความปลอดภัยทางด้านอัคีภัย

อาคารเก่าหรืออาคารที่มีลักษณะแตกต่างจากมาตรฐานกำหนดไว้ วิศวกรสามารถทำความเข้าใจกับหลักการที่กำหนดไว้ และทำการออกแบบก่อสร้างหรือติดตั้งให้สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 มิถุนายน 2555 นี้ เป็นการแก้ไขครั้งที่ 1 ของฉบับเดิมซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2544 เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างดำเนินการ

คณะกรรมการร่างมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย

รายนามคณะกรรมการประจำมาตรฐาน

1.นายเกชา                ธีระโกเมน                  ประธาน
2.ศ.ดร.วรศักดิ์           กนกนุกุลชัย                กรรมการ
3.นายจิม                   พันธุมโกมล              กรรมการ
4.ดร.สมศักดิ์              เลิศบรรณพงษ์          กรรมการ
5.ศ.ดร.วริทธิ์              อึ๊งภากรณ์                กรรมการ
6.นายสุวัฒน์              วสะภิญโญกุล            กรรมการ
7.นายบุญพงษ์            กิจวัฒนาชัย              กรรมการ
8.นายพิชญะ              จันทรานุวัฒน์             กรรมการ

 รายนามคณะกรรมการร่างมาตรฐาน

1.นายชัยชาญ               อึ๊งศรีวงศ์             ประธาน

2.นายพิชญะ                 จันทรานุวัฒน์        รองประธาน

3.นายเมธินพัฐ               บวรธรรมรัตน์        กรรมการ

4.นายสมยศ                  ดีวิไลพันธ์            กรรมการ

5.นายชัชวาลย์               คุณค้ำชู                 กรรมการ

6.นายวันชัย                  บัณฑิตกฤษดา        กรรมการ

7.ดร.ชัชชาติ                 สิทธิพันธุ์              กรรมการ

8.นายสุเมธ                   แสงอลังการ          กรรมการ

9.ดร.ณัฐศักดิ์                 บุญมี                  กรรมการ

10.นายสุภัทร                 พัฒน์วิชัยโชติ         กรรมการ

11.นายโสภณ                 เหล่าสุวรรณ            กรรมการและเลขานุการ

12.นางสาวสโรชา             มัฌชิโม                ผู้ช่วยเลขานุการ

 

  • ระยะเวลาดำเนินการ

  • มาตรฐานฉบับปรับปรุงอยู่ระหว่างดำเนินการ

มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1 พิมพ์ครั้งที่ 3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2559
ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร  เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565

โดยมีวงรอบการรับรองมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2565-9 มกราคม พ.ศ.2570
“Recognized by Council of Engineers, Thailand from year AD 2022 to AD 2027”

ขอบเขตงาน ครอบคลุม
ภาค 2 มาตรฐานของอาคาร ครอบคลุมการออกแบบอาคาร ในส่วนการกำหนดลักษณะ การใช้ ขนาดและความสูงของอาคาร และการเลือกประเภทของการก่อสร้างให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของอาคาร การแบ่งกั้นพื้นที่อาคารออกเป็นส่วนเพื่อป้องกันไฟลาม โดยตำแหน่งของส่วนกั้นแยกที่มีอัตราการทนไฟตามที่กำหนด และการป้องกันช่องเปิดในส่วนกั้นแยก การควบคุมวัสดุที่ใช้ทำฝ้าและผนังอาคาร  การเตรียมพื้นที่รอบอาคารเพื่ออำนวยความสะดวกในการดับเพลิง การทดสอบคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการทนไฟของวัสดุหรือโครงสร้าง
ภาค 3 มาตรฐานเส้นทางหนีไฟ ครอบคลุมการออกแบบและก่อสร้างอาคารของเส้นทางหนีไฟให้มีความปลอดภัย และการซ้อมหนีไฟ
ภาค 4 มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย ครอบคลุมการดูแลรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบป้องกันฟ้าผ่า ลิฟต์พนักงานดับเพลิง ระบบสื่อสารฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบควบคุมควันไฟ ศูนย์สั่งการดับเพลิง เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ และอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
ภาค 5 มาตรฐานระบบดับเพลิง ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา การตรวจสอบ และทดสอบการทำงานของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้ทันที
ภาค 6 มาตรฐานนระบบดับเพลิงพิเศษ ครอบคลุมระบบสารสะอาดดับเพลิง ระบบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดับเพลิง ระบบโฟมดับเพลิง ระบบหัวกระจายน้ำฝอยดับเพลิง และระบบหมอกดับเพลิง

ประเภทงานที่สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้
-ผู้ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคาร
-พนักงานดับเพลิง และตำรวจดับเพลิง
-เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
-เจ้าของอาคาร และฝ่ายอาคาร
-ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาความปลอดภัยในอาคารและส่วนที่ควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยอาคาร
รวมถึงหน่วยงานผู้กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการป้องกันอัคคีภัยสำหรับอาคาร
-นักวิชาการ นักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์-สาขาเครื่องกล, อัคคีภัย และความปลอดภัย สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอื่นๆ ที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมความปลอดภัย และการป้องกันอัคคีภัย
-สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ตรวจสอบอาคาร
-ผู้ผลิต ผู้ขายวัสดุที่ใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคาร

ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

บทความก่อนหน้านี้มาตรฐานระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์
บทความถัดไปมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ